ความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ภาระโรคเมืองไทย


โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง
โดยจะตรวจพบความดันโลหิตที่สูงกว่าปกติเรื้อรัง เป็นเวลานาน
องค์การอนามัยโลก กำหนดว่า ผู้ใดที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท
ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ
เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
อัมพาต ฯลฯ คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่รู้ตัว
แต่เมื่อรู้ตัวว่าแล้ว ส่วนมากก็จะไม่ได้สนใจหาทางรักษา
ส่วนหนึ่งเกิดจากโรคนี้ไม่ได้มีอาการที่น่ากลัว ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ
แต่จะเริ่มสนใจเมื่อมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
ซึ่งตรงนี้ ทำให้ประสิทธิภาพผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
...

...

ปี 2547 ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยลำดับที่ 3 ที่ทำให้ประชากรไทยเกิดภาระโรค รายละเอียด คลิก
กรุงเทพโพล เผย คนกรุงป็นความดันสูงมากที่สุด รายละเอียด คลิก

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูง 

1. อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น
    ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/80 มม.ปรอท
    แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90
    แต่ก็ไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป
    อาจวัดได้ 120/80 เท่าเดิมก็ได้

2. เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น
    ในตอนเช้าความดันซิสโตลิก อาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท
    ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท
    ขณะนอนหลับ อาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น

3. จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด
    อาจทำให้ความดัน โลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท
    ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้
    เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน

4. เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง

5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว
    สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วย

6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในชนบท

7. ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมาก
    จะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย
    ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นตอนเหนือรับประทานเกลือมากกว่า 27 กรัม/วัน
    มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึง 39% ส่วนชาวญี่ปุ่นตอนใต้รับประทานเกลือวันละ
    17 กรัม/วัน เป็นมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพียง 21%

...

...

ความดันโลหิตสูงนั้น แม้เมื่อเริ่มเป็น จะไม่ค่อยมีอาการที่น่ากลัว
แต่ถ้าเป็นแล้ว รักษายาก แถมเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
ตามสถิติที่นำเสนอไปนั้น โรคนี้เป็นกันได้ง่าย แต่ผลเสียรุนแรง
เป็นสาเหตุอันดับสามที่ทำให้ประชากรไทยเกิดภาระโรค

การป้องกันนั้น ไม่ยากครับ ออกกำลังกายเป็นประจำ, หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด,
ลดสุรา บุหรี่, หลีกเลี่ยงความเครียด, ความอ้วนก็เป็นหนึ่งในสาเหตุ
หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ... เพราะการป้องกัน ใช้ต้นทุนน้อยกว่าการรักษา
ดูแลตนเองวันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดี ลดภาระโรคประเทศไทย

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

อ้างอิง 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87



หมายเลขบันทึก: 452666เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่นำความรู้มาบอกค่ะ

ขอบคุณครับ อ่านแล้วกลับมามองสุขภาพตัวเองมาขึ้น แล้วใส่ใจคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท