ฟื้นฟูจิตให้มีพลังชีวิต


ขอชื่นชมจิตแพทย์ องค์กรแพทย์ รพ.ศรีธัญญา ที่มุ่งมั่นเรียนรู้ Psychiatric Rehabilitaion และถอดบทเรียนได้อย่างน่าสนใจกับ ดร.ป๊อป นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม

ดร.ป๊อป ได้นำเสนอพัฒนาการระบบสุขภาพจิตสากล เริ่มจากการรักษาทางการแพทย์ในสถานพยาบาล การให้ชุมชนสนับสนุน/ช่วยเหลือผู้รับบริการ การฟื้นฟูสมรรถภาพจิตเวช จนเข้าสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพจิตสังคม ด้วยรูปแบบการฟื้นตัว/การฟื้นพลังชีวิต (Recovery Model)

จากนั้นจิตแพทย์ทุกท่านได้เรียนรู้การจำแนกการฟื้นตัวในสี่กลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ ระยะจิตบกพร่อง ระยะจิตไม่ทำงาน ระยะจิตพิการ และระยะจิตด้อยโอกาส ซึ่งทุกระยะจะเกิดการพัฒนาโปรแกรมที่เน้นการฟื้นพลังชีวิตด้วยความหวัง ความปลอดภัย ความอบอุ่น ความสุขความสามารถในการแสดงศักยภาพของบุคคลตามบทบาททางสังคม การฝึกทบทวนตนเองให้เกิดพลังชีวิต และการฝึกทักษะการจัดการตนเองเพื่อสุขภาพจิต

ทั้งนี้ขอบเขตของทักษะชีวิตตั้งแต่แรกรับในสถานพยาบาลจนถึงการกลับสู่ชีวิตจริง จำเป็นต้องมีการประเมินโดยครอบคลุกบริบทของสหวิชาชีพด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสและพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกรณีศึกษามากขึ้น

ดร.ป๊อป พบว่า จิตแพทย์ต้องเพิ่มพูนและพัฒนาแบบประเมินข้างต้น ตลอดจนโปรแกรมที่มีการประยุกต์กรอบความคิดของการจัดการตนเองเพื่อสุขภาพจิตและการเริ่มต้นฟื้นฟูพลังชีวิต (Self-Management for Mental Health & Recovery-Oriented Services) โดยสร้างทีมการพัฒนาทักษะชีวิตที่พร้อมต่อการดัดแปรสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริง และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการรู้คิดมากขึ้น ซึ่งโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพจิตเวชในปัจจุบันมีความซ้ำซ้อนในการบำบัดด้วยกิจกรรม และไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงบทบาทนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม

ถึงเวลาแล้ว ที่สหวิชาชีพต้องร่วมกันค้นคว้า เรียนรู้ และแปลความรู้ ในหลักฐานการปฏิบัติงานทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพ ร่วมสมัย และทันสมัย ซึ่งทีมสุขภาพจิตไทยทุกท่านต้องพัฒนาระบบการฟื้นฟูพลังชีวิตให้ทัดเทียมสากลหรือก่อนที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะวิจัยและพัฒนาได้ทัน เช่น Knowledge Translation from Medical Rehabiliation to 4M-Recovery (Mankind, Meaningful, Media, Medium), not 4M-no Recovery (Mass, Meaningless, Manipulation, Management)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 444026เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2011 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผู้ป่วยทางจิตเป็นผู้ที่น่าสงสารมากๆอยู่แล้ว ดังนั้นหากบุคคลากรในสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องร่วมกันค้นคว้าอย่างดีที่สุดนั้นก็จะช่วยเพิ่มเครื่องมือในการรักษาและโอกาสที่ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นหรือหายป่วยได้อย่างมากเลยทีเดียว

ขอบคุณครับน้องเบลล์

สงสารคนที่เป็นผู้ป่วยทางจิตมาก ขอเปนกำลังใจให้กับผู้ป่วยและผู้ที่รักษาผู้ป่วยทางจิตทุกคนค่ะ

ขอบคุณครับน้องบี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท