วงจรนโยบายสาธารณะ (Public Policy Cycle)


วงจรนโยบายสาธารณะ (Public Policy Cycle)
วงจรนโยบายสาธารณะ (Public Policy Cycle).

องค์ประกอบของวงจรนโยบายสาธารณะ
 
1.การก่อตัวนโยบาย (policy formation) เกิดอะไรขึ้นบ้าง
2. การกำหนดนโยบาย (policy formulation) มีแนวทางอย่างไรบ้าง
3. การตัดสินนโยบาย (policy decision) จะเลือกแนวทางใดดี
4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy implementation) จะนำแนวทางที่ได้ไปดำเนินการอย่างไร
5. การประเมินผลนโยบาย (policy evaluation) การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่

1.การก่อตัวนโยบาย (policy formation)
 
             การศึกษาการก่อรูปนโยบายต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ลักษณะสภาพของปัญหาสาธารณะให้ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจว่า ปัญหาที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเป็นปัญหาอะไร เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใด และมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร รวมทั้งต้องการความแร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาแค่ไหน และประชาชนในสังคมต้องการให้แก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดผลอย่างไร และถ้ารัฐบาลเข้าไปแก้ไขใครจะเป็นผู้ได้และเสียประโยชน์ ผลกระทบที่เกิดจากการแก้ไขตรงตามที่คาดหวังหรือไม่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการนำไปปฏิบัติต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างการระบุปัญหาที่ชัดเจนจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา 
 
             ปัญหาสาธารณะจะกลายเป็นประเด็นเชิงนโยบายหรือเข้าสู่วาระและได้รับความสนใจจากผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ มักจะต้องมีคุณลักษณะ
             1.  เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากความรุนแรงทางการเมือง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง
             2.  มีการแตกตัวและขยายวงกว้างออกไป เช่น ปัญหาของความเป็นเมือง
             3.  มีความกระเทือนต่อความรู้สึกและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไป เช่น ปัญหาอาชญากรรม  ปัญหา แรงงานเด็ก
             4.  มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะ
             5.  มีลักษณะท้าทายต่ออำนาจและความชอบธรรมของรัฐ เช่น ปัญหาการแบ่งแยกดินแดง
             6.  เป็นเรื่องร่วมสมัย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาโรคเอดส์

การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย

             เมื่อทราบลักษณะปัญหานโยบายที่ชัดเจนแล้ว จะต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน

             -  การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย ทำให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของนโยบายที่ต้องจัดทำ และการเลือกใช้นโยบายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
             -  วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางของทางเลือกนโยบายที่จะนำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ
             - วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จของนโยบาย ที่จะนำไปปฏิบัติว่าเป็นตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด

คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ของนโยบาย

             1. ความครอบคลุมประเด็นปัญหานโยบาย
             2. ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม
             3. ความชัดเจนและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
             4. ความสมเหตุสมผล
             5. มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้
             6. มีความสอดคล้องทางการเมือง
             7. การกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม
หมายเหตุ     หรือจะจำว่าการก่อตัวนโยบาย
             “ เริ่มต้นสถานการณ์ที่เกิดนโยบาย ตระหนักและระบุปัญหา กลั่นกรองปัญหา จัดระเบียบวาระนโยบาย กำหนดวัตถุประสงค์ ”

2. การกำหนดนโยบาย (Policy formulation)

             หากพิจารณาปัญหา  เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะในกรอบการวิเคราะห์ “เชิงระบบ” หรือ “ทฤษฎีระบบ” ของ David Easton จะได้ปัจจัยนำเข้า ระบบ ปัจจัยนำออก  ดังนี้
 
             ปัจจัยนำเข้า ได้แก่  ปัญหาทั่วไป  ปัญหาสังคม ประเด็นปัญหาสังคม และข้อเสนอของสังคม ในสภาวการณ์ที่สภาการเมืองมีบทบาทสูง ปัจจัยนำเข้าอาจมาจากการที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้นำเสนอนโยบายไว้ในการหาเสีย เช่น พรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรรายย่อยไว้ในการหาเสีย และในที่สุดก็กลายเป็นคำมั่น ในการที่ต้องกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ  เมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ 

             ระบบการเมือง คือ ข้อเสนอข้อรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เสนอนบายต่าง ๆ มากมาย เช่น  นโยบายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต และนโยบายจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร ให้กับหมู่บ้านและชุมชน

             นำออก คือ นโยบาย ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมายต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎี  และประกาศ คำสั่งกระทรวง เป็นต้น

             ขณะเดียวกันก็จะมีการป้อนกลับสู่ระบบการเมือง โดยมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  เป็นปัจจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบาย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ

             (1) ฝ่ายบริหาร     (2) ฝ่ายนิติบัญญัติ         (3) ฝ่ายตุลาการ           (4) องค์กรอิสระต่าง ๆ
หมายเหตุ หรือจะจำว่าขั้นตอนการกำหนดนโยบาย

             “ การพัฒนาทางเลือก การประเมินทางเลือก การตัดสินใจทางเลือกเพื่อกำหนดนโยบาย การประกาศใช้ ”

3. การตัดสินนโยบาย (Policy decision)
   
             การเลือกนโยบาย หมายถึง การเลือกวิถีทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด  ซึ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ อาจรวมถึงนโยบายเทคนิคและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี หลักจริยธรรมหรือคุณธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อค่านิยมที่เป็นรากฐานสำคัญในการเลือกนโยบาย 

การพิจารณาทางเลือกนโยบาย

             -  ประสิทธิผล effectiveness ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก
             -  ประสิทธิภาพ effeciency ความสามารถในผลิตผลผลิตโดยเปรียบเทียบจากต้นทุน
             -  ความพอเพียง adequacy ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่
             -  ความเป็นธรรม equity การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือก
             -  การตอบสนอง reponsiveness ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
             -  ความเหมาะสม appropriateness การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทาง
กลยุทธ์ในการตัดสินใจเลือกนโยบาย
             *  การต่อรอง  ปรับเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกันให้ยอมรับร่วมกัน โดยการเจรจา แลกเปลี่ยน  ให้รางวัลและประนีประนอม
             *  การโน้มน้าว ความพยายามทำให้เชื่อหรือยอมรับ และสนับสนุนด้วยความเต็มใจ
             *  การสั่งการ การใช้อำนาจที่เหนือกว่าในการบังคับการตัดสินใจ
             *  เสียงข้างมาก  การอาศัยการลงมติโดยใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่
             *  ฉันทามติ การยอมรับร่วมกัน โดยปราศจากข้อโต้แย้ง

4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation)
      
             ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ 
(1) ฝ่ายนิติบัญญัติ     (2) ฝ่ายบริหารหรือระบบราชการ    (3) กลุ่มกดดัน     (4) องค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม
   การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
 
   -  ความยากง่ายของสถานการณ์      - ปัญหาที่เผชิญอยู่
   -  โครงสร้างตัวบทของนโยบายสาธารณะ   - โครงสร้างนอกเหนือตัวบทบาทของนโยบายสาธารณะ

กระบวนการที่เป็นปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ

             1. ปัญหาทางด้านสมรรถนะ:  ปัจจัยบุคลากร เงินทุน เครื่องจักร วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร เวลา (จำกัด) เทคโนโลยี 
             (4MI2T)   Man,  Money,  Machine,  Material,  Information,  Time,  Tecnology   
             2. ความสามารถในการควบคุม :  การวัดความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติ
             3. การไม่ให้ความร่วมมือหรือต่อต้าน  ทางบุคลากรในหน่วยงาน
             4. การประสานงานระหว่างองค์กรรับผิดชอบกับองค์กรอื่น ๆ
             5. การไม่ให้ความสนับสนุนทางผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการเมือง เงินทุน งบประมาณ แต่กลับสร้างอุปสรรคในแง่

ของการต่อต้านหรือคัดค้านโยบาย

   -  กลุ่มผลประโยชน์      -  กลุ่มการเมือง      -  ข้าราชการ      -  สื่อมวลชน

5.การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation)    

             เพื่อให้ทราบผลว่าการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเป็นไปตามเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่ ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามเป้ าหมายจะได้มีการปรับ แผน / แผนงาน / โครงการ ให้บรรลุเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์มากขึ้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้รู้ว่า แผน / แผนงาน / โครงการ นั้นควรจะดำเนินการต่อไปหรือยุติจุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการมักจะมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า ประเมินผลเพื่ออะไร หรือ ประเมินผลไปทำไม ปฏิบัติงานตามโครงการแล้วไม่มีการประเมินผลไม่ได้หรือ ตอบได้เลยว่าการบริหารแนวใหม่หรือการบริหารในระบบเปิด (openSystem) นั้นถือว่าการประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากซึ่งจุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการมีดังนี้

             1. เพื่อสนับสนุนหรือยกเลิก การประเมินผลจะเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจว่าควรจะยกเลิกโครงการหรือสนับสนุนให้มีการขยายผลต่อไป โดยเฉพาะการมีโครงการใหม่ ๆ ยังมิได้จัดทำในรูปของโครงการทดลองซึ่งมีโอกาสจะผิดพลาดหรือล้มเหลวได้ง่าย ความล้มเหลวของโครงการจึงมิใช่ความล้มเหลวของผู้บริหารเสมอไปดังนั้นถ้าเราประเมินผลแล้วโครงการนั้นสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้ าหมายไว้ก็ควรดำเนินการต่อไป แต่ถ้าประเมินผลแล้วโครงการนั้นมีปัญหาหรือมีผลกระทบเชิงลบมากกว่า เราก็ควรยกเลิกไป

             2. เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้ าหมาย หรือกฎเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใดกลุ่มนโยบายสาธารณะ 17

             3. เพื่อปรับปรุงงาน ถ้าเรานำโครงการไปปฏิบัติแล้ว พบว่าบางโครงการไม่ได้เสียทั้งหมด แต่ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ เราควรนำโครงการนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น โดยพิจารณาว่าโครงการนั้นบกพร่องในเรื่องใด เช่น ขาดความร่วมมือของประชาชน ขัดต่อค่านิยมของประชาชน ขาดการประชาสัมพันธ์หรือสมรรถนะขององค์การที่รับผิดชอบต่ำ เมื่อเราทราบผลของการประเมินผล เราก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ตรงประเด็น

             4. เพื่อศึกษาทางเลือก โดยปกติในการนำโครงการไปปฏิบัตินั้น ผู้บริหารโครงการจะพยายามแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุด จากทางเลือกอย่างน้อย 2 ทางเลือก ดังนั้นการประเมินผลจะเป็นการเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลง

             5. เพื่อขยายผล ในการนำโครงการไปปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะไม่ทราบถึงความสำเร็จของโครงการ แต่ถ้าเราประเมินผลโครงการเป็นระยะ สม่ำเสมอ ผลปรากฏว่าโครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ เราก็ควรจะขยายผลโครงการนั้นต่อไป แต่การขยายผลนั้นมิได้หมายความว่าจะขยายไปได้ทุกพื้นที่ การขยายผลต้องคำนึงถึงมิติของประชากร เวลา สถานที่ สถานการณ์ต่าง ๆปลูกพืชเมืองหนาวจะประสบความสำเร็จดีในพื้นที่ภาคเหนือ แต่ถ้าขยายผลไปยังภูมิภาคอื่นอาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เพราะต้องคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เชื้อชาติ ค่านิยม ฯลฯ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ สิ่งที่นำไปในพื้นที่หนึ่งอาจได้ผลดี แต่นำไปขยายผลในพื้นที่หนึ่งอาจไม่ได้ผล หรือ สิ่งที่เคยทำได้ผลดีในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลดีในอีกช่วงเวลาหนึ่ง


อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://www.samutprakan.go.th
สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553
วัชระ บันทึกการเข้า
คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 446565เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท