งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

งานวิจัยในประเทศ

กรองกาญจน์ วิลาศสิริสถาพร (2540) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง คำนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพ80/80 ผู้ค้นคว้าได้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง คำนาม โดยทดลองหาประสิทธิภาพแบบหนึ่งต่อหนึ่ง กับนักเรียนที่มีระดับผลการเรียนสูง ปานกลางและตํ่า รวม 90 คน เพื่อปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยปรากฎว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.89/80.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่าสื่อมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนได้

วรางคนา พระลับรักษา (2541) ได้ทำ การศึกษาการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย เรื่อง คำศัพท์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน (อ.022) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการศึกษาได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย เพื่อสอนคำศัพท์ในรายวิชาภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน มีประสิทธิภาพ 94.12/85.23

ณัฐมล กลั่นทิพย์ (2545) ได้ทำการวิจัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ผลการวิจัยปรากฎว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 80.11/80.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้พยุงศรี หอมสุวรรณ (2545) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซ่อมเสริมวิชาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2 จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพในระดับดีมากและดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

กิตติยา ทัศนะสกุล (2546) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานครพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 86.66/81.22 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล (2547) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผลการวิจัยรูปแบบการเรียนการสอนมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 และยังมีเจตคติและแรงจูงใจ ที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นณัฐธยาน์ อ่อนมั่น (2547) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ81.78/81.78 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

งานวิจัยต่างประเทศ

Elkin (1986) ได้ศึกษาถึงผลของการใช้แบบฝึกไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และผลสัมฤทธิ์ทางกลไกของนักเรียนระดับ 3 จากโรงเรียนขนาดใหญ่จำนวน 74 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 41 คน กลุ่มควบคุม 33 คน โดยใช้การสอนตามหนังสือเรียนกับคู่มือครูและการเรียน โดยฝึกไวยากรณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลการวิจัยพบว่า เพศและระดับความสามารถของนักเรียนจากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านกลไกทางภาษาและด้านการใช้ภาษาและผลสัมฤทธิ์ทางด้านกลไกทางภาษาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านกลไก

ทางภาษา สูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการใช้ภาษาไม่มีความแตกต่างกัน

Latham (1991) ศึกษาเกี่ยวกับผลของสีในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อความคงทนในการจดจำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ไม่คุ้นเคยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในด้านความจำระยะยาว ขึ้นอยู่กับเพศและประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์คือนักเรียนหญิงที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เป็นสีจะได้คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่านักเรียนหญิง ที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีสีเดียว

Hodson (1992) ศึกษาผลการสอนคำศัพท์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับเวลาที่ใช้เรียน ความพึงพอใจของครูและนักเรียน และการเพิ่มพูนความสามารถ ด้านการหาคำศัพท์ ผลปรากฏว่านักเรียนพอใจและต้องการเรียนคำศัพท์จากเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่าใช้แบบฝึกหัด ด้านครูนั้นสามารถประหยัดเวลาสอนได้โดยเฉลี่ย 35 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อนำไปทำกิจกรรมอย่างอื่น

Liu (1992) ศึกษาผลการสอนโดยใช้ Hypermedia คือคอมพิวเตอร์ ร่วมกับวีดิโอดิสก์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ คำศัพท์ ในกลุ่มผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งผลปรากฏว่าหลังการทดสอบหลังเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่เพียงแต่เพิ่มจำนวนคำศัพท์เท่านั้น แต่ยังพัฒนาความสามารถในการใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสม

Mayer (1997) ได้วิเคราะห์ข้อความในรายวิชาการเรียนภาษาที่คัดเลือกมาจากบางกลุ่มการเรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการแนะนำ สำหรับครูผู้สอนภาษาต่างประเทศผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือที่ได้ปรับปรุงเป็นผลสำเร็จ เพื่อการวิเคราะห์ข้อความสำหรับโปรแกรมการสอนภาษาที่สมบูรณ์

จากผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการสอนแบบปกติอีกทั้งยังตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล การนำเสนอที่น่าสนใจและรูปแบบแปลกใหม่ของบทเรียน จึงทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับความสนใจจากนักวิจัยและนักการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการที่จะศึกษา และนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งผู้วิจัยมีความสนใจที่จะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้สอนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 445793เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท