กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๙) : ผลลัพธ์ของกระบวนการ Lesson Study (ตอนที่ ๑)


 

กระบวนการ Lesson Study ดำเนินมาได้ ๕ สัปดาห์แล้ว ครึ่งแรกของภาคฉันทะกำลังจะผ่านไป  คุณครูหนึ่ง - ศรัณธร แก้วคูณ หัวหน้าวิชาการช่วงชั้นที่ ๑ จึงได้ทำการประเมินสรุปผลที่เกิดขึ้นจากการทำ Lesson Study ในช่วงชั้นมาให้ได้ทราบ ดังนี้

 

ผลลัพธ์ในภาพรวมกระบวนการ Lesson Study ได้ก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และพัฒนาวิธีคิดของนักเรียน และช่วยทำให้บทเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นปรากฏการณ์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ กลุ่มครูมีการทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของแต่ละวิชามากขึ้น มีการพัฒนาแผนการสอนด้วยการเรียนรู้ด้วยกัน  มีการประเมินผลการจัดการเรียนการเรียนรู้ของกันและกัน และช่วยกันปรับพัฒนาให้ดีขึ้นโดยมีโค้ช หรือครูนิเทศเวียนเข้ามาร่วมในกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ 

 

ผลที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอน

  • กระบวนการ Lesson  Study สร้างคุณค่าด้านการใช้เวลาของครูและทีม  การสร้างความร่วมมือกันอย่างกัลยาณมิตรสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งให้ทีม
  • มีการพัฒนาแผนการสอน กระบวนการเรียนการสอน และสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ครูมีความมั่นใจในการสอนมากยิ่งขึ้น
  • ครูมองเห็นการเรียนรู้  และพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนมากยิ่งขึ้น
  • ครูได้พัฒนาการฟัง  การพูด  การยอมรับความคิดเห็น  ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และมีความพยายามที่จะลดอัตตาของตนเองลง

 

ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน  

  • นักเรียนได้ฝึกและพัฒนากระบวนการคิด
  • พัฒนาการฟัง  การพูด  การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น  ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

อุปสรรคและการเอาชนะ

  • อุปสรรคที่ดูจะยิ่งใหญ่ในตอนต้นของการทำ Lesson Study คือ เรื่องของเวลาและการจัดตารางเวลาการทำงานของครู และกลุ่มครูนิเทศทั้งหมด  ทางช่วงชั้นได้ดำเนินการให้เรื่องดังกล่าวลุล่วงด้วยการทำงานร่วมกับครูฝ่ายวิชาการก่อนที่จะเปิดเรียนในภาคเรียนฉันทะ เสียงของครูที่มีมาให้ได้ยินในตอนนั้นคือไม่มีเวลา 

 

  • ในการสร้างการเรียนรู้ซึ่งกันและกันที่ครูต้องผ่านพ้นไปให้ได้ คือ การ  เปิดใจ  เปิดความคิด  เรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร

 

  • การทำให้ครูเห็นคุณค่าการทำงานอย่างมีระบบ และการเรียนรู้ตลอดเวลา ผ่านการงานที่ทำ ที่ต้องมีครูนิเทศมานำให้เห็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น จนกระทั่งครูรู้ได้ด้วยตนเองว่าการเรียนรู้ก่อให้เกิดผลดีต่อตนเอง ต่อกลุ่มครู และต่อชั้นเรียนอย่างไร

 

  • การสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการมีผู้เข้าสังเกตการสอน และการสะท้อนการเรียนรู้ เนื่องจากในตอนแรกๆ ครูมักจะรู้สึกอึดอัด ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ต่อเมื่อครูมีความคุ้นชิน และได้รับประโยชน์จากกระบวนการนี้แล้วความรู้สึกวางใจจะค่อยๆ พาให้ความรู้สึกดีๆ ของครูเกิดขึ้นได้เอง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 445222เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กระบวนการนิเทศลักษณะนี้มีคุณค่ามากครับ..ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน..ขอขอบคุณที่ช่วยกันพิสูจน์ว่า กัลยานมิตรนิเทศ ต้องเกิดขึ้นภายในโรงเรียนและมาจากความต้องการที่จะพัฒนาตนโดยการร่วมมือกันของครูเพื่อศิษย์..

เป็นจริงอย่างที่คุณลุงว่ามาทุกประการเลยค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท