พระเจ้าอู่ทองมาจากกัมพูชา.หลักฐานเสริม (ขอม สยาม เขมร: ทฤษฎีใหม่ (ตอนที่ ๕))


ทฤษฎีเก่านั้นมีรากมาจาก จอร์จ เซเดส์ ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นนักวิชาการแห่งเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ที่กำลังจะฮุบเอาดินแดนเขมรไปจากสยาม เขาก็สร้างนิยายว่าเขมรเป็นเชื้อสายวรมัน ทั้งที่พงศาวดารเขมรฉบับแรกระบุด้วยความภาคภูมิใจว่าบรรพบุรุษเขาคือนายแตงหวานที่ฆ่าวรมันตายเรียบ (เสียมเรียบ)

ขอม สยาม เขมร: ทฤษฎีใหม่ (ตอนที่ ๕)

 เพื่อนแจ้งให้ทราบว่าที่  “มิวเซียมออฟสยาม” มีทฤษฎีที่มาของพระเจ้าอู่ทองนำเสนอไว้หลากหลาย หนึ่งในทฤษฎีนั้นระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง “เป็นกษัตริย์มาจากเขมร

  อ้าว...แบบนี้ผมไม่หัวเดียวกระเทียมลีบอีกต่อไปแล้วสิ ในบทความนี้ผมจะนำเสนอหลักฐานเสริมทฤษฎีนี้เพิ่มเติม

 

มีบันทึกของนักสำรวจชาวปอร์ตุเกสที่ได้ศึกษานครวัดในปี คศ. 1601 (ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองร้าง เต็มไปด้วยป่าปกคลุม)  สรุปสาระสำคัญได้ว่า   1) คนพื้นเมือง (ซึ่งคงยังมีหลงเหลืออยู่บ้างรอบๆนครวัด) ให้การว่านครวัดนี้สร้างโดย “คนต่างชาติ”  2) นักสำรวจปอร์ตุเกสมีความเห็นว่า กษัตริย์ผู้สร้างสยาม (ศรีอยุธยา) ไปจากนครวัด  (อ้างอิง...Charles Higham , Ancient Civilizations of Southeast Asia )

หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งถือเป็นพงศาวดารสำคัญของล้านนาบันทึกไว้ว่า  “...ครั้งหนึ่ง เมืองชัยนาทเกิดทุพภิกภัย พระเจ้ารามาธิบดีกษัตริย์อโยชชปุระเสด็จมาจากแคว้นกัมโพช ทรงยึดเมืองชัยนาทนั้นได้....... เมื่อพระเจ้ารามาธิบดีผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกัมโพชและอโยชชปุระสวรรคตแล้ว วัตติเดช อำมาตย์มาจากเมืองสุวรรณภูมิยึดแคว้นกัมโพชได้...”

  พระเจ้ารามาธิบดี ก็คือพระเจ้าอู่ทอง นักวิชาการประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ตีความกันว่า กัมโพช เป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของ ลพบุรี  แต่ผมขอแย้งว่าไม่ใช่ โดยผมเห็นว่ากัมโพช หมายถึงอาณาจักรกัมพูชาโบราณ (ซึ่งไม่ใช่กัมพูชาวันนี้หรอกนะ) 

 ลพบุรี..มีตัวตนเป็นที่รู้จักไปทั่วสารทิศว่า ลวปุระ (และ ละโว้ด้วย) มานาน 500 ปี..จู่ๆจะไปใช้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  “กัมโพช”  ซึ่งเป็นชื่อที่นครวัดก็ได้ใช้มาจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปนานกว่าสามร้อยปีอีกแล้วด้วย จู่ๆเมืองสองเมืองที่ยิ่งใหญ่ด้วยกันทั้งคู่จะไปใช้ชื่อเหมือนกัน เช่น ลอนดอน จะไปใช้ชื่อว่า ปารีส  อีกชื่อหนึ่งด้วย..มันจะเป็นไปได้หรือ  อีกทั้งชินกาลฯนั้นเวลาเอ่ยถึงลพบุรี ชัยนาท และอยุธยาจะเรียกว่า “เมือง” ลวปุระ เมืองชัยนาท  และ เมืองอโยชชปุระ แต่พอเอ่ยถึงกัมโพชเรียกว่า “แคว้น”กัมโพช ซึ่งคำว่า”แคว้น” ในสมัยโน้นหมายถึง “ประเทศ” ในสมัยนี้

 

การที่ชินกาลฯใช้ภาษาเช่นนี้ เป็นเพราะเกิดจากความเข้าใจของกษัตริย์ล้านนาว่า...พระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์กัมพูชาที่ย้ายเมืองหลวงจากนครวัด มาอยู่ที่อโยชชปุระ ดังนั้นพระเจ้าอู่ทองจึงคือ “ผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกัมโพช” ดังเดิม

 

นับเป็นพระปรีชาทางการทูตของพระเจ้าอู่ทองที่ทำให้ล้านนายอมรับว่าพระองค์ยังคงเป็นผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกัมโพช แม้นว่าความจริงแล้วถูก ทาสแตงหวาน (ตระซ็อกประแอม) ไล่ฆ่าเสียจนเสียมเรียบ จนต้องกระเจิงหนีมาสร้างกรุงศรีอยุธยา

 

แม้พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่าก็เรียกสยามในสมัยโน้นว่า กัมโพชา หลักฐานคือชื่อพระราชวังที่หงสาวดีที่เรียกชื่อว่า “กัมโพชาธานี” ซึ่งมีบันทึกว่าสร้างด้วยแรงงานเชลยศึก ผมเลยต่อกระเบื้องแตกว่าคงตั้งชื่อเอาไว้เย้ยหยันกรุงโยเดีย (อยุธยา) แห่งแคว้นกัมโพชาที่ช่วยส่งเชลยไปสร้างวังให้ฟรีๆ

 

การออกเสียงนับเลขของชาวเขมรตั้งแต่สมัย ๘๐๐ ปีก่อนจนถึงวันนี้ใช้ระบบฐานห้ามาตลอด เรื่องนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุดว่าเขมรไม่ใช่ขอม ซึ่งผมได้อรรถาธิบายไว้ในบทความก่อนๆแล้ว

 

ระบบการเขียนเลขขอมโบราณนั้นเป็นฐานสิบ แต่จะออกเสียงหนึ่งถึงสิบว่าอย่างไรคงต้องไปศึกษากันต่อ แต่ น่าเชื่อได้ว่าสำเนียงออกเสียงนับเลขคงคล้ายๆมอญนี่แหละ เพราะอักษรขอมโบราณนั้นไม่อาจเรียกว่าคล้ายแต่ต้องบอกว่าเหมือนอักษรมอญโบราณทีเดียวแหละ ซึ่งในวันนี้ภาษามอญออกเสียงนับเลขเป็นระบบฐานสิบ เหมือนกับสยามโบราณ

 

บทก่อน ตอนที่ ๓ มีท่านผู้อ่านบางท่านเหน็บผมไว้ท้ายบทความว่าแปลภาษาอังกฤษเรื่องเข็มด้าย (ในตอนที่แล้ว) แบบลำเอียง..ภาษาอังกฤษที่แปลบันทึกโจวตากวนจากภาษาจีนโดยตรง (A RECORD OF CAMBODIA  โดย Peter Harris) คือ:- None of the locals produced silk. Nor do the women know how to stitch and darn with a needle  and thread. ผมแปลว่า “ชาวบ้านไม่รู้จักใช้เข็มในการเย็บและชุนผ้า “  ผมไม่เห็นว่าลำเอียงตรงไหน ซึ่งทำให้ผมต่อกระเบื้องแตกไปแล้วว่า ชาวเขมรทอผ้า เย็บผ้าก็ยังไม่เป็น (นับเลขก็ได้แค่ ๕ อีกต่างหาก) แล้วจะไปมีความรู้สูงในการสร้างปราสาทหินได้อย่างไร

 

ผมได้เสนอทฤษฎีใหม่ที่ต่างจากทฤษฎีเก่าอย่างสิ้นเชิง  ซึ่งทฤษฎีเก่านั้นมีรากมาจาก จอร์จ เซเดส์ ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นนักวิชาการแห่งเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ที่กำลังจะฮุบเอาดินแดนเขมรไปจากสยาม เขาก็สร้างนิยายว่าเขมรเป็นเชื้อสายวรมัน ทั้งที่พงศาวดารเขมรฉบับแรกระบุด้วยความภาคภูมิใจว่าบรรพบุรุษเขาคือนายแตงหวานที่ฆ่าวรมันตายเรียบ (เสียมเรียบ) ต่างหาก (ซึ่งเซเดส์ น่าจะรู้เต็มอก แต่ทำเป็นมองไม่เห็น)

 

ส่วน “สยาม” นั้นตอนแรกฝรั่งว่ามาจากเขาอัลไต ต่อมาเซเดส์ สร้างทฤษฎีใหม่ว่าไม่ได้อยู่ตรงนี้มาแต่แรก  แต่หนีกุบไลข่านลงมาจาก”น่านเจ้า” ทั้งที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนอะไรเลย นอกจากบริบทหลวมๆ แต่เราก็น้อมรับทฤษฎีฝรั่งกันทั้งเมือง

 

ทฤษฎีใหม่ที่เสนอไว้นี้มีหลักฐาน เหตุผล บริบทสนับสนุนหนาแน่น แต่คงยากที่จะก้าวขึ้นเป็นทฤษฎีหลักของคนไทยได้..ยกเว้นถ้ามีฝรั่งเห็นด้วยสักสองคน

 

...ทวิช จิตรสมบูรณ์ (๑๐ กพ. ๒๕๕๔)

 

หมายเลขบันทึก: 455928เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2011 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

"...ส่วน “สยาม” นั้นตอนแรกฝรั่งว่ามาจากเขาอัลไต ต่อมาเซเดส์ สร้างทฤษฎีใหม่ว่าไม่ได้อยู่ตรงนี้มาแต่แรก แต่หนีกุบไลข่านลงมาจาก”น่านเจ้า” ทั้งที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนอะไรเลย นอกจากบริบทหลวมๆ แต่เราก็น้อมรับทฤษฎีฝรั่งกันทั้งเมือง

ทฤษฎีใหม่ที่เสนอไว้นี้มีหลักฐาน เหตุผล บริบทสนับสนุนหนาแน่น แต่คงยากที่จะก้าวขึ้นเป็นทฤษฎีหลักของคนไทยได้..ยกเว้นถ้ามีฝรั่งเห็นด้วยสักสองคน..."

The Altai origin theory should be re-looked seriously.

Geographically, for a 'large group' of people (young, old, women, belongings, ...) to travel (possibly 'on foot') across the mountainous regions (now souther China) to mountainous region of Northern Laos, across the Me Kong river into the North-East (a high plateau region) and across another mountain range into the plains of Central region, ...

An epic journey (if we compare this to the Exodus in the Old Testament --Bible) that "no one" (no tribe, no settlement, no town, no camp site, ...) remembered.

An exploration of a lifetime to validate the Thais exodus theory is to 'retrace' a migration path --even a section of a route. (We assume here that for logistic reasons the exodus would be divided into several streams/routes -- to ensure survival of some streams rather than taking on the full force of the attackers --the Mongol?)

Yes, we do need more 'evidence' to expose the truth.

Like we do need to do more to change our people mind on a political party.

Some questions on 'rice' (eating, growing, ...) tradition (or technology?):

Where is evidence that people (now living in the Altai region) ever grew rice?

Did Thais carry the tradition over mountains to find water-logged plains to continue the rice tradition?

Where Thai (today) rice growing come from?

(One answer may be 'rice' was here long before Thais came. --Who are the indigenous agricultural peoples?--

Another may be Thais were also here with rice long ago. --What did 'Ban Chiang' people grow and eat?)

There are enough for history learners to ponder --to find better fit history; to learn from 'more true' history.

Is it time we reject 'lies' about history?

Is it time we reject 'lies' about present government?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท