การเก็บรวบรวมข้อมูล


การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องอาศัยเครื่องมือที่ดี มีคุณภาพ

การเก็บรวบรวมข้อมูล 

วิธีการ 

เราต้องบอกวิธีการก่อน แล้วบอกเครื่องมือด้วยเช่น ใช้วิธีการสัมภาษณ์ ใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ไม่ควรใช้ปะปนกัน เช่น วิธีการสอบถามเราใช้เครื่องมือคือแบบสอบถาม เครื่องมือทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้า ที่ใช้กระตุ้นกลุ่มตัวอย่างให้ได้ข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการ เช่น แบบทดสอบ ดังนั้นเครื่องมือต้องสกัดเฉพาะสิ่งที่เราต้องการ ต้องมีคุณภาพ โดย

1.รายงานว่าสร้างมาอย่างไร ส่วนใหญ่สร้างเอง ต้องรายงานขั้นตอนการสร้างอย่างละเอียดว่ามีที่มาอย่างไร  

2.บอกการหาระดับคุณภาพ เช่น ความเที่ยง ความตรง

3.การหาคุณภาพ  

การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปร

  1. ต้องเขียนนิยามตัวแปรก่อนให้เป็นเชิงปฏิบัติการ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึงคะแนนในรายวิชา
  2. เครื่องมือที่จะใช้วัดควรมีความเหมาะสมกับกลุ่มเช่น ภาษา ความยาว ใช้แบบวัด 3 ตัวเลือกกับนักเรียนประถมใช้ห้าตัวเลือกกับระดับมัธยมศึกษา
  3. เขียนข้อคำถามโดยมีตารางโครงสร้างว่าเครื่องมือจะมีกี่ข้อ
  4. ตรวจสอบความเหมาะสมในการตรงประเด็นให้ดีที่สุด โดยเฉพาะในด้านเนื้อหา
  5. ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดูความเหมาะสม การหาผู้เชี่ยวชาญ ควรมี 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านการวัดผลการศึกษา เพราะจะรู้ขั้นตอนภาษาที่ใช้ 3) อีกคนจะรู้เกี่ยวกับภาษา โดยเฉลี่ยใช้ 5 คน ดังนั้นจะต้องขอมากกว่าห้าคน ปัญหาคือผู้เชี่ยวชาญเป็นใคร มีเวลาทำหรือไม่ และควรมีความสันทัดในเรื่องดังกล่าว
  6. ทดลองเก็บข้อมูล Try out จะได้คุณภาพ
  7. วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าอำนาจจำแนก validity and reliability
  8. เขียนคู่มือการใช้

การเขียนนิยามศัพท์ สามารถนำมาจากกรอบทฤษฎี หรือแนวคิดของคนอื่นๆหลายๆคนแล้วนำมาสังเคราะห์เป็นของเราเอง

การหาคุณภาพของเครื่องมือ

  1. ความตรง validity หมายถึงเครื่องมือวัดได้ตรงตามตัวแปร ตามนิยาม จึงควรเขียนนิยามให้ดี ดูได้จากค่า IOC (item objective congruence) เป็นความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ IOC >.5 ควรนำไปใช้ได้ ดังนั้นต้องให้เอกสารเกี่ยวกับนิยามศัพท์ ตารางโครงสร้าง ข้อสอบ วัตถุประสงค์ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ โดยบอกว่าประเด็นไหนอยู่ข้อไหน

 

IOC,IC    แทน        ดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม   (Index  Conference)

åR                          แทน        ผลรวมของความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญแต่ละข้อ

N                             แทน        จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

ตัวอย่าง  การแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน  5  คน

ข้อสอบ

ข้อที่

ผู้เชี่ยวชาญ

คนที่ 1

ผู้เชี่ยวชาญ

คนที่ 2

ผู้เชี่ยวชาญ

คนที่ 3

ผู้เชี่ยวชาญ

คนที่ 4

ผู้เชี่ยวชาญ

คนที่ 5

รวม

IOC

ความหมาย

1

+1

0

+1

+1

+1

+4

4/5 =  0.8

ใช้ได้

2

+1

0

-1

-1

+1

0

0/5 =  0

ใช้ไม่ได้

3

+1

-1

-1

+1

+1

+1

1/0 =  0.2

ใช้ไม่ได้

4

+1

-1

+1

+1

+1

+3

3/5 =  0.6

ใช้ได้

5

+1

+1

+

+1

+1

+5

5/5 =  1

ใช้ได้

เทียบเกณฑ์   ถ้า  IOC  สูงกว่า  0.5  เป็นข้อสอบที่นำไปใช้วัดได้

  1. ความเที่ยง Reliability  คือ เครื่องมือวัดได้อย่างคงเส้นคงวา ทำกี่ครั้งจะได้ผลเช่นเดียวกันทุกครั้ง
  2. อำนาจจำแนก discrimination index ต้องแยกได้ว่ากลุ่มแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะผู้ที่เก่งย่อมได้คะแนนมากกว่าคนอ่อน ต้องหาเป็นรายข้อเพื่อให้รู้ว่าข้อคำถามนี้คนที่มีเจตคติดีต้องได้คะแนนสูงกว่าคนที่มีเจตคติไม่ดี

 

                                D             แทน        ค่าอำนาจจำแนก

                                Ru           แทน        จำนวนผู้ตอบถูกกลุ่มบน  (เก่ง)

                                Rl            แทน        จำนวนผู้ตอบถูกกลุ่มล่าง (อ่อน)

                  Nu      Nl               แทน        จำนวนคนในกลุ่มบนและล่าง  ตามลำดับ

วิธีการทำ

1.  ตรวจข้อสอบให้คะแนน และรวมคะแนนของผู้เข้าสอบแต่ละคน

                        2.  เรียงลำดับคะแนนของผู้เข้าสอบจากมากไปหาน้อย

                        3.  แบ่งจำนวนคนตามลำดับคะแนนออกเป็นกลุ่มสูง – กลุ่มต่ำ (กลุ่มเก่ง – กลุ่มอ่อน)                         วิธีการแบ่ง  จะใช้  50%  บน – ล่าง  หรือจะใช้  1/3  บน  กับ  1/3  ล่าง  หรือจะใช้                 25%  บน  กับ  25%   ล่าง  หรือจะใช้  27%  บน  27%  ล่างก็ได้

                        4.  นำกระดาษคำตอบของคะแนนคนในกลุ่มสูง และกลุ่มต่ำมาบันทึก

                        5.  หาจำนวนคนที่ตอบถูกของแต่ละกลุ่มในข้อเดียวกัน  แล้วแทนค่าในสูตร  จะได้ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ

  1. ความยาก difficult index บททดสอบที่ดีไม่ควรยากหรือง่ายเกินไป เวลาทดลองต้องทดลองกับนักเรียน ข้อสอบยากถ้าตอบถูก 80% ดัชนีความยาก p = .8 ยิ่งข้อสอบง่ายมีค่าp จะมีค่าสูง

 

                P              แทน         ค่าความยากของคำถามแต่ละข้อ

                R              แทน         จำนวนคนที่ตอบถูกข้อนี้

                N             แทน         จำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด

ตัวอย่าง สมมติแบบทดสอบฉบับหนึ่ง  นำไปทดลองสอบกับนักเรียน  จำนวน  100  คน

                ข้อ  1       มีคนตอบถูก  50  คน     P  =  50 / 100  =  .50

                ข้อ  2       มีคนตอบถูก  90  คน     P  =  90 / 100  =  .90

                ข้อ  3       มีคนตอบถูก  20  คน     P  =  20 / 100  =  .20

 

                ค่า            P              จะอยู่ระหว่าง             0  ถึง  1

                ถ้า            P              เข้าใกล้  1  แสดงว่า      ข้อสอบข้อนั้น  ง่าย

                ถ้า            P              เข้าใกล้  0  แสดงว่า   ข้อสอบข้อนั้น  ยาก

                ถ้า            P              มีค่าเท่ากับ  .5            แสดงว่า       ข้อสอบข้อนั้นมีความยาก  ปานกลาง

                เกณฑ์       ข้อสอบที่ควรนำไปใช้ควรมีค่าระดับความยากอยู่ระหว่าง  .20 - .80 

                เพราะถ้าต่ำกว่า  .20  จะเป็นข้อสอบที่ยากเกินไป   แต่ถ้ามีค่าสูงกว่า  .80  เป็นข้อสอบที่ง่ายเกินไป

 

  1. ความเป็นปรนัย objectivity อ่านแล้วเข้าใจตรงกัน
  2. ความมีประสิทธิภาพ ดูว่าเครื่องมือกระตุ้นให้อยากตอบหรือไม่ ตัวหนังสือภาษาที่ใช้ ความยาวจะทำให้มีประสิทธิภาพ

Questionnaire จะไม่มีความยาก ดูว่าข้อนั้นไปในทิศทางเดียวกับคะแนนโดยรวมจะถือว่ามีอำนาจจำแนกจะมี จะหาค่าความตรง ความเที่ยง อำนาจจำแนก ความเป็นปรนัย (ได้จากผู้เชี่ยวชาญ)

Test จะมีค่าความยาก ความตรง ความเที่ยง อำนาจจำแนก ความเป็นปรนัย

แบบสอบถามปลายปิดจะมี

 1) มาตรประมาณค่า  ไม่ใช่มาตราส่วน เช่น ของลิเคิร์ท, Osgood

2) แบบเลือกตอบ เช่น เลือก 1 ข้อ กับแบบเลือกมากกว่า 1 ข้อ

การวัดเจตคติจะต้องมีข้อความเชิงบวกและข้อความเชิงลบ ควรนำมาไว้ทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่อ่านแล้วเช็ค อัตราส่วน 1: 3 ก็ได้ แต่ที่ดีคือควรครึ่งต่อครี่ง

แบบวัดสถานการณ์

            การเลือกตัวเลือกไหนจะขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ตอบ ที่ไม่ใช้ลิเคริทเพราะคนมีแนวโน้มเข้าข้างตนเองแบบนี้

แบบสอบถามที่เป็นลิเคริท

ใส่ข้อความบวกและลบเพื่อให้ผู้ตอบระมัดระวัง การไม่ทำจะส่งผลให้คุณภาพไม่ดี

การวิเคราะห์แบบสอบถาม

  1. การหาอำนาจจำแนกรายข้อ แบ่งเป็น 2 ชุด กลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำกลุ่มละ 25% นำคนที่มีคะแนนในกลุ่มสูงทุกคนในแต่ละข้อมาหาค่าเฉลี่ย มาหาค่า t มีคะแนนสูงถือว่ามีค่าอำนาจจำแนก ควรมีค่า 1.9  ควรใช้ประมาณ 100 คน ปัจจุบันใช้แค่ 30 คน
  2. ความสัมพันธ์คะแนนรายข้อกับคะแนนรวม ถ้าไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมให้เอาออก แต่ถ้าไปในแนวทางเดียวกันให้เก็บไว้ หาค่า r
  3. ความเที่ยง Reliability

-ทำแบบสอบถามสองครั้ง ควรได้คะแนนเท่ากันจึงจะมีค่าความเที่ยง ถ้าค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความเที่ยงสูง  

-หรือสอบครั้งเดียวแล้วแบ่งครึ่ง โดยต้องคู่ขนานกันอาจแบ่งข้อคี่กับข้อคู่  หา r xy แล้วมาปรับเป็น rtt =2rhh/1+rhh

-หรือหา ความคงที่ภายใน โดยใช้สูตรของคอนบาค ถ้าค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความเที่ยงสูง  ต่ำกว่า .70 ถือว่าใช้ไม่ได้

ต้องบอกว่าใช้นักศึกษากี่คน ใช้ข้อคำถามกี่ข้อ

  1. ความตรง
    1. ตรวจสอบข้อคำถามที่สร้างขึ้นกับนิยาม ตารางโครงสร้าง ใช้ IOC
    2. ความตรงเชิงประจักษ์
    3. ความตรงเชิงโครงสร้าง

ตารางโครงสร้าง                                                   

ประเด็น

น้ำหนัก

จำนวน

1.ไม่เอาสิ่งที่...........................

3

6

2””””””””””””””””””””     

2

4

3////////////////////////         

3

6

นำจำนวนข้อที่กำหนดไว้มาสร้างแบบสอบถาม

ประเด็น

ข้อ

รายการคำถาม

1.ไม่เอาสิ่งที่...........................

6

1.

2.

3.

4.

5.

6.

2””””””””””””””””””””

4

1.

2.

3.

4.

 

หมายเลขบันทึก: 453174เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2011 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท