ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

intellectual engines


ความชำนาญทางภาษาและทักษะการจัดการทางภาษาที่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดความสมดุลในเวลาอันรวดเร็ว

คำนิยามของ intellectual engines

   

Engines หมายถึง อะไร

ความหมายที่ 1

[n.] เครื่องจักร เครื่องกล, เครื่องจักรกล, เครื่องยนต์กลไก, เครื่องยนต์
[syn.] generator,machine,motor

ความหมายที่ 2

[n.] หัวรถจักร
[syn.] locomotive

ส่วนพจนานุกรมของ ลองดูได้ให้ความหมายเช่นเดียวกัน ต่างตรงที่

เครื่องมือของมนุษย์ที่หมายถึง เครื่องที่ช่วยในการสังเกตทั้ง 5 สัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิน กายสัมผัส (Five fire engines rushed to the scene of the fire.)

   การรับรู้หรือรับประสบการณ์ ของเหตุการณ์หนึ่งนั้นเป็นไปโดยธรรมชาติ สมองก็จะดำเนินการบันทึกประสบการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ แต่เมื่อ ผู้รับประสบการณ์มีการจัดการเครื่องมือรับรู้ ก็จะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญา(Intellectual) อย่างเป็นระบบ

สติปัญญา(Intellectual) หมายถึงอะไร

intellectual [ADJ] เกี่ยวกับปัญญา, See also: ทางสติปัญญา, เกี่ยวกับความคิดและการใช้เหตุผล, Syn. intelligent  

กาเย่(Gagne ) พยามยามที่จะอธิบายลักษณะของสติปัญญาดังนี้

ลักษณะด้านสติปัญญา (Intellectual  Skills)  ประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ประการคือ

1. การจำแนกแยกแยะ (Discriminaitons) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือน

2.การสร้างความคิดรวบยอด  (Concepts) หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ โดยระบุคุณสมบัติร่วมกันของวัตถุหรือสิ่งนั้น ๆ  แบ่งเป็น 2 ระดับย่อย ๆ คือ 

 

  • ความคิดรวบยอดระดับรูปธรรม (concrete Concerpts)
  • ความคิดรวบยอดระดับนามธรรมที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือวัฒนธรรมต่าง  ๆ (Defined Concepts)

3.การสร้างกฎ (Rules) หมายถึง ความสามารถในการนำความคิดรวบยอดต่าง ๆ มารวมเป็นกลุ่ม ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อให้สามารถสรุปอ้างอิง และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

4.การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง (Procedures of Higher Order Rules) หมายถึง ความสามารถในการนำกฎหลาย ๆ ข้อที่สัมพันธ์กันมาประมวลเข้าด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

 

สติปัญญาเกี่ยวข้องกับเครื่องมือการรับรู้อย่างไร

    การเชื่อมโยงระหว่างการรับรู้กับสมองมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง กลไกลของสมอง มีส่วนสังการ สื่อ ส่ง สื่อรับ รวมทั้งกลไกลการประมวลผลของความสมดุลที่อาจจะอยู่ในกฎทางชีวเคมีของสมอง หรืออาจจะเป็นความสมดุลทางกายภาพก็ได้

ดังแนวคิดของเพียเจต์(Piaget)ที่ได้กล่าวถึงการรับรู้ของผู้เรียนจากประสบการณ์ 2 แบบคือ            ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมโดยตรงส่วน                            ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมได้

    จากแนวคิดดังกล่าว คำถามทางภาษาจึงต้องมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามสิ่งเร้าที่มากระต้นความสมดุล

   เราจะทราบได้อย่างไรว่า สมองมีการจัดการเชิงระบบ

    สิ่งที่แสดงออกถึงการพัฒนาหรือตัวชี้บ่งว่าเกิดการเรียนรู้ คือ ขบวนการจัดการกับคำถาม สมองจะเป็นตัวการขับเคลื่อน(Motering) การสัมผัสของการรับรู้(Scenes)

   คำถาม(Quastions) จึงเป็นผลมาจากกระบวนการคิดหรือผลของการขับเครื่องมือของสมองที่ต้องการเติมเต็มให้ระบบที่ขาดหายหรือสับสน

   หาความสมดุลที่เกิดขึ้นภายในสมองแล้ว กลไกลที่แสดงออกก็จะลดระดับแรงขับทางสมองในที่สุด

 

  intellectual engines จึงน่าจะหมายถึง เครื่องมือที่สมองใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้

  การส่งเสริมพัฒนาการใช้คำถามที่สามารถเติมเต็มการเรียนรู้จึงเป็นทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด

เราจะเริ่มต้นอย่างไรในการฝึกผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้คำถามอย่างเป็นระบบ

     โดยธรรมชาติผู้เรียนจะใช้เครื่องมือ ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ กระบวนการรับรู้สร้างระเบียบใหม่ที่สอดคล้องกับฐานเดิม หากเกิดความขัดแย้งขึ้น กระบวนการทางสมองจะส่งแรงขับออกมาเพื่อจัดการความไม่สมดุล ความไม่สมดุลดังกล่าวก็จะกลายเป็นแรงขับที่สอดคล้องกับกระบวนการทางภาษา จึงทำให้สมองติดต่อกับภาษากลายเป็นคำถาม ให้ได้มาซึ่งคำตอบที่พร้อมจะแปลงภาษาย้อนกลับมาสู่สมองอีกครั้ง

    คำถามที่ยืนยันครั้งแรก มักจะเป็นคำถามตรวจสอบความรู้เดิม ด้วยการเริ่มต้นประโยคที่มักจะพบ คือ "อะไร"

   จะเป็นคำถามที่ง่ายที่สุดของการ Tune up ของสมอง

   เมื่อการ Tune up ยังไม่เข้าสูภาวะสมดุล  คำถามที่จะเกิดขึ้นต่อ คือ  "ทำไม"

   ความชำนาญทางภาษาและทักษะการจัดการทางภาษาที่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดความสมดุลในเวลาอันรวดเร็ว

 

   เอกสารอ้างอิง

http://dict.longdo.com/search/เกี่ยวกับความคิดและการใช้เหตุผล

คำสำคัญ (Tags): #intellectual engines
หมายเลขบันทึก: 445775เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท