บทบาทของพระสังฆาธิการมี ๖ งาน คือ
๑.งานปกครอง ๒ งานแผยแผ่ ๓ งานศึกษา ๔ งานสาธารณูปการ
๕ งานศึกษาสงเคราะห์ ๖ งานสาธารณสงเคราะห์
ในหกงานนี้ที่พระสงฆ์ต้องมีบทบาทกับชุมชนโดยอาศัยงาน ๖ งานนี้เข้าไปพูดคุยกับชุมชนได้ เพราะพระสงฆ์ต้องมีงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับ บวร. อยู่แล้ว ดังนั้นจึงอาศัยงานเหล่านี้ในการทำกิจกรรมกับชุมชนสังคม ในเขตหมู่บ้านของตนเอง
ดังนั้นคณะสงฆ์ในชุมชนตำบลอุดมทรัพย์จึงได้ทำงานเกี่ยวกับเรื่องสาธารณสงเคราะห์ กับชุมชนเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องการดูแลผู้ป่วยทางจิต เพราะวัดนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยจิตเวชอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าวัดจะมีบุคคลประเภทนี้เข้าไปอาศัยหรืออยู่ด้วยเพราะว่าผู้ป่วยทางจิตนี้ได้มีที่กินที่หลับที่นอน เบ็ดเสร็จในวัด พระสงฆ์กับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช (ผีบ้า) (ในที่นี้จะไม่ขอเขียนว่าคนบ้าหรือผีบ้า)เพราะผู้ป่วยจิตเวชเขาไม่ชอบในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยจิตเวชหรือที่เราเรียกว่าคนบ้านั้น มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะวัดเพราะวัดแต่สมัยก่อนเกือบจะพูดได้ว่า วัดเป็นโรงพยาบาล วัดเป็นโรงเรียน วัดเป็นอบต. วัดเป็นศาลในการตัดสิน แม้แต่เป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่เดียวนี้วัดได้หมดบทบาทเรานี้จากสังคม จนเกือบหมด จึงมีคำพูดหนึ่ง ของพระครูประโชติสังฆกิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยพรหมท่านเป็น พระนักพัฒนา ในชุมชนอำเภอวังน้ำเขียว ได้พูดไว้ว่า พระเหมือนดอกไม้หน้าศพ พอเสร็จงานแล้วก็ถูกทิ้ง ดังนั้นการได้มีเจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ได้มาพูดคุยกับท่านในเรื่องของให้ท่านช่วยดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของท่าน ท่านจึงได้ตอบตกลง แต่จะไม่ขอเอาผู้ป่วยมาไว้ที่วัดแต่จะของให้อยู่กับชุมชน (ครอบครัว) สังคม ท่านจึงได้เรียกคนในชุมชนมาประชุมทำประชาคมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละท่าน ในที่นี้จะเขียนถึงบทบาทพระสงฆ์กับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
ในชุมชนตำบลอุดมทรัพย์พระสงฆ์มีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยได้แบ่งบทบาทต่างๆไว้ในชุมชน
พระสงฆ์ มีบทบาทในการกระตุ้น ปลุกจิตสำนึกของแกนนำชุมชน และประชาชนให้มีเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วยจิตเวช ประสานความร่วมมือ และบริหารจัดการ กระจายบทบาทหน้าที่ให้แก่แกนนำชุมชนและครอบครัวเพื่อให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
โดยใช้กิจกรรมที่ได้จากแนวความคิดนี้มาดูแลผู้ป่วยจิตเวชและประชุมประชาคมผู้นำชุมชน ในการดูแลผู้ป่วย จึงได้เกิดแนวคิดแบบ ชุมชนบำบัด หรือเกิดแนวคิดการเอาปัญหานำวิชาการ ซึ่งจุดชนได้ข้อคิดจาก ราชการที่จะเอาความรู้เรื่องโรคจิตเวชเรื่องสมุนไพร เป็นต้นมาให้ชุมชนแต่ชุมชนก็จะบอกว่าทำอย่างไรจะให้ ๒ คนนี้อยู่ร่วมกันได้ คือญาติกับผู้ป่วยจิตเวช จึงได้เกิดกิจกรรมการลงไปเยี่ยมบ้าน การค้นหาผู้ป่วย การนำผู้ป่วยไปรักษา (ต่อไปมีโอกาสจะมาเล่าเรื่องกิจกรรมเรานี้ว่าได้อะไรจากการเยี่ยมบ้าน ได้อะไรจากการนำผู้ป่วยไปรักษา)แม้แต่คำพูดของผู้ป่วยจิตเวชประโยคหนึ่งว่า อะไรก็หมอๆๆๆถามว่าหมอตายเป็นไหม จึงเป็นแนวทางที่ทำให้ชุมชนได้ตระหนักกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช แบบชุมชนบำบัดจึงเกิดกระบวนการ ส่งเสริม ดูแล ฟื้นฟู และการใช้ภูมิปัญญาประเพณีวัฒนธรรมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตำบลนี้ นี้เป็นส่วนหนึ่งและบทบาทหนึ่งของพระสงฆ์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บอกว่าเขาบ้า แต่ในความที่บอกว่าเขาป่วยนี้แหละจึงเกิดทำให้คิดได้ว่า การทำงานกับผู้ป่วยจิตเวชนี้มีความสุขกว่ากับการทำงานปกติ เพราะผู้ป่วยจิตเวชที่เราบอกว่าน่ากลัวแท้ที่จริงไม่น่ากลัวอย่าที่คิดถ้าเราให้โอกาสเขาเรานั้น ผู้ป่วยจิตเวชนั้นเขาไม่ต้องการให้เราสงสารหรือเวทนาแต่เขาต้องการขอโอกาสให้เขามีพื้นที่ได้พูดคุยโอกาสที่จะเดินในชุมชนสังคม และขอให้เรายอมรับเขาบ้างก็เพียงพอ จึงอยากฝากให้ชุมชนสังคมอย่าตีตราผู้ป่ายจิตเวชว่าบ้า (เรียกวาว่า ผีบ้าไอ้บ้า)ถามว่าทำไมผู้ป่วยจิตเวชไม่ออกสู่ชุมชนสังคมหล่ะ ก็เพราะอะไรถ้าไม่ใช้คำว่าคนบ้าไอ้บ้า เหมือนกับบอกว่าถ้ามีคนมาถามว่าคุณเป็นคนบ้าเราจะรู้สึกอย่างไรถ้ามีคนมาว่าอย่างนั้น จะคบกับคนๆนั้นไหม นี้ก็เหมือนกันเหตุที่ผู้ป่วยจิตเวชไม่ออกสู่สังคมเพราะว่าเราไปว่าเขาบ้านั้นเองและก็มองว่าครอบครัวนั้นบ้าไปด้วย จึงอยากให้ชุมชนสังคมให้โอกาสเขาเหล่านั้นเหมือนอย่างชุมชนนี้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช นี้เป็นภาพของผู้ป่วยจิตเวชในได้รับการฟื้นฟูจากชุมชนและให้โอกาสเขาเห็นความสำคัญของเขาว่าผู้ป่วยจิตเวชพัฒนาได้
นี้เป็นภาพการซ้อมกลองยาว ผู้ป่วยจิตเวช โดยคนในชุมชนเป็นครูสอน
ภาพการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นภาพที่ผู้ป่วยไปแสดงที่เมืองทองธานี เป็นภาพที่ใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วยและผู้ป่วยสามารถพัฒนาได้
ชื่นชมยินดีด้วยครับ ที่พระสงฆ์ได้สร้างบทบาทดี ๆ ให้กับสังคม สมกับคำว่าผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ
ความดี แม้จะเสี้ยวหนึ่งน้อยนิด แต่ทว่าทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ขออนุโมทนาบุญครับ