แนวการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ชาวต่างชาติ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน


กิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมด้วยตนเองโดยมีอาจารย์ทำหน้าที่ facilitator
       โครงการเรียนภาษาอังกฤษ จัด โดยกองบริการการศึกษา(กำแพงแสน) เป็นโครงการที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนเข้าร่วมโครงการนี้มาเป็นปีที่ ๒ แล้ว การเรียนการสอนใช้อาจารย์ชาวต่างประเทศ (ของแท้จากสหรัฐอเมริกา) สำหรับชั้นเรียนของผู้เขียนนั้นอาจารย์ชื่อว่า Phillip Adamson เป็นชาว Utah สิ่งที่จะนำมาบอกเล่าเก้าสิบในบันทึกนี้ก็คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ชาวต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆท่านที่แวะเวียนเข้ามาอ่าน สำหรับผู้เขียนเองนั้นถือว่า นำมาเป็นตัวอย่างในการนำไป “ฝึกสอน(Teaching Practicum)”ได้ดีที่เดียว


       การจัดชั้นเรียนใช้วิธีการสัมภาษณ์ในวันสมัคร วิธีนี้ถือเป็น placement test ที่ครูทุกคนควรทำเพื่อวัดระดับความสามารถและทักษะทางภาษาของผู้เรียนแบบปัจเจกบุคคล ซึ่งเมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้วจะแบ่ง class ออกเป็น Basic และ Intermediate สำหรับ class ของข้าพเจ้ามีผู้เรียนอยู่ประมาณ 10 กว่าคน แต่ละคนมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากไม่ว่าจะด้วยเรื่องอายุ อาชีพ เพศ สาขาวิชา แต่ก็ดูท่าจะไม่เป็นปัญหาสักเท่าไหร่เพราะทุกคนปรับตัวเข้ากันได้ดี อาจารย์มักจะให้จับกลุ่มคละกันเสมอ ทุกครั้งที่ก้าวย่างเข้าไปในชั้นเรียนอาจารย์จะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารตลอดทั้ง ๒ ชั่วโมง ไม่ใช่อาจารย์ต้องการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแต่อย่างใด อาจารย์ท่านพูดภาษาไทยไม่ได้ต่างหาก แต่ก็นับเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะเป็นการฝึกทักษะการรับสาร(receptive skill)คือ การฟัง และทักษะการส่งสาร(productive skill)คือ การพูด การเริ่มต้นการเรียน อาจารย์จะเริ่มด้วย Review Part เป็นการทบทวนสิ่งต่างๆที่ได้เรียนและกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติในชั้นเรียนที่ผ่านมา หลังจากนั้นจะเป็นกิจกรรม warm up ทางภาษาคือการอ่านสารหรือไม่ก็สรุปความเนื้อเพลงที่ให้เป็นฟังมาเป็นการบ้าน(homework) ทุกครั้งที่อ่านอาจารย์จะเกริ่นเสมอว่า “You don’t have to speak fast. I want you to try to speak clearly. It’s your practice!”  เมื่อทุกคนฝึกอ่านจนครับ อาจารย์ก็จะให้สรุปความว่าใจความสำคัญคืออะไร แทบทุกคนจะมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นของตน(ผู้เขียนขอมีทุกครั้งไป)
 
   ต่อจากกิจกรรมนี้ก็เริ่มเข้าสู่บทเรียนซึ่งอาจารย์จะเริ่มด้วยไวยากรณ์ก่อนเสมอ (Linguistic Competence) โดยใช้วิธีบรรยายและให้ผู้เรียนฝึกแต่งประโยค ขั้นต่อมาหลังจากอัดแกรมมาเรียบร้อยแล้วจะเป็น “กิจกรรม” ที่เกี่ยวข้องกับหลักไวยากรณ์ที่ได้เรียนไปทั้งสิ้น รูปแบบกิจกรรมที่อาจารย์ใช้หลากหลายไม่ซ้ำกันสักชั่วโมง และทุกกิจกรรมจะได้พูด ได้ฟัง ได้เขียน เช่น กิจกรรม information gap activity ซึ่งจะผลัดกันอธิบายภาพแล้วให้วาดภาพ(describe and draw) ใช้กับไวยากรณ์เรื่อง past perfect + past simple (………….when the balloon crashed), กิจกรรม twenty questions(Vocabulary), กิจกรรม jigsaw reading แต่ละคนจะมีเนื้อความคนละครึ่ง อีกฝ่ายต้องถามเพื่อหาคำตอบว่าเนื้อความของอีกฝ่ายคืออะไร, กิจกรรมที่เป็น paper-based ฝึกไวยากรณ์, กิจกรรม Find someone who(present simple), กิจกรรม election เป็นไวยากรณ์เรื่อง Conditional Sentence Type 2(If I were elected, I’d……)หลังจากเสร็จกิจกรรมหลักจะเป็นกิจกรรมสรุปความรู้ และแจก reading assignment หรือไม่ก็ listening assignment เนื้อหาของ Reading จะค่อนข้างหลากหลาย เช่น เรื่อง Marriage Culture, Puffer fish, Ferdinand Magellan, Starbuck, Bill Gates เป็นต้น สำหรับเพลงที่ให้ฟังจะมีทั้งเพลงเร็วและเพลงช้า เช่น Kiss the Girl-little mermaid, You’ll be in my heart-Phil Collins, Last Kiss-Pearl Jam เป็นต้น

       กิจกรรมส่วนใหญ่ ผู้เขียนมองว่าเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมด้วยตนเองโดยมีอาจารย์ทำหน้าที่ facilitator และทุกกิจกรรมจะสอดแทรกทุกทักษะทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน
แผนภาพรูปแบบการจัดกิจกรรม

         

 

ผู้เขียนหวังว่าบันทึกนี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อผู้อ่านนะครับ
มีข้อผิดพลาดแจ้งได้นะครับ (มือใหม่หัดพิมพ์)
หมายเลขบันทึก: 454529เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคยเห็นอาจารย์ แต่ไม่เคยคุยกันเลย น่าสนใจมากๆๆ

ถ้าอาจารย์Phillip Adamson ได้อ่านคงดีใจมากๆที่ลูกศิษย์ให้ความสนใจขนาดนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท