กรอบแนวคิดในการวิจัย


กรอบแนวคิดในการวิจัยจะช่วยให้ผู็วิจัยมีมโนทัศน์ที่ชัดเจนมากขึ้น

กรอบความคิดการวิจัย (Conceptual framework)

ในการทำวิจัยสักเรื่อง ผู้วิจัยจะเริ่มจากการที่มีคำถามเกิดขึ้นและมีความต้องการค้นหาคำตอบ เมื่อผู้วิจัยพยายามศึกษาค้นคว้า ทบทวนงานวิจัยเดิม ทฤษฎีและข้อค้นพบต่างๆ การที่มีทฤษฎีรองรับในระยะแรกก่อนที่ทำการวิจัยเราเรียกว่า Intermediate theory ซึ่งหากเราทำการวิจัยแล้วเราจะสามารถยืนยันทฤษฎีเดิมหรือปรับปรุงจนได้ทฤษฎีใหม่ ซึ่งกรอบความคิดการวิจัย (Conceptual framework, Theoretical framework) เป็น Intermediate theory ชนิดหนึ่งที่จะช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์หรือตัวแปรที่เราต้องการค้นหาหรือต้องการคำตอบได้แก่ ปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมาย การทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธี การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล จะเห็นได้ว่ากรอบแนวคิดในการวิจัยมีความสำคัญที่เป็นแผนที่ที่จะทำให้ผู้วิจัยเดินตามทางที่กำหนดไว้ ซึ่งรูปแบบของการกำหนดกรอบความคิดการวิจัยมีหลายอย่างขึ้นอยู่กับปัญหาหรือคำถามการวิจัย

กรอบแนวคิดการวิจัย  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 

ชนิดของกรอบความคิดการวิจัย

  1. Working hypothesis  กรอบความคิดการวิจัยอาจอยู่ในรูปแบบของสมมติฐาน(ชั่วคราว) ซึ่งเมื่อมีการวิจัยที่เก็บข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจเปลี่ยนเป็นแบบอื่น
  2. อยู่ในรูปแบบของการบรรยาย (Descriptive catehories)
  3. รูปแบบการคิดเชิงปฏิบัติ (Practical ideal types)
  4. รูปแบบเชิงปฏิบัติการ (Model of operations research)
  5. สมมติฐานที่เป็นทางการ
  6. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง   
  7. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ที่ผู้วิจัยศึกษามา
  8. กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเองที่มาจากประสบการณ์ หรือการศึกษาค้นคว้ามาอย่างดี

แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย

  1. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง   
  2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ที่ผู้วิจัยศึกษามา
  3. กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเองที่มาจากประสบการณ์ หรือการศึกษาค้นคว้ามาอย่างดี

ความสำคัญของกรอบความคิดในการวิจัย 

  1. ทำให้ผู้วิจัยเกิดมโนทัศน์ในการวิจัยที่ชัดเจน
  2. เป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน
  3. เป็นเครื่องมือในการวางแผนการดำเนินงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบและมีขั้นตอน
  4. เป็นแนวทางในการพัฒนาทฤษฎีใหม่

การสร้างกรอบความคิดในการวิจัย 

  1. ศึกษาแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาความรู้ในทฤษฎีนั้นๆ ให้มากพอ จนสามารถคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงและสังเคราะห์จนได้ข้อมูลสำคัญ
  2. นำข้อมูลสำคัญเหล่านั้นมาทำเป็นรูปแบบหรือตัวแบบ (Model)เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ผู้วิจัยควรตรวจสอบอย่างมั่นใจว่าตัวแปรที่ได้นั้นมีความสำคัญและสามารถทำให้เกิดความรู้ใหม่
  3. พิจารณาความสอดคล้องของกรอบแนวคิด ซึ่งอาจให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

วิธีการสร้างกรอบความคิดในการวิจัยอาจเขียนใน 2 ลักษณะ

  1. ประเด็นที่ได้จากการสรุปมาจากการที่ผู้วิจัยศึกษามาจากแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัย ผลงานการเขียนต่างๆ
  2. กำหนดจากกรอบทฤษฎีต่างๆที่มีอยู่แล้วเช่น กรอบทฤษฎีของบลูม กรอบแนวคิดการพยาบาลของรอย กรอบแนวคิดการพยาบาลของคิง

วิธีการเขียนกรอบความคิดในการวิจัย  

  1. เขียนแบบบรรยายต่อเนื่องกันโดยไม่แยกหัวข้อ ความยาวของการเขียนประมาณ 1 หน้ากระดาษ
  2. เขียนเป็น แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์และทิศทางระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งนิยมเขียนโดยนำตัวแปรตามที่ต้องการศึกษาหรือปัจจัยไว้ทางขวามือสุดของปลายลูกศร โคนลูกศรเขียนตัวแปรต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 451815เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2011 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท