Kindle สร้างนักอ่านได้จริงหรือ..


  หลายท่านคงได้รู้จักเจ้า "Kindle" กันมาไม่มากก็น้อย และหลายท่านอาจมีไว้ครอบครองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..บางคนก็กำลังตัดสินใจเปรียบเทียบกับ Ipad สำหรับบันทึกนี้ เนื่องจากผู้เขียน ไม่เคยเป็นเจ้าของ Ipad, Iphone จึงไม่อยู่ในฐานะช่วยให้ข้อมูลได้
  แต่ขอเล่าประสบการณ์ใช้ และมุมมองว่าอุปกรณ์ตัวนี้ จะทำให้คนไทยกลายเป็นนักอ่าน และกรุงเทพเป็น World book capital ของ UNESCO (ที่เรากำลังถอนตัว?) ได้หรือไม่..

        

"Kindle" เป็นยี่ห้อแรกๆ ของเครื่องอ่านหนังสืออิเลกทรอนิกส์ (E-reader) ทำให้ชื่อติดหู เรียกแทน E reader ไปเลย เหมือน "มาม่า", "แฟ้บ" etc.. ผลิตโดยบริษัทขายหนังสือ online เจ้าใหญ่ "Amazon"..ที่จริงแล้ว ยังมีคู่แข่งอย่าง "Nook" ของบริษัท Barns & Nobles, "Kodo" ของบริษัท Borders, "Sony" เป็นต้น..
 เมื่อซื้อเครื่องของบริษัทใด ก็ต้องอ่าน ebook ที่จำหน่ายของบริษัทนั้น 

เข้าเรื่องเลยดีกว่าว่า ตกลงแล้ว Kindle น่าจะสร้างนักอ่านได้ไหม

Pro: 

1. ความสะดวกสบายในการเข้าถึงหนังสือ : ปัจจุบันเครื่องอ่านมี wifi ในตัว เราจึงสามารถเข้าไปเลือกในร้าน online แล้วดาวน์โหลดลงมาในเครื่องในเวลาไม่กี่นาที..ไม่ต้องเดินทางไปร้านหนังสือ ไม่ต้องกังวลเรื่องซื้อมาแล้วต้องหาที่เก็บ และส่วนมาก Ebook มักถูกกว่าหนังสือเล่ม (แต่หนังสือมือสองมักถูกกว่า Ebook)

2. ความสะดวกในการอ่าน : เมื่อเปรียบเทียบการถือหนังสือ 500 หน้า หนัก 1 กก. บ้างก็กว้างลมตีทีแทบปลิว.. กับการถือเครื่องอ่าน หนัก 0.2 กก.ขนาดประมาณฝ่ามือผู้ใหญ๋ แล้วอย่างหลังย่อมสบายกว่า..ในขณะที่หนังสือเล่มพลิกคว่ำหงาย ที่อ่านไว้หายไปไหนก็ไม่รู้ ต้องหาที่คั่นกระดาษมาเสียบ.. เครื่องอ่านจะค้างไว้หน้าที่เราอ่าน แม้จะปิดเครื่องหรือเข้าไปหนังสือเล่มอื่น..อีกจุดหนึ่งที่เป็นข้อดี เวลาเอาเครื่องไปอ่านในสวนสาธารณะ เพราะไม่เห็นปก คนจึงไม่รู้ว่าเรากำลังอ่านเรื่องอะไร ( แหม..คนนี้ทำไมชอบอ่านนิยายฆาตกรรมอำพราง..)

3. ลูกเล่นในการอ่าน : ทั้ง Kindle book และไฟล์ PDF สามารถเลือกให้แสดงความหมายด้วย dictionary ได้, สามรถขีดเส้นใต้ได้, ส่งข้อความให้ไปปรากฎใน facebook หรือ twitter ได้.  แต่ Kindle book ดีกว่า PDF ตรงการจัดหน้าและขนาดตัวอักษรให้พอดี และสามารถให้เครื่องอ่านตัวหนังสือไปเรื่อยๆ (text to speech) แต่เป็นการอ่านแบบ monotone จึงฟังน่าเบื่อกว่าหนังสือแบบ audiobook.
นอกจากอ่านหนังสือแล้ว มันยังสามารถเข้าเวบไซต์ "บางเวบ" ได้..แต่การเข้าเวบนั้นช้า การเลือกคลิกต่างๆ ไม่ค่อยสะดวกนัก เนื่องจากไม่เป็นระบบ touch screen เหมาะกับการเข้าเวบแนวอ่านนานๆ เอาความรู้ อย่าง wikipedia หรือ gotoknow ก็ได้ -- ภาษาไทยในเวบอ่านได้ไม่มีปัญหาคะ แต่ต้องขยายหน่อยถึงจะอ่านรู้เรื่อง

4. สมาธิในการอ่าน : ด้วยเหตุที่เครื่องอ่านไม่สามารถพลิกแบบต้นเรื่อง 3 หน้าแล้วกระโดษไปท้ายเรื่อง ได้สะดวกเหมือนหนังสือเล่ม จึงเป็นการดัดนิสัยใจร้อนนี้ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แต่ละหน้าของเครื่องอ่านมีจำนวนตัวอักษรไม่มาก จึงทำให้รู้สึกว่าอ่านจบแต่ละหน้าเร็ว..เรื่องความสบายตาดีกว่าอ่านในคอมพิวเตอร์ และอาจดีกว่ากระดาษหนังสือบางเจ้าด้วยซ้ำ

 
*****
มาดูข้อแย้งกันบ้าง 

Con
1. หนังสือที่ทำในรูปแบบ Kindle ยังมีแต่หนังสือภาษาอังกฤษเท่านั้น ส่วนมากเป็นหนังสือในกระแสที่ติดอันดับขายดี หนังสือ textbook บางเล่มมีบางเล่มไม่มี 

2. สิ่งที่ร้านค้าหนังสือมี แต่ online ไม่มี :  หลังจากบริษัท Borders ได้ปิดตัวร้านขายหนังสือที่เป็นเล่มลง ก็มีเสียงวิพากษ์ว่า เพราะการเข้ามาของการขายหนังสือ online ทำให้พนักงานกว่า 10,000 ชีวิตตกงาน -- เราจะไม่ได้เห็นบรรยากาศ คนที่มาซื้อหนังสือประเภทเดียวกัน ยืนสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นอีกต่อไป หรือ พนักงานขายทักทายลูกค้าเจ้าประจำ อีกต่อไป..

3. อาจทำให้คนที่ "ขี้เกียจ" บางส่วนมาสนใจอ่านมากขึ้น (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) แต่ปัญหา คนที่อยากอ่านแต่ไม่มีกำลังที่หาหนังสือมาอ่าน นั้นยังมีอยู่จริง ซึ่งคงแก้ไม่ได้ด้วยเครื่องอ่านนี้ นอกจากจะมีนโยบายแจก Kindle (พูดเล่นนะคะ)

4. หนังสือ Kindle ของบริษัท Amazon อ่านได้เฉพาะในเครื่องใครเครื่องมัน ซื้อแล้วจะให้ยืมต่อหรือ ขายมือสอง ไม่ได้เหมือนหนังสือเป็นเล่ม..แต่ดูเหมือนหนังสือ Nook สามารถให้กันยืมได้

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของเทคโนโลยีนี้น่าจะถูกลงเรื่อยๆ สำหรับในประเทศต้นกำเนิดอย่างอเมริกา กลายเป็นของธรรมดา ใครๆ ก็จับต้องได้เหมือนการมีโทรทัศน์สักเครื่อง..สำหรับบริบทประเทศที่ข้าวแกงจานละ 5 เหรียญเป็นอย่างต่ำ การซื้อ Ebook 10 เหรียญเป็นของแสนถูก (แต่ก็ยังแพงในความรู้สึกผู้เขียน ที่ยังชอบตีเป็นเงินไทยจนถึงทุกวันนี้).. คงต้องจับตากันต่อไป ว่าจะส่งอิทธิพลการอ่านมาถึงบ้านเราได้หรือไม่คะ

*******
update 30 ก.ค.54

ใน con ข้อ 4 นั้น ต้องขอแก้ไขว่า ตอนนี้ Amazon ได้เพิ่มคุณสมบ้ติการให้ยืม (lending) โดยผู้ที่ซื้อ ebook สามารถส่ง email ให้แก่ผู้รับ ตัวผู้รับ ebook สามารถอ่านโดย kindle หรือ free kindle reader (ประมาณ PDF acrobat reader) ทั้ง PC หรือ Mac ได้..แต่ยังทำได้เฉพาะบางเล่มเท่านั้น
 
..ในอนาคตอันใกล้มีโครงการ kindle library ให้บุคคลทั่วไปสามารถยืม ebook จากห้องสมุดได้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 450610เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 05:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

Kindle and ebook readers will be 'norm'.

Manufacturing cost of these devices are very low. Only marketing strategies and 'profit margins' keep the unit price high.

Some ebooks will come at high cost and with strings of intellectual properties protection.

But, free ebooks are everywhere. Gotoknow.org has a good collection.

A search for 'free ebook' on the Net reveals millions.

What we need is some [free] ebook readers and reviewers who help separate 'good' from 'rubbish'.

[The same problem we also have in Gototknow.org -- 'good among rubbish' wastes resources [and time] and erodes the 'Gotoknow' brand. [Gotknow keepers know what I talk about ;-) ]

..เมื่อกี้เพิ่งดาวน์โหลดหนังสือฟรี รุ่นสมัยคุณปู่ 1930's มา..ส่วนมากหนังสือฟรีเป็นพวกเก่า (แต่เก๋า) ที่หมดลิขสิทธิ์แล้ว มีให้เลือกเยอะมากจนต้องตัดสินใจว่าคุ้มกับเวลาอ่านมันหรือเปล่า..

 ..เป็นกำลังใจให้ gotoknow keepers ด้วยคน.. ยังไงเสีย brand นี้ก็ยังถือเป็น "Oasis" ที่มีความเป็นมิตร อบอุ่น ท่ามกลาง forum/webboard ที่ถูกใช้ที่ระบาย "มูล" อารมณ์คะ 

Kindle เป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนที่เป็น"นักอ่าน"อยู่แล้ว

จากสื่อกระดาษมาเป็นสื่ออิเลคทรอนิกส์

เป็นการเพิ่มความสะดวกสบายในการเสาะหา เก็บรักษา แบกหาม ฯลฯ

แน่นอนครับสำหรับคนที่มีสตางค์มากพอเท่านั้น

คงไม่ต่างจากคนที่ขี่จักรยานเป็นอยู่แล้วมีเสือภูเขาเพิ่มจากจักรยานจ่ายกับข้าวคันเก่า

"นักอ่าน" น่าจะเริ่มจากความ "อยากอ่าน" ซึ่งก็ควรต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก

เริ่มจากการหัดขี่จักรยานที่มีล้อช่วยฝึก (Training Wheels)

มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ "อยากอ่าน" เพื่อที่จะเป็น "นักอ่าน" แต่ไม่มีโอกาส

 

ไม่น่าเชื่อ..ประเทศนี้มีองค์การมหาชนมากจนจดจำชื่อได้ไม่ไหว

ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงน่าจะมีเกือบสิบแห่ง

มีงบสร้างห้องสมุด ซื้อหนังสือไว้กลางเมืองแห่งละนับสิบ นับร้อยล้านบาท

แต่ที่กระเซ็นออกไปถึงเด็กที่ขาดโอกาส...แทบไม่มี

ผมเคยกลั้นน้ำตาไม่อยู่ที่ได้เห็นเด็กๆเหล่านี้ค่อยๆใช้ชายเสื้อมอมๆของพวกเขา ปาดฝุ่นออกจากหนังสือที่ภาคเอกชนบริจาคมาให้ไม่กี่เล่มอย่างทนุถนอม..

..ก่อนเปิดอ่านอย่างกระหาย

วันนี้พวกเขามีความหวังที่จะได้อ่านหนังสือมากมายไม่จำกัดในรูปแบบ e-book

ก็ไม่ใช่"นักอ่าน"ที่มีปัญญาครอบครอง Kindle นี่หรือครับที่กำลังต่อต้านอยู่ ?

ชื่นชมคุณ Lungnoke ที่เห็นความสำคัญของการอ่าน ของเด็กที่ขาดโอกาสคะ

...

การเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ธรรมดาที่สิ่งเดียวกันถูก "มองคนละด้าน ตีความคนละมุม" คะ

เพราะเรายังไม่ทันเห็นมันรอบด้าน

...

เท่าที่ฟังจากคุณ Sr ถ้าค่่าอุปกรณ์จริงๆไม่มาก แต่หนักที่การโปรโมทและสร้างกำไร

ก็ดูจะเป็นไปได้ หากรัฐตกลงจ้างบริษัทผลิต รับสัมปทาน (อย่างโปร่งใส)

  • ไม่เคยใช้เลยครับ
  • ชอบอ่านจากหนังสือ
  • สงสัยอายุมากแล้ว
  • ปวดยาย ฮ่าๆๆ
  • แต่น่าสนใจมาก

ปวดยาย..:-)

จริงๆแล้วอ่านแล้วไม่ปวดตานะคะอาจารย์

แต่ปวดนิ้วมากกว่า เพราะต้องกดเปลี่ยนหน้าบ่อยๆ

หนังสือจริงก็มีเสน่ห์ มีกลิ่นอักษร..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท