ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

การสำรวจข้อมูลก่อนทำการวิจัย ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์


    การศึกษาสภาพการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และปัญหาและสาเหตุของปัญหาการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ / รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ 2546 

โดยมีลำดับดังนี้

เครื่องมือคัดกรองที่ ๑

         ศึกษาสภาพการสอน............... กลุ่มที่สอนโดยใช้ปฏิบัติการ และกลุ่มที่ไม่ใช้ปฏิบัติการ

เครื่องมือชุดที่ ๒ 

         กล่มที่ใช้ปฏิบัติการนั้น ๆ จำแนกเป็นปฏิบัติการแบบใด

อ้างอิงจากรูปแบบปฏิบัติการ(Laboratory Investigation) ไพทูรย์ สุขศรีงาม 2531ข (66)

            ๑.การสืบเสาะแบบสำเร็จรูป (Structured Inqury) : กำหนดปัญหาให้ นักเรียนค้นหาคำตอบตามเทคนิควิธีที่กำหนดให้ (พฤติกรรมจำแนก :ใช้)

            ๒.การสืบเสาะแบบแนะนำ(Guided Inqury) กำหนดปัญหาให้ นักเรียนเลือกวิธี หรือใช้ประยุกต์ใช้วิธีค้นหาคำตอบตามที่กำหนดให้ (พฤติกรรมจำแนก :เลือก,ดัดแปลง) เช่นเลือกสมมุติฐานเอง ซึ่งสมมุติฐานการทดลองจะสอดคล้องกับอุปกรณ์ที่ใช้ จึงเกิดการออกแบบการทดลองที่ต้องสอดรับกับสมมุติฐานนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อความแม่นยำของการตอบสมมุติฐาน

            ๓.การสืบเสาะแบบเปิดกว้าง(Open Inqury) ปัญหากำหนดเอง เลือกใช้ หรือสร้างเทคนิควิธีหาคำตอบเอง (พฤติกรรมจำแนก :เลือก,ประยุกต์,สร้าง) เช่น การสร้างสมมุติฐานเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องออกแบบการตรวจสอบสมมุติฐานนั้น ๆ ด้วยการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม

สำรวจอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ แบบที่ ๒ จึงเป็นการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ

             ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ๒ ปี จำแนกกลุ่มตัวอย่าง ๑ ปี พอจะมาศึกษาอีกครั้ง ครูเหล่านั้น เริ่มลดการใช้ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ประกอบการสอน 

เครื่องมือที่ 3  เครื่องมือขอร้องครู... น่าตลก ไมากล้าลงในสมุดรายงาน

ความจริงที่ขมขื่น จากประชากรครู (พ.ศ. 2543) สปจ.สุรินทร์มีครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 237 คน สำรวจกลุ่มที่มีการปฏิบัติการ ตอบแบบสอบถามครั้งที่ ๑ ว่าสอนด้วยการทำปฏิบัติการ มา 207 คน เมื่อได้ทราบ ดีใจยิ่ง  จึงส่งจดหมายเพื่อขอความร่วมมือ และยินดีอย่างยิ่งที่ผู้วิจัยจะลงไปสำรวจจริงเพื่อพัฒนาเครื่องมือ ผลปรากฎว่า ตอบกลับในชุดที่สอง ว่าทำปฏิบัติการสอนจริง ๆ เหลือเพียง 12 คน (นอกนั้นไม่เคยพานักเรียนทำเลย)ซึ่ง อยู่ในระดับ ร้อยละ 40 ของปฏิบัติการซึ่งกำหนดโดยสสวท. ซึ่งเกิดจากความผิดพลาด คำว่าปฏิบัติการในระดับปานกลาง คือ จำนวน 12 ปฏิบัติการ /24 ครัง ซึ่งต่ำกว่าครึ่ง จึงได้กำหนดเรื่องและสมมุติฐานใหม่ให้สอดคล้องกับการศึกษา 

   เกิดปัญหาอะไร จึงไม่ทำ ผมจึงได้สร้างเครือข่าย ขอความช่วยเหลือจากคณะครู ขอให้พานักเรียนทำปฏิบัติการ อย่างน้อย 1 ภาคเรียน 4 ครั้งก็ยังดี ผมจึงได้รับคำแนะนำจากแอดไวเซอร์ ว่า ถ้าครูเขาไม่ทำ แล้วเขาจะรู้หรือว่าขั้นตอนใดที่เป็นอุปสรรค์

      เป็นกรรมของผู้วิจัยที่ต้องตระเวนทั่วสุรินทร์อีกรอบเพื่อขอร้องให้ครูเขาสอนแบบปฏิบัติการ อีกร้อยกว่าคน ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ 

   ผมใช้เวลาเรียนมากกว่า 5 ปี ขอขอบคุณครูที่ช่วยผมตอบแบบสอบถาม แต่ครูเหล่านั้นก็ได้สอนโดยความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้ไปกับผม

  และหลักสูตรแกนกลาง 51 ใน ว.8.1  ผมได้เห็นการดำเนินการตามแนวกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ถูกจัดจำแนกดังกล่าว ก็ ถือว่า สิ่งเคยทำเมื่อ สิบปีที่แล้ว เขาได้ใช้หลักเดียวกันกับที่เราใช้ แล้วปัญหา จริง ๆ ก็ยังซ่อนอยู่อีกมาก จะค่อยเฉลย 

    ขอขอบคุณครูวิทยาศาสตร์และครูที่มีวิญญาณของความเป็นครู อย่างน้อย นักเรียนที่เป็นผลผลิตท่านจะได้เบ่งบานแห่งปัญญาต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 447691เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ยอดเยี่ยมเลยครับ ลงมือทำจริงๆ ตามความคิดของตนเอง สอนวิทยาศาสตร์ให้รู้ทักษะกระบวนการเป็นแนวทางที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับคน ให้กับชาติบ้านเมือง เป็นกำลังใจให้เสมอนะครับอาจารย์ 
  • คอยชมผลงาน/มุมมองที่สร้างสรรค์ ซึ่งมีอยู่แล้ว..จากกล้องใหม่อยู่นะครับ
  • ชื่นชมและขอบคุณเรื่องราวดีๆนี้ครับ

ขอขอคุณที่เยี่มชม นาน เลย ผมกำลังศึกษาการใช้เจา eos450 จนเดี๋ยวนี้กลายเป็น 600แล้ว ยังไม่คล่องเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท