ความอ้วน สิ่งธรรมดาๆ ที่ก่อให้เกิดภาระโรค


ถ้าคุณ หรือคนที่คุณดูแล มีลักษณะ “อ้วน” โปรดระวัง
เพราะมีหลายๆ งานวิจัยที่เห็นพ้องว่า การมีร่างกายที่อ้วนเกินไปนั้น
เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถึงแม้ว่าไขมันจะเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
แต่การที่มีไขมันมากเกินไปนั้น ย่อมมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนี้

คนอ้วนมีสิทธิจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนผอม
เหตุมาจากระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น
เนื่องจากมีการสะสมของไขมันที่ไปอุดตันเส้นเลือด
ถ้าตันน้อยๆ ก็จะเกิดเส้นเลือดขอด แต่ถ้าไปอุดแถวเส้นเลือดที่สมอง
ก็มีสิทธิเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

ความดันโลหิตที่สูงมากเกินไปในคนอ้วน เมื่อสะสมอาการไปนานๆ
ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และอาจพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

จากสถิติพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 20 ขึ้นไป
จะมีโอกาสหัวใจวายมากกว่าคนผอม ถึง 3เท่า
...


...

มวลน้ำหนักไขมันที่ทับถมหนักขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้คนอ้วนเป็นโรคที่เกี่ยวกับข้อได้มากกว่าคนผอม โดยเฉพาะข้อสะโพก
ข้อเข่า ข้อเท้า เพราะข้อเหล่านี้จะต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ

และเมื่อต้องเคลื่อนไหว คนอ้วนต้องใช้พลังงานที่มากขึ้น เพื่อเคลื่อนที่ร่างกาย
ทำให้เหนื่อยง่าย และระบบหัวใจไหลเวียนโลหิตทำงานหนัก

ศูนย์วิจัยโรคมะเร็งอังกฤษระบุว่า ความอ้วนเป็นตัวการใหญ่ที่สุด
ที่ทำให้สตรีวัยทองเป็นมะเร็งเต้านม ตามข้อมูลแสดงว่า
เนื้อร้ายของมะเร็งเหล่านี้ เป็นพวก “ไวกับฮอร์โมน”
หมายความว่า เจริญเติบโตขึ้นมาได้เพราะฮอร์โมน
และพวกไขมันที่สะสมอยู่ในตัวมากนี่เอง ที่สร้าง “ฮอร์โมน” เหล่านี้กันขึ้น
(ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน และฮอร์โมนเพศชายเทสโตสเตอโรนอ)


...

ในปี 2551 จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าเด็กไทยอายุ 2-18 ปี
จำนวน 17.6 ล้านคน เป็นโรคอ้วนร้อยละ 8
และกลุ่มวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ร้อยละ 9 ซึ่งเป็นวัยที่เป็นโรคอ้วนมากที่สุด
เกิดจากพฤติกรรมการขาดการออกกำลังกาย ชอบนั่งดูทีวี
หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ทั้งวัน และยังบริโภคอาหารประเภทขนมกรุบกรอบ
น้ำหวาน อาหารสำเร็จรูปเกินจำเป็น

การรักษาสุขภาพนั้น อย่าไปมองแค่อุบัติเหตุ สุรา บุหรี่ สิ่งธรรมดา ง่ายๆ
เช่น ความอ้วน ก็เป็นสาเหตุสำคัญ และหลังจากอ่านข้อมูลในขั้นต้นนี้
ก็น่าจะคิดได้แล้ว ว่ามันสำคัญมาก

เรามั่นใจว่า การดูแลตนเองไม่ให้อ้วนนั้น
ง่ายกว่าการรักษาโรคทั้งหลายที่เกิดจากความอ้วน
ดูแลสุขภาพของตนเองในวันนี้ เพื่ออนาคตที่แข็งแรง ลดภาระโรคของประเทศไทย

 

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

อ้างอิง 

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/23499
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/01/29/entry-1
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/2098




หมายเลขบันทึก: 452042เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2011 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท