แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง


         กระบวนงาน การจัดการความรู้ การขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตร
          เนื่องในโอกาส ที่มีคำสั่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักรไทย (กอ.รมน.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ข้าพเจ้าปฏิบัติงานในหน้าที่วิทยากรชุดครูฝึก ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อก่อตั้งและทบทวนหมู่บ้านอาสาพัฒนาตนเอง (อพป.) ปี 2554 โดยรับผิดชอบหลักในวิชา การเกษตรพอเพียง จึงได้ใช้เวทีนี้ ในการ ถ่ายทอดความรู้ ทบทวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับราษฎร ที่เข้ารับการอบรม อพป. จำนวน 10 หมู่บ้านๆละ ประมาณ 40 คน รวม 10 หมู่บ้าน ประมาณ 400 คน ใช้เวลา ประมาณ 5 เดือน ซึ่งเนื้อหาวิชา ได้กำหนดให้เรียนรู้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย เน้น เศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตร ซึ่งได้กำหนด รูปแบบ วิธีการ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ 
  
กระบวนงาน 
1. นำเข้าสู่บทเรียน     คณะวิทยากร
2. ชี้แจงขั้นตอน วิธีการทำงาน   กำหนดให้กลุ่มระดมสมอง, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( กระดาษฟาง ,ปากกา )
      2.1 เศรษฐกิจพอเพียงในความเข้าใจของท่านคือ
      2.2 เป้าหมายการดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจพอเพียง (ใช้เวลา ประมาณ 20  นาที)
3.  นำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประมาณ   30 - 40  นาที
        - ตัวแทนกลุ่มฯ นำเสนอ    5 - 10    นาที/กลุ่ม
        - วิทยากร แลกเปลี่ยน  เพิ่มเติม เสริม
4.  วิทยากร   นำเสนอหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประมาณ   30 นาที
       -  วิดิทัศน์
       -  เพาเวอร์พอทย์
 
งานมอบหมาย
ระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายในกลุ่ม     ใช้เวลา  20 – 30  นาที

 

     1. เศรษฐกิจพอเพียง ในความเข้าใจของท่าน  คืออะไร ??
     2. เป้าหมายการดำเนินชีวิต ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง ของท่าน จะทำอย่างไรบ้าง ??
     3. ครัวเรือนพอเพียง เป้าหมายของท่าน  จะดำเนินการอย่างไร ??
    4. ชุมชนพอเพียง เป้าหมายของชุมชนท่าน  จะดำเนินการอย่างไร ??
สรุปผล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง


1.  ครัวเรือนพอเพียง  ในการทำให้ครัวเรือน เป็นครัวเรือนแห่งความพอเพียง ต้องดำเนินการดังนี้
          -  ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้  พืชผักหมุนเวียนที่มีรายได้ทุกวัน
          -  เลี้ยงปลา , กบ แบบผสมผสาน  เพื่อใช้บริโภคและแปรรูปจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
          -  ปลูกกล้วย  ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
          -  ทำปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยชีวภาพ  ใช้เอง
          -  เลี้ยงหมู  หมูหลุม ลดต้นทุน
          -  ทำโรงเพาะเห็ด
          -  ปลูกข้าวเพื่อบริโภค
          -  ปลูกมะพร้าว
          -  ปลูกไม้ผล  , ไม้ยืนต้น , ไม้ใช้สอย
          -  ทำบัญชีครัวเรือน
          -  ออมทรัพย์  พ่อ - แม่ - ลูก
          -  ให้ความร่วมมือกับส่วนรวม
          -  ถือศีล ปฏิบัติธรรม ตามศาสนาที่นับถือ

 

                      
                   ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


2. ชุมชนพอเพียง  ในการทำให้ชุมชนเป็นชุมชนแห่งความพอเพียง ต้องดำเนินการดังนี้
          1.  ผู้นำต้องทำตัวเป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่น
          2.  มีการรวมกลุ่ม  ประชุมสมาชิก  อย่างต่อเนื่อง
          3.  มีการจัดตั้งสหกรณ์ / กลุ่มอาชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์  สหกรณ์ร้านค้า  สหกรณ์การผลิต
          4.  มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
          5.  จัดทำกิจกรรมปลอดอบายมุขในหมู่บ้าน/ชุมชน
          6.  ราษฎรมีความรัก – สามัคคี – ให้ความร่วมมือกับส่วนรวม
          7.  มีกิจกรรมการผลิต  เพื่อบริโภคในชุมชน  เป็นโรงสีชุมชน
          8.  ลดการพึ่งพาจากภายนอก  ไม่ฟุ่มเฟือย ซื้อหาแลกเปลี่ยนกันภายในชุมชน
          9. ยึดถือประเพณีเก่าแก่  เช่นการเอาแรง  การลงแขก  เอื้อเฟื้อแก่กัน
          10.  ผลิตทุกอย่างที่บริโภค  ปลูกทุกอย่างที่กิน  กินทุกอย่างที่ปลูก
          11.  ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


 

                       ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                                                          
                                                                                    ชัยพร  นุภักดิ์
 
หมายเลขบันทึก: 453456เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะ เป็นแบบอย่างที่ดีของการปลูกจิตสำนึกเพื่อชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

สวัสดีคับ อ.นงนาท

  • ชาวบ้าน เขาก็คิดได้ดีๆ นะคับ..
  • เยี่ยมครับ
  • ชาวบ้านเขาเข้มแข็งดีนะครับ

 

สวัสดีคับ อ.ยุทธ

  • น้ำท่วมรึป่าวคับ
  • ตอนนี้ฝนยังไม่มากน้ำยังไม่ขึ้นครับ
  • ยกเว้นบางพื้นที่ มีบ้างนิดหน่อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท