โครงการศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์


ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงตำบลช้างขวา

 

ความรู้ทางวิชาการหรือแนวคิดที่ใช้ในการดำเนินการ 

                การดำเนินงานขยายผล โครงการศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ        อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นการต่อยอดโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงตำบลช้างขวา                     โดยมีคณะกรรมการระดับอำเภอได้คัดเลือกศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงตำบลช้างขวา ยกระดับ      เป็นศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์

ตามยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตรยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มุ้งเน้นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และการขยายโอกาส ส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน              ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้เสริมภายใต้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้  และเป็นไปตามเจตนารมของโครงการให้ศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและขยายผล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เกษตรกรในอำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำรินำมาขยายผลชี้นำแนวทางการดำรงอยู่และการประกอบอาชีพของเกษตรกรในหมู่บ้าน ตำบล ของอำเภอกาญจนดิษฐ์      มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีของเกษตรกร มีความรู้ ความรอบคอบในการระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนในการปฏิบัติงาน มีสำนึกในคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน อดกลั่นขยันหมั่นเพียร มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                 การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตของเกษตรกรในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีต้นทุนการผลิตสูงมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงต้องปรับระบบการทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาวะการตลาดในปัจจุบัน โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ครอบครัวเกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน มีหลัก ๓ ประการดังนี้

                                ๑. การลดรายจ่าย

 เพื่อเป็นการประหยัด ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และเป็นผลดีต่อสุขภาพ เป็น          งานอดิเรกที่สร้างความสัมพันธ์ของครอบครัว มีเวลาได้ปรึกษาหารือ พูดคุยกัน และเป็นการใช้       ทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนทำให้เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายได้อีกทางหนึ่ง ในส่วนของสมาชิกศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนาตำบลช้างขวา โดยขอใช้ที่ดินทำนาจากนายทุนจำนวน ๑,๔๐๐ ไร่ ซึ่งเป็นที่นาผืนสุดท้ายที่เหลืออยู่ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ เพื่อประกอบอาชีพทำนาไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นลดรายจ่ายจากการที่ต้องซื้อข้าวสารมาบริโภค มีสมาชิกเข้ารวมกลุ่ม ทั้งหมด จำนวน ๙๙ ราย มีการ จัดตั้งกลุ่มสาธิตการทำนา ให้กับ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในอำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้รู้วิถีชีวิตของชาวนา

                                ๒. การเพิ่มรายได้

                                การเพิ่มรายได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในครัวเรือนมาเพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น    ในชุมชน สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย ในส่วนของสมาชิกศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิต          ข้าวซ้อมมือของตำบลช้างขวา เป็นจุดสาธิตในการผลิตข้าวซ้อมมือ เพื่อจำหน่ายข้าวซ้อมมือสร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับเกษตรกรและศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอระดับอำเภอ กาญจนดิษฐ์ มีสมาชิกกลุ่ม จำนวน ๒๐ ราย 

                                ๓. การขยายโอกาส

                                จากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน โดยการร่วมมือสร้างอาชีพ        ที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถรวมตัวกันจัดหาตลาด      แหล่งเงินทุน และเครือข่ายในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน สมาชิกศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้มีการทัศนศึกษาดูงานกลุ่ม และศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ          ที่ประสบความสำเร็จ นำมาทดลองปฏิบัติพบว่ามีกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ และเป็นอาชีพเสริมของสมาชิกศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ 

กิจกรรมแรกคือ การเลี้ยงหมู เป็นการเลี้ยงแบบหมูหลุม  มาพัฒนาการเลี้ยงโดยใช้   การสร้างคอกแบบกึ่งพัฒนาแบบง่าย ๆ นำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นวัสดุรองพื้นคอก เช่นแกลบ    ซังข้าว ขุยมะพร้าว เพื่อลดการอับชื้นของคอก ลดการเกิดโรค โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายวัสดุรองพื้น และลดกลิ่นเหม็นของคอกเลี้ยง การเลี้ยงหมูหลุมเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับสมาชิกครัวเรือนหนึ่ง ๆ ประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาทต่อคอกใช้เวลาประมาณ ๔ - ๕  เดือน แล้วแต่ชนิดของหมู     ที่เลี้ยง เช่น หมูพันธุ์ลูกผสม หมูพื้นเมือง หมูลูกผสมพันธุ์หมูป่า รายได้ที่ได้ส่วนใหญ่ได้จากปุ๋ยหมัก    ที่รองคอกหมูหลุม ตกประมาณ กิโลกรัมละ ๓ บาท ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีสมาชิกกลุ่มเลี้ยงหมูหลุม จำนวน ๒๐ ราย จัดตั้งเป็นสาธิตการเลี้ยงหมูหลุม จำหน่ายหมู และปุ๋ยหมักจากการเลี้ยงหมูหลุม ซึ่งมีความต้องการจากผู้บริโภคจำนวนมาก    หมูที่ได้มีคุณภาพดีปลอดสารเคมี ปุ๋ยที่ได้เป็นปุ๋ยคุณภาพดีราคาถูก

                                กิจกรรมที่สอง สมาชิกส่วนใหญ่ ของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์  ประกอบอาชีพเกษตร การปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น มีการจัดตั้ง  กลุ่มเพาะพันธุ์กล้าไม้จำหน่าย มีสมาชิกจำนวน ๒๐ ราย เป็นการส่งเสริมโครงการธนาคารต้นไม้ของอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเป็นการเพาะขยายพันธุ์และอนุรักษ์ไม้พื้นเมืองให้อยู่คู่กับท้องถิ่นของ        อำเภอกาญจนดิษฐ์ และเป็นส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

ขั้นตอนการดำเนินการ

                การดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีการประชุมแต่งตั้งคณะทำงานระดับตำบล ระดับอำเภอ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เกิดกับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด มีการบูรณาการหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วน ตั้งเป็นจุดสาธิตขยายผลและให้บริการเกษตรกรในพื้นที่ตำบลช้างขวาและตำบลอื่น ๆ ของอำเภอกาญจนดิษฐ์ ในระดับพื้นที่มีการแบ่งหน้าที่ของสมาชิกตามความถนัดทางด้านการประกอบอาชีพ

                ๑. การเตรียมความพร้อมระดับตำบล

                   ๑.๑ ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล      ช้างขวา กำหนดคุณสมบัติหลักเกณฑ์ของผู้ที่สมัครเป็นสมาชิก และคณะกรรมการ ของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกายจนดิษฐ์

                   ๑.๒ คัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ ที่ประชุมมีมติ ใช้ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงตำบลช้างขวา เป็นศูนย์ขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                   ๑.๓ แต่งตั้งคณะทำงานศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับตำบล

                   ๑.๔ รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการ

                   ๑.๕ คัดเลือกคณะการศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ            อำเภอกาญจนดิษฐ์

                   ๑.๖ คณะกรรมการและสมาชิกประชุมกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับของศูนย์เรียนรู้     โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์

                ๒. การดำเนินงานระดับตำบล        

                   ๒.๑ ประชุมจัดทำแผนการปฏิบัติงานของศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์

                   ๒.๒ จัดทำแผนการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ให้มีประสิทธิภาพ ตามศักยภาพของพื้นที่

                การระดมความคิด (Brain Storming) เป็นการระดุมความคิด   มีกระบวนการอย่างสร้างสรรค์ของการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดแนวทาง แนวคิด ใหม่ ๆ หลากหลาย ทางเลือก สำหรับนำไปใช้ประโยชน์และแก้ปัญหา มีการใช้วิเคราะห์ข้อมูลตามความต้องการของสมาชิกโดยส่วนใหญ่  โดยใช้ SWOT analysis ดังนี้

                                ๒.๑.๑ จุดแข็ง (S : Strength)

                                                - สมาชิก มีความถนัดในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้านพืช ประมง     ปศุสัตว์ และการจัดการดินที่เหมาะสมกับพื้นที่

                                                - มีหน่วยงานของรัฐอยู่ในพื้นที่

                                                - มีพื้นที่เหมาะสมกับการทำการเกษตร

                                ๒.๑.๒ จุดอ่อน (W : Weakness)

                                                - ขาดผู้นำในการประสานงานกับภาครัฐ

                                                - ขาดเงินทุนในการดำเนินการ

                                ๒.๑.๓ โอกาส (O : Oppwrtunity)

                                                - สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ให้การสนับสนุน

                                                - หน่วยงานของรัฐและเอกชนให้การสนับสนุน

                                ๒.๑.๔ อุปสรรค (T : Threat)

                                                - นโยบายของภาครัฐไม่ต่อเนื่อง

                การจัดทำแผนความต้องการของสมาชิกศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   ระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ดำเนินการกิจกรรมตั้งจุดสาธิตในการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากจากพราชดำริ

                                ๒.๓ จัดซื้อปัจจัยการผลิต ตามแผนความต้องการของสมาชิก ตามระเบียบของโครงการ

                                ๒.๔ อบรมถ่ายทอดความรู้ตามแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินงานเป็นไปตามหลักวิชาการในการปฏิบัติ แต่ละจุดสาธิต

                                ๒.๕ ประสานหน่วยงานที่มีความถนัดในแต่ละด้าน พร้อมงบประมาณให้การสนับสนุนศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์

                                ๒.๖ ประเมินผลการปฏิบัติ ร่วมกับหน่วยภาคีเพื่อพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ในปีต่อไป

                                ๒.๗ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ส่งประกวด ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับจังหวัด และระดับเขต

                ๓. การดำเนินงานระดับอำเภอ

                   ๓.๑ แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์

                   ๓.๒ ประสานหน่วยงานภาครัฐ ให้การสนับสนุนงานวิชาการ งบประมาณ ตั้งจุดสาธิตของหน่วยงาน

                   ๓.๔ สร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ ในอำเภอครบทุกตำบล

                   ๓.๕ ประชาสัมพันธ์ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอกาญจนดิษฐ์ โดยจัดงาน “วันชาววนาไทย” ตำบลช้างขวา สืบสานประเพณีอันดีงามและชมนิทรรศการ ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับอำเภอ อำเภอกาญจนดิษฐ์

 

หมายเลขบันทึก: 452158เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2011 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท