ตำรา ต้อง ชา-ดำ-เย็น ??


จริงหรือว่า ตำราที่ดี ควรมีลักษณะ ชา ดำ และ เย็น

มีอาจารย์รุ่นพี่ผู้อารีย์ ท่านหนึ่ง แนะนำข้าพเจ้าให้เริ่มวางแนวทางการศึกษาวิจัย เรื่องใดเรื่องหนึ่งตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อต่อไปจะได้รวบรวมเขียนเป็นตำราได้

หลังจากข้าพเจ้าได้มีโอกาสอ่านทบทวนสไลด์อันเป็นประโยชน์ยิ่ง เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเขียนตำรา

ในฐานะผู้อ่อนหัดอย่างข้าพเจ้าเกิดความรู้สึกสับสนบางประการ..

ดูเหมือนการเขียนตำรา มีสองจุดหมาย..ที่น่าสงสัยว่า จะไปทางเดียวกันได้หรือ

จุดหมายหนึ่ง เพื่อสื่อสารกับผู้ประเมิน "แสดงความรู้ความสามารถทางวิชาการ"  

จุดหมายที่สอง เพื่อสื่อสารกับผู้เรียน "ให้เสมือนเป็นตัวแทนอาจารย์"

วิถีไปสู่จุดหมายแรกนั้น ข้าพเจ้าขอสรุปว่าต้องดื่ม "ชา ดำ เย็น"

ชา  หมายถึง แสดง ไม่แสดงอารมณ์  ไม่ใช้ภาษาพูด

ดำ หมายถึง หมวกดำใน six hat thinking คือการระมัดระวังให้ถูกต้อง ความรู้ที่นำเสนอควรเป็นสิ่งที่วงการยอมรับ

เย็น หมายถึง เนื้อหาเพียบพร้อม  มีคำตอบให้อย่างสมบูรณ์  

ทว่า เมื่อพิจารณา จุดหมายที่สอง ก็เกิดคำถาม..

เมื่อชา..
นักศึกษาต้องอ่านด้วยความไร้อารมณ์เช่นกัน..แต่อารมณ์มิใช่หรือที่สร้างความประทับใจ และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง

เมื่อดำ
แล้วสิ่งที่คิดนอกกรอบไปจากที่เขียนในตำรา แปลว่า "ไม่ถูกต้อง" เช่นนั้นหรือ

เมื่อเย็น
แล้วเราจะทิ้งปมปริศนา เปิดช่องว่าง (gap)เพื่อกระตุ้นความใฝ่รู้ได้อย่างไร

เมื่อดูนิยามตำรา ที่ "ดีเด่น"...ข้าพเจ้าก็ยังไม่กระจ่างนัก ระหว่าง สีเขียวกับสี้นำเงิน
"..มีเนื้อหาทางวิชาการถูกต้อง สมบูรณ์และทันสมัย โดยจะต้องแสดงความคิดริเริ่ม และประสบการณ์อันก่อให้เกิดความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชการอย่างเห็นได้ชัด สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้.."

หากสมมติฐานคือ  "ชาดำเย็น" คือคุณลักษณะตำราที่ดี "ในการขอตำแหน่ง" แล้ว  ทำอย่างไรให้เป็นตำราที่ดี "ในการเป็นตัวแทนอาจารย์" ด้วย ??

เอ..หรือเราควรเป็นอาจารย์แบบ "ชาดำเย็น"

หมายเลขบันทึก: 452641เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 03:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

super Tea and very Black and very Cold

แปลว่า เมื่อเราเขียน "ตำรา" เสร็จ เราซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่อยากอ่านเลย และเมื่อนักศึกษาเรียนจบแล้วในภาคเรียน ก็นำมาใส่ไว้ในหมอนและนอนหนุนหัว หลับพริ้ม ;)

เพราะ "เขา" (ใครสักคน) ยึดเป็นแบบแผนของสังคมการเขียนตำราวิชาการว่า มันต้องมีกรอบแบบนี้ ต้องทำแบบนี้ ต้องเขียนแบบนี้ แล้วฉันจะให้ "ผ่าน" ถ้าไม่เขียน "ลำบาก" แล้ว อิ อิ

กรอบวิชาการบางอย่าง มันวัดคุณค่าของความดีหรือความเป็นคนไม่ได้หรอกคุณหมอ

ทำใจบ่ !

ขอบคุณครับ ชอบจังความคิดแบบนี้ ;)...

ศัพท์ทางนวัตกรรมการศึกษา เรียกว่า Resistant ;)...

ศัพท์ทางนวัตกรรมการศึกษา เรียกว่า Resistant

น่าจะมีตำแหน่ง Resistant professor นะคะ ;-)

ชอบแนวการเขียนบันทึกคุณ patama มาก สะท้อนสังคมดี ที่ รร. มีอาจารย์บางท่านที่ทำผลงานวิชาการ ไม่ผ่าน เพราะ ไม่ได้ดื่ม ชา ดำ เย็น ส่วนอีกหลายท่ายๆ ท่าน ผ่านฉลุย ด้วย การดื่ม ชา ดำ เย็น ดังนั้น ผลสรุป จากการที่ สมศ. เข้ามาตรวจ (อาจารย์ 3 เต็ม รร. ไปหมด แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเด็กต่ำ)


คุณครูคะ คงขอยืมคำคุณ wasawat "ทำใจบ่" :-) 
อย่างไรเสีย ตำราต่างๆ ก็คงทดแทนคุณครู อาจารย์ ตัวจริงเสียงจริง ไม่ได้คะ

ขอมอบตำแหน่ง Resistant professor ให้คุณหมอ CMUpal อย่างเป็นทางการครับ

แหม ดูเหมือนจะไม่มีใช่ม้า คุณหมอ CMUpal ;)...

อ่านแล้วยิ้มเลยครับ เพราะกำลังเขียนอยู่เรื่องหนึ่งพอดีและได้รับข้อเสนอแนะว่าให้หั่นออกไปให้เหลือสัก ๑ ใน ๓ เพราะว่าเป็นตำราให้เด็กป.ตรีอ่าน เลยอาจจะต้องพิจารณาปลีกย่อยเพิ่มบ้างอีกนิดหน่อยนะครับว่าชาดำเย็นแบบเข้ม หรือแบบกลางๆ หรือแบบอ่อนๆ


เป็นกำลังใจให้คะอาจารย์
เชื่อว่า ชาดำเย็น นั้นมีประโยชน์
ขณะเดียวกัน จะทำอย่างไรให้ "รสกลมกล่อม" ด้วย
เป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์แต่งตำราคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท