อบรมโครงการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้า กศน.ตำบล


อบรมโครงการพัฒนาสมรรถนะหัวหน้า กศน.ตำบล

สรุปรายงานผลการอบรม 

 โครงการพัฒนาสมรรถนะ หัวหน้า  กศน.ตำบล  ปี 2554

สำนักงาน กศน.

รุ่นที่ 1

วันที่  30  กรกฎาคม - 4  สิงหาคม  2554

ณ ค่ายลูกเสือ  เสือป่าแคมป์  อ.มวกเหล็ก  จ.สระบุรี

 

                   กล่าวเปิดโดย  ท่านประเสริฐ  บุญเรือง  เลขาธิการ  กศน.  “การรับรู้และการพัฒนาหัวหน้า  กศน.ตำบลที่ดี  ต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ถ้าเรารัก  กศน.  ต้องมีจิตวิญญาณ  ทำให้  กศน.เจริญก้าวหน้า  ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สังคมยอมรับ  ชาว  กศน.อยู่ในตำแหน่งใด  คือบทบาท  ชาว  กศน  ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน  แต่ทำบทบาทหน้าที่ที่ได้รับให้ดีที่สุด  การอบรมครั้งนี้ขอให้ทุกคนรัก  สามัคคี  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”

 

         เรื่องที่  1  จิตวิญญาณ  และวัฒนธรรมองค์การ

                    จิต  คือ  ความรู้สึก  ความมีสติ

                    วิญญาณ  คือ  ความรู้แจ้ง  ความรู้สึกสำนึก  ผิด  ชอบ  ชั่วดี  สามารถแยกแยะได้

                    ความหมายของจิตวิญญาณ

                    จิตวิญญาณจึงเป็นประสบการณ์ของมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยสติปัญญา  และส่งผลมายังพฤติกรรมในการทำงาน  แสดงออกมาจากความเชื่อทางจิตวิญญาณของบุคคลซึ่งมาจากประสบการณ์ในอดีต

                   วัฒนธรรมองค์กร 

                    วัฒนธรรมองค์กรที่ดี  คือ  ค่านิยม  ความเชื่อ  ที่มีอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์กร และเป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนขึ้นในองค์กรในการปฏิบัติรวมกัน

                    ความสำคัญขององค์กร

  1. เกิดจากลักษณะทางสังคมในองค์กร
  2. เป็นการถ่ายทอดจากคนอีรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
  3. บุคคลอยู่ในสังคมใดก็เรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้น
  4. เป็นสิ่งที่คนในองค์กรเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กร
  5. เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์กร
  6. เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นและสัมผัสได้

 

ลักษณะตัวอย่างวัฒนธรรมขององค์กร  กศน.

- ตั้งมั่นในการบริการ

- มุ่งมั่นในการทำงาน

- เชื่อมั่นในคุณค่าของงาน

- ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้เรียน

- มีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม  โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน

สรุป

วัฒนธรรมในองค์กรนั้นไม่ได้มีแต่ด้านดีด้านเดียว  คงต้องยอมรับว่ายังมีวัฒนธรรมองค์กรในด้านไม่ดีที่ฝังรากปะปนอยู่ด้วยกัน  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำในทุกระดับของสำนักงาน กศน.  ที่จะต้องค้นหาส่งเสริม  รณรงค์  กระตุ้นให้พนักงานราชการมีจิตสำนึกในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นโดยใช้จิตวิญญาณ

 

          เรื่องที่  2  การพัฒนาบุคลิกภาพและการพัฒนาตน

การพัฒนาบุคลิกภาพ  แบ่งเป็น  2  ด้าน  คือ  การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน  การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก

  1. การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน

ใจสงบ  เบิกบาน  มีสมาธิ  กล้าหาญ เชื่อมั่นในตนเอง  รวดเร็ว  ช่างสังเกต  ไม่หวาดกลัวต่อผู้อื่น  รู้จักกาลเทศะ  มีปฏิญาณไหวพริบ

  2. การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก

-  รูปร่าง  หน้าตา                                -  การแต่งกาย

-  การปรากฏตัว                                   -  กริยาท่าทาง

-  การสบสายตา                                   -  การใช้น้ำเสียง

-  การใช้ถ้อยคำภาษา                         -  ศิลปะการพูด

 

          เรื่องที่  3  การพัฒนา  กศน.ตำบล  สู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

                    แนวทางในการพัฒนา  กศน.ตำบล

-  การบริหารจัดการ  ได้แก่

-   ด้านบุคลากร

  1. หัวหน้า  กศน.ตำบล
  2. ครู  กศน.ตำบล
  3. คณะกรรมการ  กศน.ตำบล
  4. อาสาสมัคร  กศน.
  5. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
  6. ภาคีเครือข่าย

-  ด้านกายภาพ

  1. อาคารสถานที่
  2. สื่อ  วัสดุ  ครุภัณฑ์

                    กิจกรรมหลัก  กศน.ตำบล  คือ

  1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน  (Information  Center)
  2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้
  3. ศูนย์การเรียนรู้  (Learning  Center)
  4. ศูนย์ชุมชน  (Community  Center)

             การนิเทศติดตามและประเมินผล

-  การจัดทำแผนการนิเทศและการจัดกิจกรรม

-  คณะกรรมการ  กศน.ตำบล  เป็นผู้ออกนิเทศ

-  การรายงานผลการจัดกิจกรรม  6  เดือน  ย้อนหลัง

 

          เรื่องที่  4  การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และทรัพยากรธรรมชาติ

                    การบริหาร  (Administration)  คือ  การแบ่งหน้าที่ในการดำเนินงาน  การจะเป็นผู้บริหารจะต้องแสดงบทบาทที่ดี  คือ  การวางแผนดำเนินงานที่มีการกำหนดภาระหน้าที่  ที่ชัดเจน  โดยการมอบหมายงาน

                    แหล่งเรียนรู้  (Sources)  คือ  สิ่งที่เป็นส่วนส่งเสริม  สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์  และเกิดองค์ความรู้

                    ทรัพยากร (Resources)  คือ  สิ่งที่มีคุณค่านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สามารถสร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้

                    ทรัพยากรในชุมชน   มี

  1.  คน
  2. ธรรมชาติ
  3. โบราณสถาน
  4. โบราณวัตถุ

CILO  คือ  ต้องการให้เป็น  กศน.ตำบล

  1. ศูนย์ชุมชน  (Community  Center)
  2. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน  (Information  Center)
  3. ศูนย์การเรียนรู้  (Learning  Center)
  4. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้  (Opportunity  Center)

 

          เรื่องที่  5  กฎ  ระเบียบ  หลักเกณฑ์  วิธีการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้า  กศน.ตำบล

                   พนักงานราชการ  ตำแหน่ง  ครู  กศน.ตำบล  ผู้ปฏิบัติหน้าที่  หัวหน้า  กศน.ตำบล  มีหน้าที่และบทบาทจริง  ใน  กศน.ตำบล

                  ระบบพนักงานราชการ

                   (ระบบลูกจ้างสัญญาจ้าง)

                  ปรัชญาของพนักงานราชการ

-  เพื่อเป็นทางเลือกของการจ้างงานภาครัฐที่ยึดหยุ่นและคล่องตัว

-  เข้า – ออก  ตามภารกิจ

การประเมินพนักงานราชการ

-  ประเมินประจำปี

-  ประเมินต่อสัญญาจ้าง

ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์

-  การลา                                    

-  การไปราชการ

-  ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

-  สิทธิระหว่างลา

-  ประกันสังคม

-  เครื่องราชอิสริยาภรณ์

-  ค่าทดแทน

-  ค่าชดเชย

-  สิทธิประโยชน์จากการลา

วินัยและสัญญาจ้าง

ครู  กศน.ตำบล  ทำผิดวินัยต้องได้รับโทษทางวินัย

 โทษทางวินัย

-  ภาคทัณฑ์

-  ตัดเงินเดือน

-  ลดขั้นเงินเดือน

-  ไล่ออก

 

            เรื่องที่  6  คุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพ

                    จริยธรรม = จริง + ธรรม  คือความประพฤติที่เป็นธรรมชาติเกิดจากคุณธรรมจริยธรรม ในตัวเองก่อให้เกอดความสงบเรียบร้อยในสังคม  รวมแล้วสรุปว่า  คือ  ข้อควรประพฤติ

                   ความสำคัญ  จรรยาบรรณวิชาชีพครู  มีความสำคัญต่อครู  เช่นเดียวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ  มีความสำคัญจ่อวิชาชีพอื่น ๆ  ได้  3  ประการ

  1.  ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
  2. รักษามาตรฐานวิชาชีพ
  3. พัฒนาอาชีพ

พัฒนาการ/มาตรฐานจริยธรรม

ทำดีตามอุดมการณ์  ทำดีตามหน้าที่  ทำดีตามสังคม  ทำดีหวังผลตอบแทน  ทำดีเพราะกลัว

     **  เมื่อมีปัญหาใช้ปัญญาแก้ปัญหาทุกอย่างมีทางออก **

  

          เรื่องที่  7  การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                    กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีดังนี้

-  ศึกษาด้วยตนเอง

-  แลกเปลี่ยนเรียนรู้

-  ฝึกปฏิบัติ

การวัดประเมินผล

-  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่กำหนดให้

-  การทดสอบ

 

          เรื่องที่  8  การบริหารจัดการระบบภาคีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม

                   บุคคลที่จะอยู่รอดได้  มี  3  ประการ  คือ

  1. ต้องพร้อมปรับปรุงได้กับทุกสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
  2. คนทำงานในพื้นที่ต้องคิดสิ่งใหม่ ๆ  อยู่เสมอ
  3. พร้อมเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันและเกิดขึ้นตลอดเวลา

                   คนที่ประสานงานได้ดี  คือ

  1. ต้องเป็นคนที่มีข้อมูลทางวิชาการ
  2. ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร
  3. บุคลิก  ท่าทาง  น่าไว้วางใจ
  4. ต้องมีเจตนาดีต่อผู้อื่นเสมอ
  5. ใจเต็มร้อย  ให้มุ่งมั่น  ทุ่มเทกับการทำงาน
  6. การให้  ให้ความรู้  ให้ความหวังดี  ให้ทุกอย่างที่ให้ได้

                    

          เรื่องที่  9  สมรรถนะพนักงานราชการ

                    แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับหัวหน้า  กศน.ตำบล

  1. ผู้นำสามารถสร้างได้  ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด
  2. การเป็นผู้นำสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้
  3. มนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพของการเป็นผู้นำ
  4. ความเป็นผู้นำเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  5. เกณฑ์เฉลี่ยของกลุ่มหรือปทัสถาน  มีบทบาทต่อผู้นำ

ผู้นำที่ดีจะต้องมี

1.  เก่งงาน

2.  เก่งคน

3.  เก่งคิด

คุณลักษณะที่หัวหน้า  กศน.ตำบล  ควรจะมี

  1. ภูมิฐาน  คือ  สง่า  ผ่าเผย  มีความสะอาด  ทำให้คนมีความยำกรง  และศรัทธา
  2. ภูมิวุฒิ  ความเป็นผู้รู้ในด้านหน้าที่โดยตรงแตกฉานแลจะต้องมีความรู้ในวิชาการแขนงอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  มีความรู้ทั่วไป
  3. ภูมิธรรม  คือ  คุณธรรมในด้านต่างๆ  เช่น

-  เป็นผู้รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา

-  เป็นผู้ที่เสียสละกำลังกาย  กำลังใจ  และกำลังทรัพย์

 

          เรื่องที่  10  การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ

                   คติ  ครม.  เมื่อวันที่  5  สิงหาคม  2552

-  กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ

-  กำหนดให้วันที่  2  เมษายน  ของทุกปี  เป็นวันรักการอ่าน

-  กำหนดให้  ปี  2552-2561  เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน

สำนักงาน  กศน.  ทำหน้าที่เป็นหน่วยส่งเสริมกิจกรรมการอ่าน

                   กศน.ตำบล  ช่วยขับเคลื่อนงานส่งเสริมการอ่าน

                   วิสัยทัศน์ของการอ่าน

คนไทยได้รับการพัฒนาความสามารถและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น  ด้วย

บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน  เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการรักการอ่าน

          กศน.ตำบลนอกจากเป็นห้องสมุดตำบล  Mini  library  ยังต้องเป็นศูนย์การในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้กับชุมชน
                   

          เรื่องที่  11  การบริหารจัดการ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                   การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนา  เด็ก  และเยาวชน  ให้เป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคมโดยกระบวนการ

ต่าง ๆ  ที่เป็นระเบียบแบบแผน  ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

                  การศึกษานอกระบบ  หมายถึง  การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย  รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษาการวัดผล  ประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม  ความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละคน

                   การศึกษาตลอดชีวิต  หมายถึง  การศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  ตามความสนใจ  ศักยภาพ  ความพร้อม  โอกาสของผู้เรียน  โดยศึกษาจากบุคคล  สถานการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อ หรือ  แหล่งความรู้

                   บทบาทหน้าที่ของ  กศน.  (กศน.อำเภอ/เขต)

  1. ส่งเสริม  สนับสนุน  ประสานและจัด  กศน.ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  2. มีศูนย์การเรียนชุมชน  (กศน.ตำบล)  เป็นหน่วยกิจกรรมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

การบริหารจัดการ  กศน.ตำบล/แขวง

                   แนวคิด  และหลักการ  ยึดชุมชนเป็นฐาน  ใช้ฐานข้อมูลชุมชน  ยึดการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

          เรื่องที่  12  ปรัชญาคิดเป็น  การศึกษาตลอดชีวิต

                   การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่  2  (พ.ศ.2552-2561) 

                   “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”

                   “คนไทยใฝ่รู้  ใฝ่ดี  มีมาตรฐานสากล  คิดวิเคราะห์  แก้ปัญหาเป็น”

                   การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลก,เศรษฐกิจทุนนิยม+พึ่งตนเอง+โลกาภิวัฒน์

                   “สังคมประชาธิปไตย”

                   “สิ่งแวดล้อมยั่งยืน”

                   การศึกษาตลอดชีวิต  เป็นการศึกษาของแต่ละคน  เพราะชีวิตของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน

                   หลักการศึกษาตลอดชีวิต

-  หลักการบูรณาการรูปแบบการศึกษาทั้งหมด

-  หลักของความเสมอภาคเพื่อความเป็นธรรมของการศึกษา

-  หลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

-  หลักการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและสังคม

-  หลักการเพิ่มพลังอำนาจการจัดการศึกษา

-  หลักชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้

-  หลักปัจเจกบุคคลสู่สังคมส่วนร่วม

ความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

-  เรียนรู้เพื่อรู้  (Learning to know)

-  เรียนรู้เพื่อปฏิบัติ  (Learning to do)

-  เรียนรู้เพื่อมีชีวิตอยู่  (Learning to be)

-  เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกัน  (Learning to live together)

             

 

 

 

 

นางสาวภัทรา  แสงคุณ

ครู  กศน.ตำบล

ผู้ปฏิบัติหน้าที่  หัวหน้า  กศน.ตำบล

 หมายเหตุ  สรุปอย่างย่อ  (รูปภาพลงให้ดูทีหลังคะ  กล้องพัง  รอเพื่อนส่งรูปภาพให้คะ)

หมายเลขบันทึก: 453175เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2011 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท