การวิเคราะห์เมตาเกี่ยวกับการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์


การวิเคราะห์เมตาจะช่วยให้เราทราบว่าผลงานวิจัยที่มีอยู่มีผลการวิจัยไปในทิศทางไหน และเราสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ได้

ได้อ่าบรายงานวิจััััยเกี่ยวกับการวิเคราะห์เมตาในการจัดการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานแล้วเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์บ้าง เพราะปัจจุบันในการเรียนการสอนโดยเฉพาะการสอนเสริมจะมีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก

เรื่อง การวิเคราะห์เมตาเรื่องประสิทธิผลของการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในสาขาพยาบาลศาสตร์

A Meta-Analysis on the Effectiveness of Computer- Based Education in Nursing

Kook Hee Roh, RN, PhD1; Hyeoun-Ae Park, RN , PhD2

1 Previous Assistant Professor, Kunsan College of Nursing, Gunsan; 2 College of Nursing/Research Institute of Nursing Science, Seoul National University, Seoul, Korea

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิผลการศึกษาระหว่างการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์กับวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมของพยาบาลเช่น การบรรยาย การใช้หนังสือ ตำรา

วิธีการ ใช้วิธีค้นหาข้อมูลจากข้อมูลทางการแพทย์และพยาบาลเพื่อหาประสิทธิผลการเรียนในสาขาพยาบาลสาสตร์โดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ โดยคำนวณขนาดของอิทธิพลในตัวแปรผลลัพธ์ 3 ตัวได้แก่ความรู้ เจตคติและทักษะปฏิบัติ วิเคราะห์จากผลการศึกษาต่อคุณลักษณะที่มีต่อตัวแปรผลลัพท์

ผลการศึกษา มีจำนวนรายงานวิจัยตั้งแต่ค.ศ. 1990 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009จำนวน 27 เรื่องที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด นำรายงานวิจัยมาวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์เมตาแสดงให้เห็นว่าการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน มีผลดีต่อความรู้ เจตคติและทักษะ โดยมีขนาดของอิทธิพล 0.43, 0.35 และ 0.34 ตามลำดับ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าประเภทของผู้เรียน ระยะเวลาในการศึกษา มีผลแตกต่างกันต่อความรู้

สรุป ผลการวิเคราะห์เมตา พบว่าการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในสาขาวิชาชีพพยาบาลมีผลดีต่อความรู้ เจตคติและทักษะ

ความสำคัญ

                ปัจจุบันการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน (CBE) เป็นวิธีที่ใช้ทดแทนวิธีการแบบเดิมเช่น การบรรยาย การใช้หนังสือ CBE ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนที่ใช้ข้อมูลข่าวสารและการติดต่อซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่การนำเสนอภาพนิ่งที่ไม่ซับซ้อนจนถึงภาพเสมือนจริง ลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของ CBE คือสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถให้การศึกษามาตรฐานได้อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่มีตัวแปรอื่นมาแทรกซ้อน ซึ่งข้อเสียอย่างหนึ่งของการเรียนรู้แบบเดิมคือการที่ผู้เรียนต้องเข้าไปนั่งฟังบรรยาย ตามสถานที่และเวลาที่กำหนดไว้ และมักไม่ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง (self-paced learning)

                การจัดการเรียนการสอนทางสาขาวิชาชีพพยาบาลมักใช้การเรียนที่ไม่ใช้วิธีแบบเดิม เช่น การใช้วิดีโอ หรือใช้คอมพิวเตอร์ มามากกว่าสองทศวรรษ มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ CBE กับการเรียนรู้แบบเดิม การศึกษาเหล่านี้แบ่งออกเป็น ประเภทของผู้เรียนที่อาจเป็นนักศึกษาพยาบาล, พยาบาล, ผู้ป่วย หรือคนอื่นๆ สำหรับการศึกษาในนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับ CBEและประสิทธิผลเช่น การสอนเกี่ยวกับการดูแลพยาบาล การลดความเครียดและวิตกกังวลในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช การฉีดยาทางกล้ามเนื้อ และการฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ซึ่งสรุปว่า CBE มีประสิทธิภาพดีด้านความรู้ ทักษะ เจตคติต่อการเรียนรู้ และการเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีหลายการศึกษาที่ศึกษาประสิทธิผล CBE ในการปฏิบัติการพยาบาล แล้วพบว่ามีผลดีต่อระดับความรู้และเพิ่มการพัฒนาทักษะได้ดีกว่า เช่น การฝึกการใช้เครื่องช่วยหายใจ ทักษะการป้องกันการติดเชื้อ

                อย่างไรก็ตามไม่สามารถบอกได้ว่า CBE มีประสิทธิภาพดีกว่าการสอนแบบเดิม จึงต้องใช้วิธีการวิเคราะห์เมตา ที่มีการวิเคราะห์ทางสถิติการวิจัยแต่ละเรื่อง

                วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเรียนแบบ CBE เปรียบเทียบกับการสอนแบบเดิมโดยศึกษาใน 3 คำถาม คือ 1) CBE มีประสิทธิผลอย่างไรต่อผลลัพท์การเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ เจตคติต่อการเรียน และทักษะปฏิบัติ 2) CBE มีประสิทธิผลเฉพาะต่อผลลัพท์การเรียนรู้หรือไม่ 3) ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว CBE มีประสิทธิผลมากที่สุดหรือไม่ CBE ในการศึกษาครั้งนี้ จำกัดในประเภทการสอนในการสอนที่เป็นโปรแกรมเฉพาะในคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต การเรียนการสอนแบบเดิมหมายถึง การสอนที่มีการบรรยายที่พบหน้ากัน ตำรา หนังสือเล่มเล็ก โบร์ชัวร์ หรือการอภิปราย

วิธีดำเนินการวิจัย

                ใช้การวิธีการวิเคราะห์เมตา ที่ระบุแหล่งที่มาของการศึกษา (locating studies) การเข้ารหัส

(coding study features) และ ผลลัพธ์ (quantifying outcomes)

1.แหล่งที่มาของการศึกษา (locating studies)

                ขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์เมตาคือการค้นหางานวิจัย เลือกงานช่วงคศ. 1990-2009 ค้นจากฐานข้อมูล OVID, PubMed, and Proquest, and three Korean electronic literature databases such as RISS by Korea Education and Research Information Service, Research Information Center for Health (RiCH), and Korean  Studies Information Service System (KISS) คำสำคัญที่ใช้ค้นหาคือ ‘computer’, ‘nursing education’, ‘computer education in nursing’, ‘knowledge’, ‘learning attitude’, and ‘practice performance’

เกณฑ์ในการเลือกงานวิจัย คือ 1) เป็นการศึกษากับนักศึกษาพยาบาล, พยาบาล, ผู้ป่วย หรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่ใช้การวิจัยกึ่งทดลองหรือวิจัยแบบทดลอง (quasi-experimental or experimental design) 2) การวิจัยมีการเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้เช่น ความรู้ เจตคติต่อการเรียนรู้ และทักษะ3) พยาบาล เป็นผู้ทำวิจัยหรือผู้วิจัยร่วม 4) สถิติที่ใช้แบบพรรณนาหรือแบบอ้างอิงมีความเป็นไปได้

                การค้นหารายงานวิจัยได้ทั้งหมด 49 เรื่อง 11 เรื่องถูกคัดออกในเบื้องต้นเนื่องจากระเบียบวิธีวิจัยไม่ใช่ กึ่งทดลองหรือวิจัยแบบทดลอง อีก 7 เรื่องถูกคัดออกเนื่องจากผลลัพธ์การเรียนรู้ไม่ตรงตามกำหนดหรือไม่ใช่พยาบาลเป็นผู้ทำหรือร่วมทำวิจัย อีก 4 เรื่องเนื่องจากใช้สถิติที่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์โดยเมตาได้ คงเหลืองานวิจัยจำนวน 27 เรื่อง

2.  การอธิบายผลการศึกษา (Description of studies)

                2.1 ศึกษาคุณลักษณะ (Study characteristics) ในการประเมินหรือเข้ารหัสประกอบด้วยการเผยแพร่ได้แก่ สถานที่และปีที่เผยแพร่ ประเภทผู้เรียนได้แก่ นักศึกษาพยาบาล, พยาบาล, ผู้ป่วย และคนอื่น ลักษณะของการศึกษา เช่น ขนาดของกลุ่มตัวอย่างและช่วงเวลาการศึกษา ดังนั้นจึงแบ่งลักษณะของงานวิจัยดังนี้ สถานที่เผยแพร่ แบ่งเป็นเกาหลีกับนอกเกาหลี ปีที่เผยแพร่ 1990-1999และหลังปี 2000 ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้เรียน ระยะเวลาการศึกษา ตัวแปรผลลัพธ์คือ ความรู้ เจตคติ ทักษะปฏิบัติ

                2.2 ผลลัพธ์การศึกษา ตัวแปรผลลัพธ์คือ ความรู้ เจตคติ ความสามารถในการปฏิบัติทำให้อยู่ในรูปตัวเลข

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

                การศึกษาครั้งนี้คำนวณขนาดอิทธิพล (effect size) แต่ละตัวแปร งานวิจัยที่มีการทดลองและมีกลุ่มควบคุมคำนวณ effect size จาก ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยที่ไม่มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะคำนวณ   effect size จาก สถิติเช่น t, F ใช้วิธีของ Song (2002), Lipsey and Wilson (2001) การศึกษาบอกทิศทาง+ , -

                สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Comprehensive Meta-Analysis, ver. 2.0 การทดสอบสถิติใช้ two-tailed test  ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ทุกงานวิจัยจะศึกษาความต่างของผลงานวิจัย (Heterogeneity) ก่อนที่จะคำนวณหาขนาดอิทธิพลโดยใช้ Q Test ของ Cochran (1954) ใช้ The binomial effect size display (BESD) (r) คำนวณหาความแตกต่างผลลัพท์ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ใช้ Fail-safe N suggested by Rosenthal and Rosnow (1999) เพื่อค้นหาอคติในการเผยแพร่ ในการคำนวณไม่สามารถคำนวณเรื่องประเภท CBF เนื่องจากไม่มีรายงานวิจัย

ผลการวิจัย

                รายงานผลการวิจัยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ขนาดและผลทั้งหมดของ CBE ต่อความรู้  เจตคติ ทักษะปฏิบัติ และผลของ CBE ต่อความรู้  เจตคติ ทักษะปฏิบัติ ในด้านประเภทผู้เรียนและระยะเวลาการเรียน

                1. คุณลักษณะของการศึกษาทั่วไป (General Characteristics of Studies)

                พบว่างานวิจัย 14 เรื่องเผยแพร่ในเกาหลี ร้อยละ 85.2 เผยแพร่หลังปี 2000 มีงานวิจัยสิบเรื่องที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 80 มี 21 เรื่องที่ใช้ CAI มี 10 เรื่องที่มีระยะเวลาในการศึกษาน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ 26 เรื่อง เจตคติ 6 เรื่อง และทักษะปฏิบัติ 11 เรื่อง หลังจากทดสอบความแตกต่างกันมีงานวิจัยเกี่ยวกับความรู้ จำนวน 7 เรื่อง เจตคติ 2 เรื่อง และทักษะปฏิบัติ 3 เรื่อง ถูกคัดออก

                2. ผลทั้งหมด (Overall Effects)

                    2.1 ขนาดอิทธิพลต่อผลลัพท์ ต่อความรู้ในงานวิจัย 19 เรื่องเท่ากับ 0.42 แสดงว่าประสิทธิผลของ CBE มีผลขนาดระดับปานกลางกลางต่อความรู้ BESD (r) แสดงความแตกต่างความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 0.21 แสดงถึงกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้ CBE มีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมร้อยละ 21 มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบเดิม ขนาดอิทธิพลต่อเจตคติในงานวิจัย 4 เรื่องเท่ากับ 0.35 แสดงว่าประสิทธิผลของ CBE มีผลขนาดเล็กต่อเจตคติ BESD (r)เท่ากับ 0.17 แสดงว่า CBE เพิ่มระดับเจตคติร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่เรียนแบบเดิม  ขนาดอิทธิพลต่อทักษะปฏิบัติในงานวิจัย 8 เรื่องเท่ากับ 0.34 แสดงว่าประสิทธิผลของ CBE มีผลขนาดเล็กต่อทักษะปฏิบัติ BESD (r)เท่ากับ 0.17 แสดงว่า CBE เพิ่มระดับเจตคติร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่เรียนแบบเดิม

                2.2 Effect size of major outcome measures by study characteristics

การศึกษาพบว่าขนาดอิทธิพลของ CBE ระดับใหญ่ที่สุดในด้านความรู้ในงานวิจัย 9 เรื่องที่ศึกษาในนักศึกษาพยาบาลเท่ากับ 0.30 ศึกษาในผู้ป่วยสี่เรื่องเท่ากับ 0.77 ขนาดอิทธิพลของ CBEต่อเจตคติที่ศึกษาในนักศึกษาพยาบาลเท่ากับ 1.01 ขนาดอิทธิพลของ CBEต่อทักษะปฏิบัติ ที่ศึกษาในนักศึกษาพยาบาลเท่ากับ .18  

การอภิปรายผล

                การวิเคราะห์เมตาครั้งนี้พบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนมีผลระดับเล็กแต่มีนัยสำคัญทางบวกในการสร้างความรู้ เจตคติ และทักษะปฏิบัติ ด้วยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.42, 0.35, 0.34

 การวิเคราะห์เมตาครั้งนี้พบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนของพยาบาลมีผลขนาดใหญ่มากกว่าการเรียนแบบเดิม ถึงแม้ว่าขนาดอิทธิพลจะมีขนาดเล็ก ผลของ CBE ต่อความรู้มีขนาดเล็กกว่าเจตคติ และทักษะปฏิบัติ ประเภทของผู้เรียนและระยะเวลาในการศึกษามีผลแตกต่างต่อระดับความรู้ การวิเคราะห์ตาพิสูจน์ว่า      CBE มีประสิทธิผลและเป็นวิธีการสอนที่สามารถใช้ทดแทนการสอนโดยการบรรยาย และใช้ตำรา

 เอกสารอ้างอิง

Roh, K.H.& Park, H.A. (2010). A Meta-Analysis on the effectiveness of Computer-Based Education in nursing. Healthc Inform Res.September,16(3): 149-157.

หมายเลขบันทึก: 451816เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2011 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท