เจาะลึก EdPEx : เป็นเลิศด้วยเครื่องมือการจัดการ


เจาะลึก EdPEx : เป็นเลิศด้วยเครื่องมือการจัดการ

EdPEx Insight : Being Excellence by Management Tools

 

คุณพัฒนชัย  กุลสิริสวัสดิ์

กรรมการผู้จัดการ  กลุ่มบริษัท  ชัยบูรณ์บราเดอร์ส

โดย  สำนักงานประกันคุณภาพ  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

          ผมได้มีโอกาสไปฟังปาฐกถาพิเศษ  “เจาะลึก EdPEx : เป็นเลิศด้วยเครื่องมือการจัดการ”  ที่สำนักงานประกันคุณภาพ  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จัดขึ้น  โดยได้รับเกียรติจากคุณพัฒนชัย  กุลสิริสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ  กลุ่มบริษัท  ชัยบูรณ์บราเดอร์ส  มาเป็นวิทยากร

          การเข้าร่วมรับฟังครั้งนี้  เรียกได้ว่าได้ประโยชน์อย่างมหาศาล  ทั้งความรู้  และแนวคิดใหม่ (อาจจะแค่สำหรับผม)  ในการใช้เครื่องมือ ที่เรียกว่า  EdPEx  หรือ  เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ  ในที่นี้ขอเก็บเอาความรู้  แนวคิด  และประสบการณ์  ในประเด็นที่สำคัญๆ มาเล่าสู่กันฟัง

 

คุณภาพของผลิตภัณฑ์  บริการ  สัมพันธ์กับ  คุณภาพของการจัดการ 

          การควบคุมคุณภาพ  (Quality Control)  ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน  ลูกค้าพอใจ

          การจัดการคุณภาพ  (Quality Management)  ลูกค้าประทับใจ  (อาจจะกลับมาใช้สินค้า / บริการอีก)

          การสร้างสรรค์คุณภาพ  (Quality Creation)  ลูกค้าติดใจ  (กลับมาใช้สินค้า / บริการอีก  และบอกต่อ)

 

องค์กรที่ยั่งยืน 

          วิทยากรได้ให้แนวคิดไว้ว่า  องค์กรที่ยั่งยืน  ต้องเป็นองค์กร  ดร.ถก  นั่นคือ

          ด = ดี  คน & ผลิตภัณฑ์ / บริการ

          ร = เร็ว  กว่าที่ลูกค้าคาดหวัง

          ถ = ถูก  คุ้มค่าคุ้มราคา

          ก = เก่ง  มีความรู้  ทักษะ  ความสามารถ  สมรรถนะ

          สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ  การปลูกฝังให้คนในองค์กรเป็น  ดร.ถก  บอกกล่าวทุกวันว่า  ดี  เร็ว  ถูก  เก่ง  ทุกคนในองค์กรก็จะเป็นเช่นนั้น  แต่ถ้าวันหนึ่ง  เราบอกว่า  ช้าๆได้พร้าเล่มงาม  บอกกล่าวบุคลากรทุกวัน  สุดท้ายท้ายองค์กรก็จะเป็นเช่นนั้น

 

ประโยชน์ที่ได้รับของการนำเกณฑ์  EdPEx เข้ามาประยุกต์ใช้

-  เห็นโอกาสที่จะปรับปรุง

-  มุ่งเน้นในเรื่องที่สำคัญ

-  การปรับปรุงงานไปในทิศทางเดียวกัน

-  กระตุ้นให้พนักงานตื่นตัวและใส่ใจมากขึ้น

-  การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลในองค์กรดีขึ้น

-  ผลิตภัณฑ์และบริการที่ให้ลูกค้าดีขึ้น

-  ประสิทธิผลและความสามารถขององค์กรดีขึ้น

-  ผลการดำเนินงานดีขึ้น

 

          ประเด็นที่สำคัญในการนำเกณฑ์ EdPEx ไปประยุกต์ใช้  ต้องเข้าใจคำถามของเกณฑ์ว่า  ถามอะไร  ถามอย่างไร

วิธีการอ่านเกณฑ์ 

          1. อภิธานศัพท์  (หน้า 207 – 253)

          2. คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหมวดและหัวข้อ  (หน้า 117 – 179)

          3. โครงร่างและเกณฑ์  (หน้า 15 – 97)

          4. หมายเหตุ  (อธิบายคำหรือข้อกำหนดของแต่ละหัวข้อให้ชัดเจน,  แนะนำวิธีการตอบในแต่ละหัวข้อของเกณฑ์,  ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงกับหัวข้ออื่นๆ)

          * (เครื่องหมายดอกจันทร์)  หมายถึงการตอบในประเด็นนั้นให้พิจารณาตามความเหมาะสม

          วิธีการอ่านให้อ่าน 1 ไปหา 4  อ่านแล้วไม่เข้าใจ  ให้กลับไปอ่านใหม่  อ่านซ้ำไปซ้ำมาเป็น  100  200  รอบ  หรือจนกว่าจะเข้าใจ  ในการอ่านเกณฑ์  ให้ถามตัวเองเสมอว่า

          1. คำถามนี้  ถามมาทำไม  ไม่ถามได้หรือไม่  ถามแล้วได้ประโยชน์อะไร

          2. หากเราต้องเป็นผู้ตอบคำถามนี้  เราจะตอบคำถามนี้อย่างไร

 

คำถาม  “อะไร”  และ  คำถาม  “อย่างไร”

          อะไร 

          1. ถามถึงสาระสนเทศพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการที่สำคัญ  และวิธีปฏิบัติ

          2. ต้องการสารสนเทศว่า  ผลงาน  แผนงาน  วัตถุประสงค์  หรือตัววัดที่สำคัญ  ขององค์กรคืออะไร

          อย่างไร 

          ถามถึงวิธีการ  การตอบควรให้สารสนเทศของกระบวนการที่สำคัญที่แสดงถึง

แนวทาง

Approach

ต้องเป็นแบบ DR.MP

การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ

Deployment

เขียนไว้ให้ใช้

การเรียนรู้

Learning

เขียนไว้ให้ปรับปรุง

การบูรณาการ

Integration

เป็นทองแผ่นเดียวกัน

ลักษณะที่ดีของ “แนวทาง”  (DR.MP)

1. Definable  ชัดเจน  ใช้งานได้สะดวก  กำหนดความต้องการที่สำคัญของกระบวนการ  โดยใช้ข้อมูลจาก SH

2. Repeatable สามารถปฏิบัติซ้ำได้

3. Measurable สามารถวัดได้

4. Predictable สามารถคาดการณ์ผล

 

จุดประกายคิด 

          เราไม่ได้ทำ  “การจัดการคุณภาพ”  คนเดียว  แต่  ทั่วโลกต่างก็ทำกัน

          ยอมเสียเวลาแค่ 3 – 4 ปี  เพื่อทำ Flow Chart  กระบวนการ  ดีกว่า  คอยการแก้ปัญหาไปวันๆ

          EdPEx  ไม่ใช่ให้ใครทำ  แต่ต้องทำแบบทั่วทั้งองค์กร

          ต้องร่วมกัน  สร้างและปฏิบัติ  สอบเพื่อเรียน  เรียนเพื่อสอบ  เรียนเพื่อเรียน

          EdPEx  ไม่ได้บอกวิธีการที่ตายตัว

          EdPEx  เป็นข้อสอบ  มีแต่คำถามชี้นำแต่ไม่ได้ชี้แนะ  (เพื่อประเมินตนเอง  และพบโอกาสในการเรียนรู้)

          EdPEx  ครอบคลุมทุกกระบวนการขององค์กรที่ต้องการเป็นเลิศในการจัดการ

 

โดย...ดินสอสี  น้ำเงิน

คำสำคัญ (Tags): #edpex
หมายเลขบันทึก: 452081เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2011 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท