GotoKnow

เรือนจำในออสเตรีย

นาย วัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย)
เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2554 15:09 น. ()
แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2555 20:40 น. ()
เรือนจำ ทัศนคติ

เรือนจำในออสเตรีย

 

 

      นักศึกษาหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่สอง (ยธส.2) กระทรวงยุติธรรม ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานที่ เรือนจำ Justizanstalt Wien-Simmering ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

      เรือนจำแห่งนี้น่าสนใจมากครับ เพราะใช้เป็นที่คุมขังนักโทษเด็ดขาดที่ต้องโทษจำคุก 5-6 ปี ภายในเรือนจำนอกจากจะมีกิจกรรมต่างๆ แล้ว เขาได้เน้นให้นักโทษเรียนรู้วิชาชีพต่างๆ มากมาย อาทิช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างก่อสร้าง การทำขนมปัง ฯลฯ ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว การฝึกอาชีพต่างๆ เหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับสังคมบ้านเรามากนัก

       แต่ที่แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญคือ

       1.ที่พักเป็นห้องหับเป็นสัดส่วนส่วนตัว มีสวัสดิการที่ดีด้านการเรียนรู้จากสื่อทีวี วิทยุ หนังสือ ที่จัดบริการไว้ครอบคลุมทั่งถึง

        2.มีสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้งและมีห้องฟิตเน็ตที่พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์ครบครัน

        3.ได้สิทธิพิเศษในการออกไปทำงานกับหน่วยงานภายนอกอย่างเป็นอิสระในลักษณะไปเช้ากลับเย็น โดยรายได้นั้นนอกจากจะเพื่อการประกันสังคม เพื่อเข้าระบบสวัดิการภายในเรือนจำแล้ว อีกส่วนจะเป็นรายได้ที่นักโทษเก็บไว้ใช้เอง

         ประการทั้งหลายเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน สิทธิส่วนบุคคลที่ยังได้รับการดูแลคุ้มครองและส่งเสริม ภายใต้การหมดเสรีภาพเพราะกระทำความผิด ทั้งยังอยู่ในหลักการที่น่าสนใจคือ การคืนคนเหล่านี้สู่สังคม ด้วยวิธีการให้ออกไปทำงานภายนอก ซึ่งเป็นการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันทั้งผู้ออกไปและผู้รับเข้าทำงาน

          ถามว่าสังคมไทยเรา จะก้าวไปถึงจุดนี้ได้หรือไม่ คำตอบสำเร็จรูปคือ ต้องใช้เวลาและการปรับทัศนคติของคนในสังคมทั้งหลายว่า เรารับแนวคิดเช่นนี้ได้หรือไม่ 

          

คำสำคัญ (Tags): #ทัศนคติ 
สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน


ความเห็น

โสภณ เปียสนิท
เขียนเมื่อ

มาเรียนรู้เรื่องเรือนจำบ้านเขา

คราวหน้าเอาเรือนจำบ้านเรานะครับ

วราภรณ์
เขียนเมื่อ
  • เห็นด้วยกับอาจารย์โสภณค่ะ
  • เรือนจำบ้านเราหากดีเหมือนบ้านเขานักโทษคงแย่งกันไปอยู่นะคะ...
  • ขนาดเบียดเสียดยัดเยียดยังไม่พอคุมขัง....
    แปลกนะคะ "ประตูวัดเปิดกว้างไม่ใครเข้า  ประตูคุกปิดกั้นทุกหนทางก็พยายามจะเข้าไป"
  • ขอบพระคุณบันทึกดี ๆ ค่ะ
krugui
เขียนเมื่อ

เป็นบ้านเรานะเหรอ คงมีคนแย่งกันเป็นนักโทษมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

แล้วพอปล่อยให้ไปทำงานข้างนอกได้เขาก็จะหายไปเลย....

Pojana Yeamnaiyana Ed.D.
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ'ครูหยุย'

แปลกแต่จริงภาพลักษณ์คุกเมืองไทยน่ากลัวมาก คุกที่แคนาดาลักษณะเหมือนสถานที่ราชการทั่วไป เพราะเห็นธงชาติปลิวไสวแต่ไกล ตัวอาคารและตึกต่างๆทาสีขาว มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมดูร่มรื่นดี แต่ตั้งอยู่ไกลจากถนนมาก ที่นี่สถานที่ต่างๆและบ้านอยู่อาศัย จะตั้งอยู่ริมๆถนน มีตรอกซอกซอยบ้างแต่ไม่ลึกและซับซ้อนมากนัก

ใยไหม
เขียนเมื่อ

กรมราชทัฑณ์เจ้าของหลักสูตรนี้ คิดเช่นไร ??

... ความแตกต่างของ คน สังคม วัฒนธรรม ความรับผิดชอบ มุมมอง เป็ยปัจจัยที่ทำให้ทำเหมือนเค้าลำบาก

อ.โสภณครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือน เรื่องเรือนจำไทยจะหาโอกาสพรรณนาถึงในโอกาสต่อๆ ไปครับ

ธรรมทิพย์ให้ข้อคิดน่าพิจารณามาก ประตูวัดเปิดกว้างคนไม่ค่อยเข้า ประตูเรือนจำปิดกั้นหนาแน่นคนยังทะลักเข้า เฮ้อ

ครูไก่ครับ อย่างไรผมก็เชื่อว่าแม้สวัสดิการจะดีเพียงใด ถ้าไร้อิสระภาพ คนไม่น่าจะเข้าไปอยู่นะครับ

ดร.พจนาครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลจากแคนาดามากครับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทัศนคติของฝรั่งมังค่ากับไทยเรายังแตกต่างกันมากในเรื่องนี้

ที่ ใยไหม วิเคราะห์ด้านความเป็นสังคมไทยไปเทียบเคียงกับเขานั้น เห็นคล้ายกันว่า ทำให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นยากในบ้านเรา

gannigar
เขียนเมื่อ

ขอบคุณบันทึกที่ดีดีคะ เป็นเนื้อหาที่อยากรู้มานานแล้วคะ อยากได้เห็นภาพเพิ่มเติมได้ไหมคะ

ณัฐรดา
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ

ตั้งใจจะมอบดอกไม้ แต่ไม่สำเร็จ

เลยกล่าวสวัสดียามเช้าแทนค่ะ

อากาศเปลี่ยนแปลง รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

กรรณิการ์ครับ ภาพเพิ่มเติมหาได้ด้วยการเข้าเว๊บ Justics น่้าจะมีอยู่หลายภาพ

ขอบคุณมากครับ ณัฐสบายดีนะครับ ระลึกถึงเสมอ

ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆ ในสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ที่มีประสบการณ์ในเรือนจำครับ

ขอบคุณ ดร.ป๊อบ ที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ

อยากทราบที่อยู่ค่ะ
เขียนเมื่อ

เรือนจำJustizanstalt Wien-Simmering ไม่ทราบว่าสถานที่ตั้งอยู่ส่วนใหนในออสเตรียค่ะ อยากรู้จิงๆๆค่ะ

อยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปนิด รายละเอียดสอบถามไปที่กระทรวงยุติธรรมจะทราบได้ชัดเจนครับ

แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ

มาบ่อยๆ นะครับยอดนักประชาสัมพันธ์ฯ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย