หลักการบริหาร


หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

 

 

ติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ที่ครอบคลุมแผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ จึงจัดทำ "ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ" ไว้ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐถือปฏิบัติ ดังนี้

๑ กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
๒ ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ
๓ โปร่งใส ตรวจสอบได้
๔ ไม่เลือกปฏิบัติ
๕ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

ประการแรก กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง หมายถึง ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ชอบธรรม เสียสละ อดทน ยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ไม่ยอมโอนอ่อน ตามอิทธิพลใดๆ


ประการที่ สอง ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตรงไปตรงมา มีหลักธรรม แยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อประชาชน ต่อผลการปฏิบัติงาน ต่อองค์กร และต่อการพัฒนาปรับปรุงระบบราชการ


ประการที่สาม โปร่งใส ตรวจสอบได้ หมายถึง ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์การให้มีความโปร่งใส มีกลไกให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องได้ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบของกฎหมาย


ประการที่สี่ ไม่เลือกปฏิบัติ หมายถึง การบริการประชาชนด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกที่รักมักที่ชังในการให้บริการ ปฏิบัติต่อผู้มารับบริการ ด้วยความมีน้ำใจ เมตตา เอื้อเฟื้อ


ประการที่ห้า มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน หมายถึง ทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด ทำงานให้เกิดผลดีแก่หน่วยงานและส่วนรวม ใช้ทรัพยากรของทางราชการให้คุ้มค่า เสมือนหนึ่งการใช้ทรัพยากรของตนเอง เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับข้าราชการซึ่งเป็นผู้บริหารควรประพฤติปฏิบัติตามค่านิยมสร้างสรรค์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นแบบอย่างให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ถือเป็นต้นแบบ (Role Model) พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยการนำหลักประพฤติปฏิบัติตามค่านิยมสร้างสรรค์นี้ไปใช้ ในการสรรหาบุคคลเข้าทำงานในองค์กร การปฐมนิเทศน์ การสอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรการอบรม การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น การเชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติดีเด่น และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 448513เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท