กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ


กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

 

กิจกรรม 5 ส. หมายถึง กิจกรรมสร้างความเป็นระเบียบของสถานที่ทำงาน เป็นหลักการเบื้องต้นของการปรับปรุงสภาพการทำงาน และเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่นำไปสู่การประกันคุณภาพขององค์กร

5 ส. มาจาก 5 คำได้แก่
สะสาง คือ การแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการใช้ และหาแนวทางขจัดของที่ไม่ต้องการออกไปอย่างเหมาะสม
สะดวก คือ การจัดวางอุปกรณ์และสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งานอย่างเป็นระเบียบมีความสะดวกเมื่อต้องการใช้
สะอาด คือ การดูแลรักษาสถานที่ทำงาน เครื่องมืออุปกรณ์ ให้มีความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้เครื่องจักร จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษาด้วย
สุขลักษณะ คือ การดูแลรักษาสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัยมีการระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ ปราศจากเสียงและกลิ่นที่รบกวนสมาธิการทำงาน ปัจจุบันยังรวมถึงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานที่ทำงานซึ่งมีมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมบังคับอยู่
สร้างนิสัย คือ การปฏิบัติกิจกรรม 4 ส. ข้างต้นอย่างต่อเนื่องและยังต้องรักษาระเบียบวินัยขององค์กรอย่างเคร่งครัดด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม 5 ส.


2.1 ส. 1 สะสาง การสะสางทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้
- พื้นที่ทำงานเพิ่มขึ้น เมื่อกำจัดสิ่งที่ไม่ต้องการใช้งานออกไป
- ลดความสูญเสียและสิ้นเปลืองวัสดุหรือวัตถุดิบ เพราะการสะสางทำให้ทราบ
ปริมาณวัสดุหรือวัตถุดิบที่มีอยู่จริง ทำให้นำมาใช้อย่างคุ้มค่า หรือได้ใช้ก่อนหมดอายุ
- ลดเวลาการทำงาน เพราะการสะสางนำไปสู่การจัดระเบียบและการจัดวางอย่าง
ถูกที่
- ลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความคับแคบของพื้นที่ จากการค้นหาสิ่งของ จากการวางอุปกรณ์ไม่เหมาะสมหรือจากการลดปริมาณสินค้าและวัตถุดิบคงคลัง ไม่ต้องจัดหางบประมาณสร้างคลังสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การสะสาง ---> สำรวจ ---> คัดแยก --> จัดเก็บในที่ทำงาน
--> จัดเก็บในที่สงวนรักษา
--> จัดเก็บทำลาย
--> จัดการขาย

2.2 ส. 2 สะดวก การจัดวางอุปกรณ์สิ่งของและเครื่องใช้อย่างเป็นระเบียบทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

- ลดเวลาการทำงาน เพราะมีความสะดวก
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพราะสามารถตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีความพร้อมใช้งาน
- ความเป็นระเบียบเรียบร้อยสร้างความสวยงานสบายตา สบายใจ มีผลต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน
- ความสะดวกช่วยลดอุบัติเหตุ
- ลดความสิ้นเปลืองจากการหาของไม่พบหรือของหาย เพราะความสะดวกทำให้ทราบได้ทันที่เมื่อของหาย
การทำให้สะดวก --> จัดเก็บให้ถูกที่ --> มีป้ายชื่อชัดเจน
--> ตั้งเกณฑ์การใช้
--> หยิบไปต้องบอก
--> ตรวจสอบถูกต้อง

2.3 ส. 3 สะอาด การดูแลรักษาความสะอาดสถานที่ทำงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ และเครื่องจักร ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

- ภาพพจน์ที่ดีขององค์กร หน่วยงาน และบุคลากรเจ้าของสถานที่นั้น และยังเกิดความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาติดต่องาน
- ความเชื่อมั่นของลูกค้า เมื่อเห็นสถานที่ทำงานมีความสะอาดและเป็นระเบียบ
- ลดความสูญเสียของเครื่องจักร เพราะการทำความสะอาดเครื่องจักร คือส่วนหนึ่งขอวการบำรุงรักษาและยังได้พบข้อบกพร่องหรือส่วนที่จำเป็นต้องซ่อมต้องเปลี่ยนอะไหล่
- สร้างความสุขกายสบายใจให้กับพนักงานและลูกค้า
- ทำให้องค์กรเข้าสู่มาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม
การทำความสะอาด --> ปัด กวาด เช็ด ถู --> สถานที่ทำงาน โต๊ะทำงาน
--> ดูแล ตรววจสอบ --> เครื่องใช้ เครื่องจักร
--> สร้างสรรค์ เพิ่มเติม --> สภาพแวดล้อมภายใน
ภายนอกสวยงาม

2.4 ส. 5 สุขลักษณะ จากการดำเนินกิจกรรมสะสาง สะดวก และสะอาดแล้วยังต้องเพิ่มด้านการกำจัดเสียงและกลิ่นที่รบกวนการทำงานด้วย ทำให้สถานที่ทำงาน มีสิ่งต่อไปนี้

- มีความพร้อมกับการทำงาน
- มีความสุขกับการทำงาน
- มีความปลอดภัยในการทำงาน
- มีความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน เพราะกิจกรรม 5 ส. เป็นกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

2.5 ส. 5 สร้างนิสัย การดำเนินกิจกรรม 4 ส. อย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัยพร้อมกับการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร ทำให้เกิดคุณภาพต่อไปนี้

- คุณภาพระดับบุคคล พนักงานได้รับการยอมรับจากหน่ายงานองค์กรและลูกค้า ทำให้พนักงานมีความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของตัวเองและสามารถพัฒนาตัวเองต่อไป
- คุณภาพระดับองค์กร หน่วยงานและองค์กรได้รับการยอมรับจากลูกค้า หุ้นส่วน ผู้ถือหุ้ร เป็นโอกาสให้องค์กรสามารถขยายงานได้ต่อไปในอนาคต
- คุณภาพระดับประเทศ นานาประเทศจะยอมรับและเชื่อถือระบบการบริหารของคนไทย ประสิทธิภาพของคนไทย ทำให้ตัดสินใจมาลงทุนร่วมกับคนไทย

กิจกรรม QCC
1. ความหมายและความสำคัญของ QCC
ความหมายของกิจกรรม QCC
QCC = Quality Control Cycle หมายถึง การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่ม
การควบคุมคุณภาพ คือ การบริหารงานด้านวัตถุดิบ ขบวนการผลิตและผลผลิต ให้ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องหรือข้อกำหนดตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยมีเป้าหมายป้องกันและลดปัญหาการสูญเสียทั้งวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต เวลาการทำงาน และผลผลิต
กิจกรรมกลุ่ม คือ ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน หรือสร้างผลงานตามเป้าหมายซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร พนักงาน วิธีการทำงาน เครื่องจักร เครื่องใช้ ระเบียบกฏเกณฑ์ และอื่นๆ
กิจกรรม QCC คือ กิจกรรมที่สร้างความร่วมมือร่วมใจในการสร้างผลงานให้ได้คุณภาพตามเป้าหมาย โดยการค้นหาจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งปัญหา แล้วระดมปัญญาแก้ไขปรับปรุงและว่างแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบ

หลักการพื้นฐานกิจกรรม QCC

หลักการพัฒนาคุณภาพ
1. พัฒนาคน
- ผู้บริหารและพนักงานทุกคน มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
- ให้การยอมรับ และเคารพในความเป็นสมาชิกขององค์กร
- ให้โอกาสทุกคนได้แสดงความสามารถของตนเอง
- ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน และยินดีร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
2. พัฒนางาน
- ใช้วงจรคุณภาพ PDCA
- ใช้เทคนิคการระดมสมอง ให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์
- ใช้เทคนิคการประชุมร่วมกัน
- ใช้เทคนิคการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาทีมงาน
- การรวมกลุ่มที่มีเป้าหมายคุณภาพ
- เป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ในที่เดียวกัน พบปัญหา และมีแนวทางสำเร็จร่วมกัน
- มีความสมัครใจ และร่วมใจทำงานอย่างต่อเนื่อง
- มีระบบการสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ
- มีการจัดวางหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน
- ใช้เทคนิคการพัฒนางานทั้ง 4 วิธี

กิจกรรมเสนอแนะปรับปรุงงาน

1. ความหมายและหลักการของกิจกรรมข้อเสนอแนะปรัปบรุงงาน

1.1 ความหมายของกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน คือ การเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับม่าวนร่วมในการบริหาร โดยการนำเสนอความคิดเห็นของตนเองต่อฝ่ายบริหาร ซึ่งจะมี 2 ลักษณะ คือ
- แนวคิด หรือวิธีการแก้ไขปัญหา
- ชี้ให้เห็นปัญหาหรือจุดอ่อนของการทำงาน
1.2 หลักการของกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน ได้แก่
1. เป็นการเสนอแนะปรับปรุงการทำงานหรือแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อองค์กร โดยพนักงานคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต่อผู้บริหารงาน เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ด้วยวิธีบริหารจากร่างสู่บน กิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อองค์กรมีบรรยากาศการทำงานแบบประชาธิปไตยคือพนักงานมีความสำคัญไม่น้อยกว่าผู้บริหาร และผู้บริหารยอมรับในสมรรถภาพของพนักงานว่ามีส่วนบริหารหรือช่วยให้การบริหารงานเกิดคุณภาพตามเป้าหมาย
2. หลักการประชาธิปไตย คือ
- การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- คิดพิจารณาตัดสินสิ่งใดๆ ด้วยระบบเหตุผล
- เชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถพัฒนาได้
- ยอมรับการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ที่มีเหตุผลดีกว่าและยอปฏิบัติตามแม้จะขัดแย้งกับความคิดของตน
3. หลักทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ข้อเสนอแนะปรับปรุงงานต้องมีข้อมูลทางคณิตศาสตร์เป็นข้อยืนยัน มีคำอธิบายด้วยระบบเหตุและผลอย่างชัดเจน เพื่อให้ข้อเสนอแนะได้รับการยอมรับจากฝ่ายบริหารรและเพื่อนร่วมงาน
4. หลักการแห่งประโยชน์ส่วนรวม ข้อเสนอแนะปรับปรุงงานเป็นการเสนอแนะเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อองค์กร ต่อพนักงานส่วนใหญ่ หรือต่อชุมชน เพราะการเสนอแนะให้เกิดคุณภาพการทำงาน ฝ่ายบริหารย่อมจะต้องยอมรับข้อเสนอแนะปรับปรุงงานที่มีผลทำให้เกิดคุณภาพการทำงาน คุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือคุณภาพการบริการ
ถ้าเป็นข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ฝ่ายบริหารย่อมจะไม่ยอมรับข้อเสนอแนะนั้น
5. หลักการสร้างแรงจูงใจในพนักงานมีส่วนร่วมสรางคุณภาพให้กับองค์กรความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปรับปรุงวิธีการทำงานปรับปรุงการบริการเกิดจากความต้องการความก้าวหน้าในงานอาชีพของนพักงาน

     
4. ความก้าวหน้าในงานอาชีพ
    3. การยอมรับจากผู้บริหาร
  2. การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
1. ความมั่งคงและความปลอดภัย
แผนภูมิ บันไดสู่ความก้าวหน้าในงานอาชีพ


จากแผนภูมิ องค์กรต้องสร้างระบบบริหารที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้
- ด้านความมั่งคงและความปลอดภัย คือ ระบบบริหารงานบุคคลและความปลอดภัยขององค์กร ต้องได้รับการยอมรับจากพนักงานว่าองค์การให้การดูแลรักษาและคุ้มครองพนักงานให้มีความมั่นคงด้านรายได้สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในเวลาทำงาน
- ด้านการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน องค์กรต้องสร้างบรรยากาศการทำงานแบบประชาธิปไตย ขณะเดียวกันก็ต้องใช้ระเบียบวินัยในการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถแสดงออกซึ่งความเห็น และความสามารถของตนเองคือ โอกาสการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ฝ่ายบริหารต้องมีระบบกลั่นกรองข้อเสนอแนะอย่างยุติธรรมและเลือกสรรโดยไม่มีอคติ เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด
- ด้านการยอมรับจากผู้บริหารงาน พนักงานทุกคนต้องการการยอมรับจากผู้บริหารมากที่สุด พฤติกรรมต่อต้านพนักงานมักเกิดจากพนักงานผู้นั้นถูกละเลย หรือเกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ความเป็นธรรม ดังนั้นงอค์กรจึงต้องสร้างระบบบริหารที่กระจายความรับผิดชอบออกไปให้กว้าง เพื่อให้โอกาสพนักงานทุกคนแสดงความสามารถโดยจัดโครงสร้างขั้นการบริหารน้อยลงเพื่อให้การสื่อสารระหว่างพนักงานกับฝ่ายบริหารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น สร้างความเข้าใจกันมากขึ้น โดยการจัดโครงสร้างการบริหารแบบ Flat Organization

การบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม
(Total Productive Maintenance: TPM)


เครื่องหมายการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม

เครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องถายเอกสาร เครื่องโทรสารฯลฯ เป็นเทคโนโลยีราคาสูง (Cost) สำคัญของการประกอบการ ดังนั้นประสิทธิภาพและอายุการใช้งาน คือ เครื่องวัดความคุมทุน ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาที่ได้ผลต้องเป็นการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนที่ร่วมกันใช้อุปกรณ์นั้น
T = Total หมายถึง ความร่วมมือของผู้ใช้เครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำนักงานและ
ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่พนักงานซ่อมบำรุง หัวหน้างาน (Foreman) ผู้จัดการและวิศวกรผู้กำหนดการใช้เทคโนโลยี
P = Productive หมายถึง ประสิทธิภาพสูงสุงของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำนักงานทั้ง
ด้านการทำงาน การผลิตผลงาน และความคงทน โดยใช้งบประมาณซ่อมบำรุงและเปลี่ยนอุปกรณ์น้อยทีสุด
M = Maintenanceหมายถึง ระบบการดูแลรักษา บำรุงรักษา เปลี่ยนอุปกรณ์และซ่อมแซมให้เครื่องจักรอุปกรณ์สำนักงาน มีความพร้อมใช้งาน และเกิดความสูญเสียระหว่างการทำงานน้อยที่สุด

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม ให้ประโยชน์ดังนี้


1 การเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานคือ
1. การฝึกอบรมการใช้และดูแลรักษาเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ทำให้พนักงานมีทักษะการใช้และการดูแลรักษา และยังทำให้พนักงานเห็นความสำคัญของเครื่องจักรหรืออุปรกร์สำนักงานมีส่วนเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานของตนเองได้
2. การฝึกอบรมพนักงานซ่อมบำรุง ทำให้พนักงานซ่อมบำรุงมีความสามารถดูแล และรักษาเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำนักงานอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิภาพการซ่อมบำรุง
3. การวางแผนการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใช้ พนักงานซ่อมบำรุง และหัวหน้าหน่วยงาน ทำให้เกิดความเข้าใจ ความสัมพันธ์ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการซ่อมบำรุง

2 การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี
การใช้การบำรุงรักษา และการซ่อมแซม อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพของการใช้เครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำนักงานได้แก่
1. ลดการสูญเสียวุตถุดิบจากการ Start up เพราะความไม่แน่นอนของครื่องจัรเมื่อเปิดเครื่องครั้งแรก มักต้องเสียวัตถุดิชิ้นแรกที่ป้อนเข้าไป
2. ลดการสูญเสียผลผลิต (Wast -Input) ที่มักเกิดจากการขัดข้องของเครื่องจักรในระหว่างการทำงาน
3. ลดการเสียเวลาที่เกิดจากการซ่อมแซม เพราะต้องหยุดเครื่องเพื่อซ่อมหรือปรับแต่งเครื่องใหม่
4. ลดปัญหาการผลิตต่ำกว่าเป้าหมายที่มีผลมาจากเครื่องจักร มีอัตราเร่งที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
5. ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เพราะเครื่องจักรมีความสมบูรณ์พร้อมทำงานทุกขั้นตอน ผลผลิตที่ได้ก็จะเป็นไปตามข้อกำหนดหรือมาตรฐาน
คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 455356เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท