ชั่วโมง"ติว" วิจัยให้เพื่อนเตรียมสอบ


เปิดโอกาสให้เขาบ้าง แล้วเราจะได้เรียนรู้อะไร อะไรอีกเยอะ

      สวัสดีทุกท่าน ขณะนี้ผู้เขียนยังคงวนเวียนอยู่ในสนามสอบกลางภาค ซึ่งจะเสร็จสิ้นราวๆปลายสัปดาห์นี้ เมื่อวานนี้เลยได้มีโอกาสติว ทบทวนเนื้อหา วิชา “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้(Research for Learning Development)” ให้เพื่อนๆร่วมสาขา บรรยากาศเป็นไปแบบเป็นกันเอง สนุกสนาน ผู้เขียนเตรียมการสอนโดยการสรุปเป็นเอกสาร ๑ ชุด(หนาพอสมควร เนื่องจากเนื้อหาเยอะเกินจะบรรยาย) เพื่อนๆมาพร้อมกันที่ห้อง Microteaching ตอนประมาณบ่าย ๓ โมง พูดคุยกันสักพักใหญ่ ดูวีดีโอใน youtube บ้างเล็กน้อย พอได้เวลาสมควรก็เริ่มติวกันจริงจัง  การติวเมื่อวาน ผู้เขียนพยายามงัดกลยุทธ์ที่ได้ร่ำได้เรียนและ ได้รับมาจากประการณ์ตรง มาใช้ แต่ก็ใช้ไม่ได้มาก เพราะ อย่างที่รู้ๆกันดีว่าการติวนั้น เน้นโป๊ะเช้ะ ไปที่เนื้อๆๆ น้ำต้องระบายทิ้งสถานเดียว แต่สิ่งที่ผู้เขียนพยายามใช้คือ ให้เพื่อนหน้าตาบ้องแบ้วทั้งหลายเป็น active learners พยายามเปิดโอกาสให้พูด ให้คิด ถึงแม้การติวส่วนมาก มาก มาก ของเมื่อวานนี้เน้นแบบ lecture-based ก็ตามทีแต่ก็พยายามแทรก ยัด อัด เข้าไปจนได้


      ผู้เขียนพยายามและพยายามกระตุ้นให้เพื่อนๆนึก และ ดึงสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งหมดออกมา โดยการใช้คำถาม นอกจากจะเป็นการดึงความสนใจแล้วยังทำให้เขารู้จุดอ่อนของตน บางที ยังช่วยประกายให้สหายท่านอื่นที่กล้าๆกลัวจะถาม รู้ว่า “เออ เราก็ไม่รู้เหมือนกันเนอะ” นอกจากการตั้งคำถามแล้ว การดึงให้เพื่อนเข้ามามีส่วนร่วมจะให้วิธีการขอ “ข้อเสนอแนะ” ว่าใครอ่ะ ใครที่ต้องการเพิ่มเติมในจุดไหนที่ยังขาดไป วิธีนี้ใช้ได้ดีทีเดียว จนผู้เขียนรำพึง รำพันกับตัวเอง(แต่ออกไมค์) ว่า “ทำไม ไม่มาติวเอง”  ผู้เขียนคิดว่าวิธีแบบนี้ จะทำให้เพื่อนเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้นและเป็นการให้เกียรติเพื่อนคนอื่น “เปิดโอกาสให้เขาบ้าง แล้วเราจะได้เรียนรู้อะไร อะไรอีกเยอะ” นี่คือสิ่งที่ยึดมาตลอด



      นอกจากสิ่งที่เอื้อนเอ่ยมาข้างต้นยังได้ดึง วิธีที่เคยใช้กับเด็กๆประถมมาใช้ด้วย นั่นคือ การใช้เสียง หนัก เสียงเบา อยากบอกว่าใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพราะความสนใจและวุฒิภาวะต่างกันมาก เล่นเอาผู้เขียน อาย จน เอ๋อกินเลยทีเดียว และมีคนบางพวกเวลาให้พูด เงียบ เวลาให้เงียบ พูด ผู้เขียนจึงใช้วิธีถามทันทีที่เห็นว่าคุยกันนอกเรื่อง เล่นเอาบางคนนั่งงง พรึมพรำ “ไรวะ ไรวะ” ๕๕ สะใจ อีกอย่างก็จะเรียกให้ออกมาพูดในหัวข้อหรือตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังติวกัน (ขาสั่นกันเลยทีเดียว)


      หลังจากที่ได้เนื้อหากันไปจนอิ่มสมองแล้ว ผู้เขียนได้สร้างแบบฝึกหัดมาให้เพื่อนทำ ๓ เรื่อง ได้แก่ แบบฝึกหาค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก, แบบฝึกการวิเคราะห์วัตถุประสงค์งานวิจัยและตบท้ายด้วยแบบฝึกการตั้งสมมติฐานงานวิจัย เพื่อนๆดูท่าทางตั้งใจทำมาก(เพราะอาจารย์บอกว่า จะออกสอบ) การทำงานผู้เขียนให้เพื่อนๆแบ่งกลุ่มตามใจเพื่อช่วยกันเฮ็ดแบบฝึกหัดและให้ช่วยกันเฉลยเป็นกลุ่ม ช่วงนี้ค่อนข้างมันเพราะจะให้คะแนนเพื่อนเป็นกลุ่ม (แปลกใจมากนิสิตสาขานี้ชอบแข่งขันแบบให้คะแนน including me ไม่ว่าจะวิชาอะไรถ้าแข่งเป็นต้องเอาจริงเอาจัง มากกว่านักการเมืองหาเสียงเลือกตั้งอีก) ขอเล่าเพิ่มตรงที่ให้ทำแบบฝึกหัดหาค่าความยากอำนาจจำแนก กิจกรรมนี้ทำให้เด็ก Eng เข้าใจว่า ดีแล้วที่เลือกเรียน Eng เพราะทุกคนจะต้องบรรจงกดเลขในแป้นมือถือเพื่อคิดเลขแค่หลักสิบ สิ่งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ อะไรก็ตามที่ไม่ได้ใช้นานๆ เราสามารถลืมได้แน่นอน


      เราเริ่มติวกันตั้งแต่ราวๆบ่าย ๔ โมงตรงจนกระทั่ง ๕ โมงกว่าๆ เมื่อออกมาจากห้อง ปรากฏว่าฝนตกหนักมาก (It rained cats and dogs) จนทำให้ไม่ไหนไม่รอด ต้องกลับเข้ามานั่งโม้อย่างเมามันกันต่อในห้อง จนกระทั่ง ๖ โมง ผู้เขียนก็รีบจรลีมาที่อาคารส้มหน้ากองกิจการนิสิต(กำแพงแสน) คราวนี้มาเป็นผู้เรียนบ้าง – เรียนอะไร เป็นอย่างไง อาจารย์มีวิธีการสอนอย่างไร จะมาบอกในบันทึกหน้านะครับ ตอนนี้ขอตัวไปนอนก่อน ง่วงมากแถมสัญญาณ wireless ก็ไม่ติด เห้อ ถึงกับเซ็ง  แล้วพบกันครับ


PS. ขอคำแนะนำ เรื่อง การติวก่อนสอบ จากผู้มีกระสบการณ์ด้วยครับว่าจะติวอย่างไรให้สนุกและได้เนื้อหาด้วย ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 454123เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ได้สอบซะทีนะคุณพี่
  • สู้ ๆ ๆ

เก่งเกินตัวจริงๆพี่คนนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท