ทำวิจัยเพราะสนุก



          บทบรรณาธิการเรี่อง Rekindling Japan's Spirit  ลงพิมพ์ในวารสาร Science ฉบับวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๕๔   เขียนโดยศาสตราจารย์ Yoshiko Takahashi แห่ง Nara Insitute of Science and Technology  บอกคุณค่าของ inspiration - led research
 
          แต่สภาพการณ์ในญี่ปุ่นในปัจจุบันไม่เอื้อ ไม่ส่งเสริม ให้คนที่รักชีวิตนักวิจัย ได้ทำงานวิจัย ตามความใฝ่ฝันของตน   มุ่งแต่ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
 
          ผู้เขียนได้เล่าว่า ยุคเฟื่องฟูทางศิลปวิทยาของญี่ปุ่นคือ Edo Period (1603 - 1868) เป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นปลอดสงครามทั้งภายในและภายนอกประเทศนานกว่า ๒๕๐ ปี   ทำให้มีโอกาสสร้างสรรค์ศิลปะวิทยาการอย่างมากมาย   เช่นยาสลบขนานแรกของโลกก็ได้ค้นพบ โดยศัลยแพทย์ชื่อ Seishu Hanaoka (1760 - 1835)   และเป็นผู้ทำการผ่าตัดโดยใช้ยาสลบ (general anesthesia) เป็นครั้งแรกของโลก
 
          นักวิจัยไทยที่กล่าวถึงสภาพการทำวิจัยเพราะสนุก ไว้ชัดเจนที่สุดคือ ศ. ดร. เจตนา นาควัชระ   ท่ายเอ่ยถึง หฤหรรษ์ (joy) ของการทำงานวิจัย   และการทำวิจัยเพราะรู้สึกสนุก (enjoy)  
 
          ผมสังเกตว่านักวิจัยเก่งๆ ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานวิจัยสูงมากๆ มักตกอยู่ในสภาพ “ทำวิจัยเพราะสนุก”   แม้แต่ผม ซึ่งทำวิจัยไม่เก่ง ก็ยังสนุกกับงานวิจัย
 
          เมื่อสนุก และเกิดปิติสุขจากผลงานแล้ว   เราก็สามารถคิดต่อไปถึงประโยชน์แก่สังคม   ซึ่งจริงๆ แล้ว นักวิจัยที่ดีจะคิดควบคู่ไปในการตั้งโจทย์วิจัยด้วยเสมอ   ว่าผลงานวิจัยนั้นจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
 
          ตรงกันข้าม money – led research  หรือ academic rank – led research มักเป็นโครงการที่คุณภาพปานกลาง   และเป็นการทำวิจัยที่ไม่ต่อเนื่อง   เมื่อได้รับผลประโยชน์แล้วก็จะหยุด  ไม่นำไปสู่ research excellence

 

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๗ มิ.ย. ๕๔
เชียงใหม่

       
คำสำคัญ (Tags): #540721#วิจัย
หมายเลขบันทึก: 450220เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับอาจารย์

ว่าแต่ว่า ทำอย่างไรให้รักการทำวิจัยเล่าครับ 

บอกขั้นตอนหน่อยครับ

หนังสือของ รศ.ดร.สุจิระ ก็เปลี่ยนมุมมองการทำวิจัยของผม ให้เกิดความสุขได้ครับ ท่านพุทธทาส บอกว่า "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" อาจารย์สุจิระบอก "การทำงานคือการวิจัย" ผมว่า ถ้าใช้กฏข้อที่ศูนย์ของเทอร์โมไดนามิกส์ จะได้ว่า "การวิจัยคือการปฏิบัติธรรม" นั่นเองครับ ซึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วในโพชฌง ก็คือ "ธรรมวิจยะ" เชื้อชาญให้มาปฏิบัติกันอย่างจริงจัง จะสามารถความรู้เก่า (ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แล้ว) มาเป็นความรู้ใหม่ของคนปัจจุบันได้ครับ

ทำให้เห็นเบื้องลึกของความสำเร็จหลายๆ อย่างในโลกเรา ขอบคุณครับอาจารย์ ติดตามอ่านต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท