หลักการ แนวคิด ทฤษฏี


การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management)
หลักการ แนวคิด ทฤษฎี
การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management)
การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้อง
กระบวนการตัดสินใจ เน้นการมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันของบุคคล ใช้ความคิดสร้างสรรค์และ
ความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาของการบริหารที่สำคัญ อยู่บนพื้นฐานความคิดของการแบ่งอำนาจ
หน้าที่ที่ถือว่า ผู้บริหารแบ่งอำนาจหน้าที่การบริหารของพวกเขาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพวกเขา
(สมยศ นาวีการ อ้างถึงใน สาระการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาการบริหารสถาบันการศึกษา : 364 )
แนวความคิดพื้นฐาน(Basic Assumption)
จากทฤษฎี การจูงใจของ Molivation Theory เชื่อว่า
1. มนุษย์ย่อมมีความต้องการเหมือน ๆ กันตราบใดที่ไม่สามารถตอบสนองความ
ต้องการได้แล้ว ก็จะเกิดปัญหาความต้องการอยู่เรื่อยไป แต่ถ้าความต้องการได้รับ
ความตอบสนอง ก็จะเลิกสนใจ
2. มนุษย์ตอบความสนองความต้องการแตกต่างกันทางด้านปริมาณ ความต้องการ
ระดับต่ำค่อนข้างมีขอบเขตจำกัด แต่ความต้องการระดับสูงมักจะไม่มีขอบ
ขีดจำกัด
จากทฤษฎีการจูงใจของ Harzberh (Mptovatopm Hygiene Theory) เชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจให้
คนทำงาน คือ
1. ความสำเร็จ
2. การยกย่อง
3. ความก้าวหน้า
4. ลักษณะงาน
5. ความรับผิดชอบ
6. ความเจริญเติบโต
8
จากการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ของ Aravris ได้เผยว่า บุคคลที่มีวุฒิภาวะ จะมี
บุคลิกภาพที่ต้องการเป็นของตนเอง การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพ
ของตนในด้านการตัดสินใจ และการควบคุมการทำงาน การแสดงออก ทัศนคติ และการใช้
ความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องใช้ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อ
กระจายอำนาจในการตัดสินใจ และเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอน และ
แตกต่างกันอย่างรวดเร็ว
ประเภทของการมีส่วนร่วม
การแบ่งประเภทการมีส่วนร่วมของนักวิชาการทั้งหลายยังมีความแตกต่างกันในการใช้
เกณฑ์ในการแบ่งที่แตกต่งกัน เช่น ชาคิดและคณะ (ชูชาติ พ่วงสมจิตต์ :2540 อ้างถึงใน สาระการ
เรียนรู้เรื่องการพัฒนาการบริหารสถาบันการศึกษา:365) ได้แบ่งประเภทการมีส่วนร่วมออกเป็น
เรื่องของการตัดสินใจ (Decision marking) การดำเนินการ (implementation) ผลประโยชน์
(benefits) และการประเมินผล(evaluation) ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในกระบวนการตัดสินใจนั้นประการแรกที่สุดที่จะ
ต้องการก็คือ การกำหนดตามความต้องการและการจัดลำดับความสำคัญ ต่อจากนั้นก็เลือกนโยบาย
และประชากรที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจในช่องเริ่มต้น การตัดสินใจในช่วงดำเนินการวางแผน และ
การตัดสินใจในช่วงการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของการดำเนินงาน
โครงการนั้นจะได้มาจากคำถามที่ว่า ใครจะทำประโยชน์ให้แก่โครงการได้บ้าง และจะทำ
ประโยชน์ได้โดยวิธีใด เช่น การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การบริหารงาน และประสานงาน เป็นต้น
3. การมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์ ในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์นั้น นอกจาก
ความสำคัญของผลประโยชน์ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงการกระจาย
ผลประโยชน์ภายในกลุ่มด้วยผลประโยชน์ของโครงการนี้ รวมทั้งผลที่เป็นประโยชน์ในทางบวก
และผลที่เกิดขึ้นในทางลบที่เป็นผลเสียของโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อบุคคล
และสังคมด้วย
4. การมีส่วนร่วมในกรประเมินผล การมีส่วนร่วมในการประเมินผลนั้น สิ่งสำคัญที่
จะต้องสังเกต คือ ความเห็น (views) ความชอบ (preferences) และความคาดหวัง (expectations) ซึ่ง
จะมีอิทธิพลสามารถแปรเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มต่าง ๆ ได้
9
เทคนิคการใช้บริหารแบบมีส่วนร่วม
1. การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and
Committee)
2. กรรมการให้คำแนะนำ
3. การใช้แนวความของหมุดเชื่อมโยง (Linkeng Pin)
4. การติดต่อสื่อสารแบบประตู
5. การระดมความคิด
6. การฝึกอบรมแบต่าง ๆ
7. การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ (MBO)
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
1. ช่วยสร้างความสามัคคี และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
2. ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์กรทั้งหมด
3. ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การ
ย้ายงานและการหยุดงาน
4. ช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
5. ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์กรดีขึ้น
6. ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร
7. สร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์กร
8. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม
9. ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
10. เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในด้านการควบคุมงานให้ลด
น้อยลง และทำให้ผลงานดีขึ้น
หมายเลขบันทึก: 445343เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2011 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท