๑๗๔.นิทานปรัชญาเรื่องลาโง่ ตอน เมื่อภาพลวงตาจางไป ภาพภายในใจก็ปรากฏชัด


“ดีละเราจะถือโอกาสที่เป็นวิกฤติทางโลกธรรม ๘ นี้ (ได้ลาภ-เสื่อมลาภ, ได้ยศ-เสื่อมยศ, สุข-ทุกข์, นินทา-สรรเสริญ) เพื่อกำหนดจิตภายในให้ผ่าคลื่นกระแสแห่งโลกธรรมนี้ไปให้ได้ โดยการกำหนดจิต สังเกตความเป็นไปแห่งใจ ตามดูพฤติกรรมของมันไป ว่าจิตใจดิ้นรนแค่ไหน? จิตย่อมรับสภาพได้มากน้อยเพียงใด? จิตขวนขวายเพื่อแสวงหาใหม่หรือกระหายไปต่อหรือไม่? เป็นการฝึกจิต ข่มใจเพื่อให้เข้าใกล้ “สัจจะ” มากกว่า “สิ่งอันเป็นสมมติ” ที่ผู้คนโหยหาและต้องการ

 

            กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ลาตัวหนึ่ง เมื่อเข้ามาสู่ฝูงใหม่ ๆ ได้รับความไว้วางใจจากคณะเจ้าแห่งฝูง  ให้เป็นหัวหน้าอยู่ฝั่งขวาแห่งบึงน้ำวนที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน  แต่ภาระนั้นเข้ามาไวมากเกินไปแทบไม่ทันตั้งตัว เรียกว่าแทบจะโดยฉับพลันก็ว่าได้ จากนั้นมาเจ้าลาตัวนี้ก็ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้พร้อมกับมีผลงานค่อย ๆ ทยอยออกมาหลากหลายรูปแบบ

 

            เมื่อเวลาผ่านไปกว่าทศวรรษ ลาตัวนี้ก็คิดว่า “ชีวิตของเรานี้มันสั้นเหลือเกิน งานที่ตั้งใจไว้ก็ยังไม่สำเร็จดังประสงค์ ประกอบกับงานส่วนตัวก็มีมากขึ้นๆ รอการสะสางอยู่อีกไม่ใช่น้อย หากมัวแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นของหนักและเป็นของส่วนรวมนี้ นั้นคงไม่เข้าท่าแน่ ! และภาระงานนั้นก็เป็นงานประจำที่มีแต่งานซ้ำซากจำเจ

 

     แม้จะทำเท่าไหร่ งานก็ไม่รู้จักจบสิ้นสักที ชนิดที่ว่าปัญหาเก่าจากไป ปัญหาใหม่เข้ามา ปัญหาเมื่อ ๓-๔ ปีที่แล้ว ก็วนเวียนกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งเป็นปกติของภาระงานประจำที่พึงจะมีเหมือน ๆ กัน! อย่างไรเสียควรปล่อยโอกาสให้ลารุ่นต่อไปได้ทำงานแสดงฝีมือบ้าง? นอกจากนี้แล้วยังใช้เวลาที่ว่างเพื่อพักผ่อน และทำในสิ่งที่ตนเองรัก ตลอดจนถึงการแสวงหาสิ่งที่ตนเองค้นหามานานแสนนานแล้ว นั้นคือความเป็นอิสรภาพทางใจ”  ว่าแล้ว เจ้าลาตัวนี้ก็วางภาระลงจริง ๆ อย่างที่ลาในฝูงคาดไม่ถึง

 

            เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นดังนั้น ข่าวลือก็แพร่กระจายออกไปต่าง ๆ นานา ทั้งในแง่ดีและไม่ดี บางก็เล่าแบบมีเหตุผลซึ่งถือเป็นบัณฑิตของฝูง บางก็เล่าแบบหนักๆ ถือว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีข้อมูลปะติดปะต่อแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ  บางก็ยิ่งกว่านั้นคือตีไข่ใส่ข่าวซึ่งถือว่าเป็นพาลประจำฝูงลา บอกมาแค่เก้าแต่เล่าไปเสียตั้งสิบก็มี ซึ่งเป็นธรรมดาของโลกธรรม ๘ ประการ  บรรดาลาตัวอื่น ๆ ต่างเสียดายต่างถามไถ่กันไปด้วยความห่วงใยยิ่ง เมื่อได้ทราบความจริงต่างก็สรรเสริญ แต่ก็มีลาหลายตัวแอบดีใจนิด ๆ ที่หนทางเปิดให้ในหลาย ๆ มิติ   ตั้งแต่นั้นมาเจ้าลาตัวนี้ก็ถูกตราหน้าว่า  “เจ้าลาโง่

 

            อย่างไรก็ตามเจ้าลาโง่ตัวนี้  กลับคิดว่า “ดีละเราจะถือโอกาสนี้อยู่เหนือวิกฤติทางโลกธรรม ๘ นี้ (ได้ลาภ-เสื่อมลาภ, ได้ยศ-เสื่อมยศ, สุข-ทุกข์, นินทา-สรรเสริญ) เพื่อกำหนดจิตภายในให้ผ่าคลื่นกระแสแห่งโลกธรรมนี้ไปให้ได้ โดยการกำหนดจิต พิชิตความท้าทาย ด้วยการสังเกตความเป็นไปแห่งจิต เพ่งพินิจดูพฤติกรรมของมันไป 

 

     จะทำให้รู้ว่า จิตดิ้นรนแค่ไหน? จิตย่อมรับสภาพได้มากน้อยเพียงใด? จิตขวนขวายเพื่อแสวงหาใหม่หรือกระหายไปต่อหรือไม่?  เป็นการฝึกจิต ข่มใจเพื่อให้เข้าใกล้ สัจจะ”  มากกว่า  “สิ่งอันเป็นสมมติ” 

 

เมื่อภาพลวงตาได้จางไป 

ภาพภายในใจก็ปรากฏชัด!

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 450993เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นมัสการ,

The tale reminded me of 'years in an investigative unit - looking for abuses of public properties and making ways to detect and punish offenders quicker'. After a while, it became clear that people are very innovative - they invent new ways to abuse other people's rights and properties. The war is full of battles - a tit-for-tat game where total elimination is not a legal option.

That was many years ago. People say 'give in', 'cop out', and 'not persevere' lead to 'failures'.

We have not learned to stop the 'origin' of abuses - people and 'the things' for people to abuse. Take one away, the whole war would stop. We can see the problem: for people to quash their 'wants' and for 'objects of wants' to go away.

It's all in our minds.

เจริญพรขอบคุณที่ท่านอาจารย์ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น

ทำให้ได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท