*สมรรถนะนักการธนาคารกับการจัดอาชีวศึกษา


สมรรถนะนักการธนาคารกับการจัดอาชีวศึกษา

 

 

 

ผู้เขียนได้สรุปจากการฟังบรรยาย ในการเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง ความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการกับการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ในระดับพื้นที่  เพื่อร่วมวิเคราะห์ความต้องการปรับหลักสูตรฐานสมรรถนะพัฒนาทักษะสร้างคนคุณภาพรองรับตลาดแรงงานที่เติบโต  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ในช่วงของการพูดคุยในหัวข้อ    “ปัญหาและความต้องการด้านกำลังคนภาคบริการและอุปสรรคด้านการยกระดับฝีมือแรงงานไทยยกมาเฉพาะในส่วนของคุณสิริมาศ  วัฒนะโชติ  รองเลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ได้ให้ข้อคิดต่าง ๆ ดังนี้

  

text2011

นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย

 

การนำเสนอในครั้งนี้ทางรองเลขาธิการสมาคมธนาคารไทยชี้แจงว่า ก็ได้มีการจัดประชุมร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของทางธนาคารต่าง ๆ  แล้วรวบรวมข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังนั้นคือ

  • การผลิตนักเรียนนักศึกษาของสถาบันต่าง ๆ ที่ผลิตได้ตอนนี้ ทางธนาคารพึงพอใจในระดับหนึ่ง โดยกลุ่มเหล่านี้ก็ต้องใช้เวลาสำหรับการปฐมนิเทศก่อนทำงาน  ซึ่งลักษณะของการทำงานธนาคารเป็นการทำงานที่มีระยะเวลาทำงานอยู่ในองค์กร จนถึง 60 ปี ดังนั้น จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกว่าจะเออร์ลี่หรือเกษียณอายุ เท่ากับว่า จะต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา

  •  สมรรถนะในเชิงวิชาการหรือองค์ความรู้ที่เรียนมาอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการทำงานทางด้านธนาคาร สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมคือ ในด้านทัศนคติของผู้ทำงาน  การแก้ไปปัญหาเฉพาะหน้า  การแก้ปัญหาในภาวะวิกฤติ เพราะเป็นตำแหน่งงานซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับ  ลูกค้า หุ้นส่วนองค์กร  เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ฯลฯ

  • วุฒิการศึกษาต้องการผู้จบระดับปริญญาตรี

  • นักการธนาคารจะเกี่ยวข้องกับทักษะทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์น้อยกว่า ทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งต้องละเอียด รอบคอบ  มีขั้นตอนปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการให้ใช้เครื่องจักรกล  ซึ่งในส่วนของทางธนาคาร อุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์พื้นฐานหลักในการทำงานสำนักงานอยู่แล้ว ความเสี่ยงและอันตรายก็จะแตกต่างกับภาคอุตสาหกรรม

  • เน้นการสื่อสาร ความรู้ความเข้าใจในการถ่ายทอด การส่งต่อข้อมูลไม่ผิดพลาด และไม่กระทบกับองค์กร ทำให้ผู้ได้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจและประทับใจ รวมถึงการมีลักษณะของเป็นบุคคลทำงานด้วยลักษณะ Service Mind

  • ความร่วมมือของทางองค์กรทางธนาคาร คือ รับนักศึกษาฝึกงาน ซึ่งเป็นการฝึกจากประสบการณ์ตรง และได้หน่วยกิต   การฝึกลักษณะนี้จะได้ผลตามมาคือ ครูได้รับรู้และเรียนรู้งานของสถานประกอบการ  ครูฝึกพี่เลี้ยงได้รู้วิธีการสอนงานและมอบหมายงาน และนักศึกษาที่มีพื้นฐานจากสถาบันการศึกษาจะได้ทดสอบการทำงานจริง ได้เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งครูจะต้องเรียนรู้และเก็บข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการสอนจากสถานการณ์และเนื้องานในโลกของการทำงานจริง ไม่ยึดอยู่เฉพาะตำราหรือทฤษฎี

 

ความคิดเห็นว่า ทำไมนักเรียนมุ่งไปเรียนสายสามัญมากกว่าอาชีวศึกษา 

  • ต้องมีการปูพื้นฐานจากโครงสร้างการดำรงชีวิตฐานจากตัวเองก่อน โดยจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในโลกของอาชีพที่มีอย่างหลากหลาย เช่น ผู้เรียนจะตอบได้ว่า ในอนาคตจะเป็นอะไร
  • โครงสร้างสังคมที่ตอบสนองในโลกอาชีพมีอยู่จริงและต้องให้มีกระแสดัง ๆ เกิดขึ้น
  • คุณภาพของอาชีวศึกษาจะต้องสามารถบอกกับสังคมได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อเรียนอาชีวศึกษาจะมีหรือได้คนที่มีคุณภาพอย่างไร

ข้อความทั้งหมดไม่ได้เป็นการถอดจากการบรรยาย จึงอาจมีบางส่วนขาดหายไป อย่างไรก็ตามได้พยายามเก็บประเด็นให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ อาจจะเป็นอีกแหล่งข้อมูลสำหรับการเตรียมพร้อมปฏิรูปการอาชีวศึกษา ในทศวรรษที่สองนี้ได้

 

*พิมพร  ศะริจันทร์ ศึกษานิเทศก์  เขียนวันที่ 23 มิถุนายน  2554
จากการร่วมสัมมนาเรื่อง ความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการกับการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) วันที่ 22 มิถุนายน  2554 ณ ห้องแกรนด์นันทา โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เชียงใหม่
ติดต่อผู้เขียน  [email protected]

 

หมายเลขบันทึก: 445603เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2011 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท