Google Plus : review หน้าตาของระบบแบบเล็กๆ น้อยๆ


เรื่องของคู่แข่งทางด้านการบริการในโหมดเครือข่ายทางสังคมในโลกของเทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการหลากหลายค่ายต่างก็ต้องลงมาเล่นกันในเวทีนี้ และล่าสุด Google ก็เปิดตัวบริการใหม่ Google Plus ให้มากระชากใจชาวออนไลน์อย่างเราๆ อีกแล้วค่ะ

ในโลกอินเทอร์เน็ต เราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า Facebook กลายเป็น Web Service ที่มาแรงแซงทางโค้งมามากมาย แต่วันนี้ Facebook ก็ต้องมาเจอคู่แข่งซะแล้ว ด้วยบริการ Google Plus

เริ่มต้นเปิดให้บริการวันแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ปรางได้ติดตามดูรายละเอียดผ่านทางบทความใน Blognone และก็ตามดูบทความจากเว็บไซต์ต่างประเทศเพิ่มเติม และต้องบอกว่าก็เกิดความอยากที่จะลองใช้งานจริงๆ สักที

หลังจากเริ่มใช้งานเมื่อวานแบบเล็กๆ น้อยๆ ไปก่อน เพราะช่วงเริ่มต้นของการให้บริการ ต้องบอกว่าถึงแม้จะมีเพื่อนอยู่ใน contact list ในอีเมล์อยู่มาก แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของการเปิดให้ลองใช้งานก็เลยยังดูเหมือนว่าบรรยากาศยังดูเงียบๆ อยู่ แต่ในส่วนนี้ยังถือว่าเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นค่ะ เพราะหากว่า Google Plus เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการ บรรยากาศคงจะคึกคักเหมือนกับ Facebook ก็ได้นะค่ะ

เกริ่นนำไปซะยาว ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องเริ่มต้น Review เล็กๆ น้อยๆ กันเลยนะค่ะ

จากภาพข้างบนนี้เป็นภาพหน้าจอหลักของ Google Plus เมื่อมองครั้งแรกก็เห็นการจัดวางข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 Column ซึ่งผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิกของ Facebook หรือใช้งาน Gmail อยู่แล้วก็จะเรียนรู้ได้ไม่ยาก เพราะประสบการณ์จากการใช้งาน ระบบดังกล่าวจะช่วยให้การเรียนรู้ระบบของ Google Plus ง่ายขึ้นค่ะว่าแต่ในแต่ละช่อง แสดงข้อมูลอะไรบ้าง 

จากประสบการณ์การใช้บริการหรือระบบที่ออกแบบคล้ายคลึงกันอย่างเช่น 2 บริการที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้เรียนรู้ได้ว่า ช่องแสดงผลข้อมูลทางซ้ายมือก็จะเป็นเมนูที่ให้เราเข้าถึงเนื้อหาที่ได้ถูกจัดหมวดหมู่หรือจัดกลุ่มไว้แล้ว โดยจะเห็นได้ว่าในระบบของ Google Plus จะแสดงกลุ่มของเครือข่ายที่ได้จัดแบ่งไว้แล้ว และเราก็ยังสามารถเพิ่มเองได้ อีกทั้งเมนูเหล่านี้ก็จะแสดงอยากอยู่ทุกครั้งที่เราเลือกคลิกดูนู้นนี่นั่น ซึ่งเป็นการออกแบบที่ Consistency ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูได้ตลอดเวลา และง่ายต่อการใช้งาน

ในส่วนช่องตรงกลาง เป็นการแสดงผลข้อมูลที่มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มเครือข่ายที่เราได้เลือกติดตาม ซึ่งก็จะเรียงลำดับตามความเคลื่อนไหวล่าสุดที่เกิดขึ้น และสามารถเลือกดูตามกลุ่มที่ได้จัดไว้ โดยเลือกจากเมนูทางซ้ายมือนั่นเอง

ถัดมาจากส่วนตรงกลางก็เป็นส่วนทางขวามือ ซึ่งเป็นช่องแสดงผลข้อมูลอื่นๆ ซึ่งสำหรับ Google Plus ใช้ในการแสดงผลเพื่อนที่อยู่ในเครือข่าย และมีข้อมูลแนะนำเพื่อนเช่นเดียวกับ Facebook ค่ะ

นอกจากโครงสร้างการแสดงผลข้อมูลที่แบ่งออกเป็น 3 Column หลักแล้ว ด้วยความที่ Google มีผลิตภัณฑ์เยอะกว่า แถบเมนูสีดำด้านบนจึงเป็น shortcut menu ที่ช่วยให้ผู้ใช้ที่ใช้บริการอื่นๆ ของ Google สามารถเข้าใช้งานได้เร็วและง่าย ซึ่งเมนูนี้ถ้าใครใช้ gmail อยู่ก็คุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว โดยยังคงจัดวางตำแหน่งเมนูดังกล่าวอยู่ทางซ้ายมือ และในส่วนขวามือก็เป็นที่คุ้นเคยสำหรับจัดการกับ account ของ Google อยู่แล้ว แต่ในระบบของ Google Plus ได้เพิ่มการแสดงผลข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือนไว้ในส่วนนี้ด้วย ซึ่งการจัดกลุ่มเมนูก็ถือได้ว่าเป็นไปตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานของ Google อยู่แล้ว ซึ่งก็ช่วยให้การจดจำการใช้งานก็สามารถทำได้ง่ายไปด้วย

ดังนั้นจากมุมมองของปราง Google Plus ถือได้ว่าเป็นการผสมผสานการออกแบบที่ลงตัวสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งาน Facebook ให้เข้ากับบริการของ Google ที่มีจุดเด่นอยู่แล้วนำมาสู่การออกแบบหน้าจอดังภาพ ซึ่งเมื่อดูแล้ว ในเบื้องต้นก็น่าสนใจว่า Google จะสามารถดึงฐานผู้ใช้งานจาก Facebook ได้มากน้อยเพียงใด อันนี้คงต้องตามดูกันต่อไปค่ะ

ปล. ฝากไว้อีกนิด สำหรับผู้อ่านหรือผู้ใช้งานท่านใดที่มี Google Plus แล้ว อย่าลืมลองกดปุ่ม +1 ใน GotoKnow ดูนะค่ะ ระบบของ GotoKnow ได้ปรับระบบให้รองรับ Google Plus แล้วค่ะ

หมายเลขบันทึก: 447022เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณมากครับ น้องมะปราง ;)...

เดี๋ยวจะเข้าไปเป็นเพื่อน ... กลัวว่าจะเหงา ;)...

ขอบคุณค่ะที่นำมาแบ่งปัน...ขอนำไปเผยแพร่ต่อนะคะ...

โอ้ เพิ่งทราบวา +1 คือ google plus ขอบคุณมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท