เทคนิคประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมี ด้วยวิธีดูแลรักษาดิน


ทำไมแมกไม้ในป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา

ทำไมแมกไม้ในป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา
ไม่เคยมีปัญหาโรคแมลงระบาด ขาดปุ๋ย ยังคงยืนต้นสูงตระหง่านเขียวขจีทั้งๆ
ที่ไม่มีผู้ใดย่างกรายเข้าไปดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ย เว้นเสียแต่มีสัตว์ร้ายที่ชื่อว่า
“มนุษย์” เข้าไปแผ้วถางทำลาย ตัดจนโล่งเตียนเป็นเขาหัวโล้น เพียงเพื่อหวังประโยชน์อันน้อยนิดของตนเอง
ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับการสูญเสียผลประโยชน์ของส่วนรวม คำตอบของความอุดมสมบูรณ์คงจะทราบทั้งหมด
แต่ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะใบไม้ กิ่งก้าน ที่ร่วงหล่นสลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่ปุ๋ยให้แก่กันและกัน
โดยต้นใหญ่ให้ต้นเล็ก ต้นเล็กให้ต้นใหญ่ ใม้ใบให้ไม้ผล ไม้ผลให้ไม้ล้มลุก
ไม้ล้มลุกให้ไม้หัว ไม้หัวให้สารอาหารแก่ไม้ใหญ่ อย่างไม่จับสิ้น ทำให้เกิดสังคมอุดมปัญญา…
เอ๊ย!สังคมของระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าแบบธรรมชาติที่ยั่งยืน
ความร่มรื่นชุ่มฉ่ำนี้เองเป็นตัวเรียกจุลินทรีย์ที่หลากหลายเข้ามาทำหน้าที่สร้างกิจกรรมต่างๆ
ให้เกิดประโยชน์แก่ผืนป่าทั้งป่าอย่างเป็นวัฎจักร มีทั้ง ฝนพรม ร่มรื่น  ผืนน้ำฉ่ำหิน
ดินดี  ไม้งาม นกถามหา หมาป่าฝันไฝ่
แมงมุมชักไย ไก่ป่าร้องขัน จักจั่นสั่นเสียง ชำมะเรียงสุกย้อย หิ่งห้อยบินวน
รับฝนที่กำลังตั้งเค้า อื่นๆ อีกมากมาย …อืห์ม.เกือบลงไม่ได้
ที่พล่ามยาวมาทั้งหมดก็อยากให้เห็นประโยชน์ของการรักษาป่าและประโยชน์ของการรักษาอินทรีย์วัตถุในดิน
และเราก็จะได้ทุกสิ่งจากธรรมชาติกลับคืนมา

ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ 5 เปอร์เซ็นต์ มีหินแร่
45 เปอร์เซ็นต์ มีอากาศ 25 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำ 25 เปอร์เซ็นต์
ถือว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์โดยแท้ ปลูกพืชได้แม้ไม่ต้องใส่ปุ๋ย
แต่ดินลักษณะนี้จะต้องไม่เผาหญ้าฆ่าฟาง จะต้องมีการพักดิน
จะต้องไม่ใช้สารเคมีคุมและฆ่าหญ้า จะต้องไม่ใช้สารฆ่าแมลง ฆ่าหนอน ฆ่ารา
ที่มีฤทธิ์ตกค้างในดินเป็นเวลานาน
เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนขัดแย้งกับการกำเนิดดินในผืนป่าอย่างสิ้นเชิง  มีแต่ทำลายระบบนิเวศน์ ทำลายจุลินทรีย์
ทำลายน้ำ ทำลายอากาศ ทำลายนก ทำลายตัวห้ำตัวเบียน ทำลายสังคมอุดมร่มรื่นของระบบนิเวศน์ให้เสีย
(Chip) หาย

ถ้าเราหมั่นเติมอินทรียวัตถุลงไปในแปลงการผลิตอย่างสม่ำเสมอ
ก็จะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุสารอาหารเพียงพอต่อพืชที่ปลูก
พืชเจริญเติบโตแบบธรรมชาติ
ทำให้เราประหยัดปุ๋ยเคมี คือถ้าจะใส่ปุ๋ยก็ไม่ต้องมาก ใส่ปุ๋ยเคมีเพียง 30
เปอร์เซ็นต์ จากร้อย และใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 70 เปอร์เซ็นต์
(ถ้าดินมีอินทรียวัตถุเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ก็ไม่จำเป็น)  แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ซีโอ – พูมิช (ZEO-PUMICE) หินแร่ภูเขาไฟที่ให้แร่ธาตุซิลิก้า
ช่วยทำให้เซลล์พืชแข็งแกร่งป้องกัน หนอน เพลี้ย แมลงตั้งแต่เริ่มต้นปลูก
ทำหน้าที่เหมือนวัคซีนพืช รับมือกับปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น
เพราะถึงดินจะดีอย่างเพียง สมบูรณ์เพียงใด แต่ถ้าเรายังปลูกพืชเพื่อเป็นธุรกิจ
ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ย่อมหนีไม่พ้นปัญหาโรคแมลง
ตัวหินแร่ภูเขาไฟนี้จะช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก (แหล่งของมูลซิลิก้า
: Lawrence E. Datnoff, Gaspar H. Korndorfer, George H. Snyder, 1999. Silicon
In Agriculture Organizing Committee, Program Agenda And Abstracts Florida USA.)

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 448555เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท