“ไก่” ไม่ได้เป็นหวัด แต่ “ไก่” แพ้แอมโมเนีย (NH3)


สัตว์ที่เลี้ยงรวมกันหนาแน่น

วิธีการเลี้ยงไก่ในอดีต
เมื่อพบอาการของไก่ที่ ไอจามฟืดๆ ฟาด ๆ เดินวนไป วนมา หน้าตาคร่ำเครียด เพราะมีอาการตาบวม
น้ำตาไหล จมูกบวมน้ำมูกไหล ดูคล้ายอาการเป็นหวัด พบเจอหน้าเซลล์ของบริษัทใหญ่ประจำฟาร์มก็เตรียมจะขายยารีบจัดหามาให้อย่างรวดเร็ว
แต่รักษาได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ สองสามอิทตย์ก็กลับมาเป็นใหม่  สาเหตุที่แท้จริงอาจจะไม่ใช่อาการของหวัด
แต่เป็นอาการแพ้แอมโมเนีย เพราะขี้ไก่มีกรด ยูริค มีโปรตีนที่ย่อยสลายไม่หมด บูดเน่าย่อยสลายแตกตัวเป็นแอมโมเนีย
(NH3) แอมโมเนียระเหยขึ้นมาไก่สูดดมเข้าไปเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
จะเดินหนีไปซ้าย ขวา หน้า หลัง ก็ไม่พ้น เพราะต้องอยู่ในเล้า ทำให้อึดอัด เครียด
กินอาหารได้น้อย สุขภาพอ่อนแอ เป็นโรค ตายง่าย

สัตว์ที่เลี้ยงรวมกันหนาแน่น
จะมีมูลสัตว์มาก จนมีปัญหากลิ่นเหม็นแมลงพาหะนำโรคเช่นยุง แมลงวัน แมลงสาบ และหนู
ซึ่งมากินอาหารเหลือหรือเศษอาหารตกหล่นหรือแม้แต่อาศัยกินในที่เก็บอาหาร ในอดีตจะใช้วัสดุป่นแห้งรองพื้น
อย่างเช่นขี้เลื่อยนำมาใส่ ก็จะช่วยบรรเทากลิ่นเหม็นและลดแอมโมเนียได้ เพราะ  ขี้เลื่อยมีคาร์บอนอยู่ที่ 250 – 500 ส่วน ต่อ
ไนโตรเจน 1 ส่วน
จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลุ่ม บาซิลลัส และแอคติโนมัยสิทต่างๆ
จุลินทรีย์จะต้องจับโปรตีนและไนโตรเจนจากสิ่งขับถ่ายทั้งของแข็ง
ของเหลวจนไม่สามารถส่งกลิ่นเหม็นออกมาได้

ปัจจุบันขี้เลื่อยเป็นของมีค่า
ราคาสูงหายาก เป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มผู้เพาะเห็ดจนไม่เพียงพอแบ่งไปใช้ในอาชีพอื่นๆ
รวมทั้งอาชีพปศุสัตว์  จึงมีการนำหินแร่ภูเขาไฟ
(ซีโอ-ฟาร์ม [Zeo-Farm], ซีโอ-สเม็คโตไทต์
[Zeo-Smectotite], ไคลน็อพติโลไลท์ [Clinoptilotite]  ) เข้ามาใช้โรยหว่านที่พื้นคอกจับกลิ่นเหม็นในคอกในเล้าทดแทนขี้เลื่อยหรือวัสดุป่นแห้งชนิดอื่นๆในการจับก๊าซแอมโมเนีย
(NH3) และก๊าซไฮโดเย่นซัลไฟด์ (H2S) ซึ่งถือว่าเป็นวัสดุทดแทนที่ทำงานได้ดีมากๆ
เนื่องด้วยหินแร่ภูเขาไฟเป็นหินลาวาและหินเถ้าภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนเป็นล้านๆ องศาจากใต้พื้นผิวโลก
เจอกับแรงกด แรงบีบมหาศาลจนเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปยังปากปล่องภูเขาไฟ
เจอชั้นบรรยากาศที่บางเบากว่าเพียงหนึ่งชั้นบรรยากาศของบรรยากาศโลกจึงเกิดการพองตัวอย่างกระทันหัน
(เหมือนเม็ดข้าวโพดคั่ว Popcorn)
เดือดพล่านผลักดันอากาศและก๊าซออกไปจนเกิดรูพรุนมหาศาล
ไม่ว่าจะนำไปบดทุบให้ละเอียดกี่เมชก็จะยังคงความพรุนอยู่
ความพรุนนี้เองสามารถที่จะดูดจับก๊าซที่อยู่ในรูปประจุบวกได้ (C.E.C. =
Catch Ion Exchange Capacity)
จึงมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่นำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันทั้งวงการสัตว์น้ำและปศุสัตว์

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 448559เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท