การจัดทำโครงการ


การจัดทำโครงการ

ความหมายของโครงการ

การวางแผนโครงการฝึกอบรม (พัฒนา สุขประเสริฐ. 2541,37)หมายถึง การกำหนดและตัดสินใจล่วงหน้าเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องดำเนินการว่า จะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด ที่ไหน และใครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยกิจกรรมเหล่านี้จะต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ และในทิศทางที่พึงปรารถนา หรืออาจหมายถึงกระบวนการเพื่อกรอบกำหนดทิศทางและวิธีการในการดำเนินการงานฝึกอบรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนดและภายในทรัพยากรที่อยู่ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบมีความต่อเนื่องสอดคล้องในการกำหนด และตัดสินใจล่วงหน้าสำหรับกิจกรรมในการฝึกอบรมและพัฒนา จะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด ที่ใด และโดยใคร (เทียนฉาย กีระนันนท์, 2530 :1-2โครงการฝึกอบรม หมายถึง การกำหนดหลักสูตร ขั้นตอน วิธีการ ตลอดจนแนวปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมนั้น (นงลักษณ์ สินสืบผล, 2542: 70) โครงการฝึกอบรมที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้

    1. มีความกระทัดรัดและชัดเจน
    2. ใช้ภาษาง่าย เป็นที่เข้าใจของบุคคลทั่วไป
    3. ควรระบุว่า ต้องการให้เกิดพฤติกรรมชนิดใดขึ้น หรือต้องการจะแก้ปัญหาใด
    4. มีความเป็นไปได้
    5. สามารถที่จะวัดหรือประเมินผลได้
    6. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลัก หรือนโยบายของหน่วยงาน
           การฝึกอบรมเป็นกระบวนการพัฒนาบุคคล   ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยจะต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง เพื่อให้การฝึกอบรมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่บุคคล งาน และหน่วยงานมากที่สุด เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานและนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและละเอียดยิ่งขึ้น
           ความจำเป็นในการฝึกอบรม   ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากมีปัญหา ข้อขัดข้องและอุปสรรคที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้นในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งต้องแก้ไขด้วยการฝึกอบรม เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์กรสามารถดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ซึ่งปัญหาข้อขัดข้องและอุปสรรคที่ไม่พึงปรารถนาในองค์กร

 

  ประโยชน์ของโครงการ

ประโยชน์ของโครงการ/การวางแผนโครงการ

จะมีประโยชน์ต่อการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ
  1.  
    1. แผนหรือโครงการจะช่วยในการพิจารณาทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด
    2. แผนช่วยให้สามารถดำเนินการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า
    3. ช่วยให้ผู้บริหารมีเครื่องมือในการตัดสินใจ ดำเนินการ สั่งการ ควบคุมและกำกับการดำเนินการ ตลอดจนตรวจสอบผลการปฏิบัติงานด้วย ทำให้เกิดความมั่นใจในการบริหารแผนช่วยให้ความผิดพลาดในการทำงานน้อยลง
    4. แผนช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน และการผลักภาระของงาน
    5. แผนช่วยลดการไม่ประสานงานกันช่วยให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงานอย่างมีระบบและเกิดประสิทธิผล
    6. แผนช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามที่ต้องการ

ลักษณะของโครงการฝึกอบรมที่ดี ควรจะมีองค์ประกอบดังนี้

บรรยายได้ถึงสภาพและความจำเป็นของสถานการณ์ที่ทำให้เกิดโครงการฝึกอบรมขึ้น โดยเป็นการระบุถึงปัญหาหรือความจำเป็นในการฝึกอบรม  

วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและสามารถบรรลุสำเร็จได้ เป็นการชี้ชัดถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม และองค์กร/สังคม

รายงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ในการดำเนินงานเพื่อที่จะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะต้องมีความยืดหยุ่นคือสามารถปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้

แนวทางและวิธีการประเมินผล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึงความสำเร็จของการดำเนินการ

 

  ความสำคัญของโครงการ

            โครงการเป็นกระบวนการที่เป็นระบบมีความต่อเนื่องสอดคล้องในการกำหนด และตัดสินใจล่วงหน้าสำหรับกิจกรรมในการฝึกอบรมและพัฒนา จะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด ที่ใด และโดยใคร    การวางแผนโครงการฝึกอบรม   จะกำหนดและตัดสินใจล่วงหน้าเกี่ยวกับกิจกรรรมที่ต้องดำเนินการว่า   จะทำอะไร อย่างไร  เมื่อใด   ที่ไหน และใครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยกิจกรรมเหล่านั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ากรับการฝึกอบรมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ และในทิศทางที่พึงปรารถนา หรือเป็นกระบวนการเพื่อเป็นกรอบกำหนดทิศทางและวิธีการในการดำเนินงานฝึกอบรม เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนดและภายในทรัพยากรที่มีอยู่ (เทียนฉาย  กีระนันทน์, 2530 : 1-2)
 
           ประโยชน์ของโครงการ/การวางแผนโครงการ    จะมีประโยชน์ต่อการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ
  1. แผนหรือโครงการจะช่วยในการพิจารณาทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด
  2. แผนช่วยให้สามารถดำเนินการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า
  3. ช่วยให้ผู้บริหารมีเครื่องมือในการตัดสินใจ   ดำเนินการ  สั่งการ ควบคุมและกำกับการดำเนินการ ตคลอดจนตรวจสอบผลการปฏิบัติงานด้วย ทำให้เกิดความมั่นใจในการบริหาร
  4. แผนช่วยให้ความผิดพลาดในการทำงานน้อยลง
  5. แผนช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน และการผลักภาระของงาน
  6. แผนช่วยลดการไม่ประสานงานกันช่วยให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงานอย่างมีระบบและเกิดประสิทธิผล
  7. แผนช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามที่ต้องการ
          ลักษณะของโครงการฝึกอบรมที่ดี   ควรจะมีองค์ประกอบดังนี้
  1. บรรยายได้ถึงสภาพและความจำเป็นของสถานการณ์ที่ทำให้เกิดโครงการฝึกอบรมขึ้น   โดยเป็นการระบุถึงปัญหาหรือความจำเป็นในการฝึกอบรม  
  2. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและสามารถบรรลุสำเร็จได้   เป็นการชี้ชัดถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอันอำนวยประโยชน์แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม และองค์กร/สังคม
  3. รายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ในการดำเนินงานเพื่อที่จะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะต้องมีความยืดหยุ่นคือสามารถปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้
  4. แนวทางและวิธีการประเมินผล   โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึงความสำเร็จของการดำเนินการ
 

 

  องค์ประกอบของโครงการ

          รูปแบบ (format) ของโครงการฝึกอบรมที่ใช้กันทั่วไป   จะมีโครงสร้างดังนี้ คือ
  1. ชื่อโครงการ
  2. หลักการและเหตุผล
  3. วัตถุประสงค์
  4. หลักสูตรในการฝึกอบรม
  5. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  6. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  7. สถานที่ฝึกอบรม
  8. ระยะเวลาในการฝึกอบรม
  9. เทคนิคหรือวิธีการฝึกอบรม
  10. วิทยากรในการฝึกอบรม
  11. งบประมาณในการฝึกอบรม
  12. การประเมินผลการฝึกอบรม
  13. การมอบประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร
  14. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม
  15. รายนามคณะทำงาน

  ขั้นตอนการจัดทำโครงการ

        
1. วิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม วิเคราะห์ว่ามีปัญหาอะไร เขาต้องการฝึกอบรมในเรื่องอะไรบ้าง มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด งานใดที่ควรจะได้รับการฝึกอบรมก่อน ควรจะอบรมในด้านใด ความรู้ทักษะ หรือทัศนคติ และคำนึงถึงความเป็นไปได้ของงานที่จะปรับปรุงโดยการฝึกอบรมด้วย

การสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมอาจทำได้โดยการสังเกต การปฏิบัติงาน การเปรียบเทียบกับมาตรฐานแรงงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือใช้วิธีวิเคราะห์งาน

สภาพการปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการฝึกอบรม เช่น

  1.  
    1. ผลผลิตของงานตกต่ำทั้งปริมาณ และคุณภาพงานไม่ได้ตามมาตรฐาน
    2. เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งผิดปกติ
    3. เกิดการสูญเสีย สิ้นเปลืองวัตถุดิบ และของเสียมาก
    4. พนักงานมีการลาป่วย ลากิจ ขาดงาน หรือลาออกบ่อย
    5. พนักงานมีการปฏิบัติงานต่างวิธีกันในงานชนิดเดียวกันทำให้ผลงานไปคนละทาง
    6. พนักงานเหน็ดเหนื่อย และท้อถอยในการปฏิบัติงาน, ขวัญของผู้ปฏิบัติงานไม่ดี
    7. ขาดความร่วมมือประสานงานกัน
    8. งานมีการคั่งค้าง สะดุดหยุดลง ณ จุดต่าง ๆ
    9. การปฏิบัติงานล่าช้ามากเกินสมควร งานไม่เสร็จตามกำหนด
     
  2. 2. วางโครงการในการฝึกอบรม ซึ่งจะต้องระบุถึงชื่อโครงการ หลักการ และเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการฝึกอบรม เทคนิคที่ใช้ในการฝึกอบรม จำนวนและชนิดของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม กำหนดวันเวลาและสถานที่ หัวข้อวิชาและรายละเอียดของหลักสูตร วิทยากร อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ งบประมาณ วิธีการประเมินผล และผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นต้น

    3. เสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา ตามลำดับขั้น เพื่อให้เกิดการประสานงาน และดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย

    4. ดำเนินการฝึกอบรม เมื่อได้รับอนุมัติแล้วก็จะเตรียมงานต่าง ๆ เช่น จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ เอกสาร แฟ้ม ติดต่อวิทยากร แจ้งรายละเอียดของโครงการให้ผู้เข้าร่วมการอบรมทราบ จัดเตรียมเครื่องดื่ม หรืออาหาร ติดต่อเชิญประธานในพิธีเปิดและปิด จัดทำประกาศนียบัตร ของชำร่วยหรือของขวัญต่าง ๆ และแบบฟอร์มการประเมินผล

    5. การประเมินผลการฝึกอบรม เพื่อตรวจสอบดูว่าการฝึกอบรมนั้นบรรลุผลสมดังความมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่ หากมีอุปสรรคข้อขัดข้อง ก็จะได้ทราบและนำไปปรับปรุงแก้ไข ต่อไป

    การประเมินผลจะทำในช่วงสุดท้ายของการฝึกอบรม ซึ่งจะประเมินทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกี่ยวกับตัววิทยากร เนื้อหาวิชาและหลักสูตร รวมทั้งวัดความรู้ความสามารถของผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย วิธีการประเมินผลนิยมใช้การจัดผลก่อน-หลั6. การติดตามพล ขั้นนี้เป็นการตรวจสอบว่า หลังจากการฝึกอบรมผ่านไปแล้ว ได้ผลสมความมุ่งหมายหรือไม่ เช่น การปฏิบัติงานดีขึ้นหรือไม่ ทัศนคติเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ซึ่งอาจใช้วิธีการสังเกตุพฤติกรรม หรือใช้แบบสอบถาม การกระทำหลังจากฝึกอบรม 3-6 เดือน

 

http://www.train355311.freehomepage.com/lesson4/made-project.ht

หมายเลขบันทึก: 453730เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท