นักศึกษาวิเคราะห์กรอบอ้างอิง


ขอบคุณนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกรอบอ้างอิงกิจกรรมบำบัดสากล และเกิดความคิดพลวัติในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองสู่งานบริการกิจกรรมบำบัด

ตัวอย่างการถอดบทเรียนจาก นศ.กบ. นฤบดี ลาภมี ที่ ดร. ป๊อป ขอชื่นชม 

 

หลักการใช้ Person-Environment-Occupation-Performance (PEOP) Model ในการวางแผนการรับบริการทางกิจกรรมบำบัด แบ่งหัวข้อใหญ่ๆ เป็น 2 เรื่อง คือ หลักฐานก่อนการให้บริการ (Evidence) กับการให้บริการแบบ Person-centered intervention โดยก่อนจะสร้าง Evidence ได้ต้องมีรายละเอียดและปัจจัยย่อยๆ อีก 4 อย่างคือ

1. Person (Intrinsic) factors คือ ปัจจัยเชิงลึกภายในตัวผู้รับบริการ ซึ่งมีทั้งความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ รวมถึงรายละเอียดของร่างกายที่มีลักษณะจำเพาะของแต่ละคน อาจมีผลมาจากปัจจัยถัดไป

2. Environmental (Extrinsic) factors คือ ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้รับบริการ ทั้งทางสังคม (เช่น ศาสนา สถาบัน การเมือง) ทางกายภาพ (สิ่งก่อสร้าง) ทางธรรมชาติ (ดิน ฟ้า อากาศ) ซึ่งอาจส่งผลต่อปัจจัยก่อนหน้านี้และถัดไป

3. Occupation คือ กิจกรรมการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 4 ประเภท ได้แก่ Activities กิจกรรมต่างๆ ที่เราทำนั้น, Value มองถึงคุณค่าของกิจกรรมที่เราทำในแต่ละครั้ง, Role จับจุดว่า กิจกรรมนั้นๆ ที่มีคุณค่า กิจกรรมไหนมีผลต่อบทบาทของผู้รับบริการ แล้วเน้นที่บทบาทของผู้รับบริการตามลำดับขั้น (Hierarchy), และ Tasks ศึกษารายละเอียดของกิจกรรมนั้นๆ ว่ามีขั้นตอนยังไงบ้าง เรียงลำดับความยากง่าย

จาก 3 หัวข้อข้างต้น เราก็จะสามารถสรุปถึงความสามารถ (Performance) ของผู้รับบริการนั้นขึ้นมาได้

4. Source of knowledge คือ แหล่งข้อมูลพื้นฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎี ปรัชญา หรือกฎต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางกิจกรรมบำบัด ทั้งของนักกิจกรรมบำบัด ผู้รับบริการ และบุคคลอื่นๆ ที่เข้าใจตรงกันและเป็นที่ยอมรับ

เมื่อเรารวมข้อมูลทั้ง 4 อย่างแล้วก็จะทำการสรุปคัดกรองสิ่งที่สอดคล้องกับปัจจัยทั้ง 4 ที่กล่าวมาให้สอดคล้องเชื่อมโยงกันไม่ขัดกันโดยเน้นรูปแบบ Enbling คือ เน้นกิจกรรมที่ได้คัดกรองว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ สิ่งแวดล้อม และสังคมมากที่สุด รวมทั้งเน้น Doing performance คือ เป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการหมั่นกระทำเป็นประจำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ทั้งหมดนี้ก็จะกลายเป็น Evidence หรือหลักฐานข้อมูลที่จะนำไปต่อยอดต่อการกำหนด Person-centered intervention เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ Well-being ต่อไป หรือกล่าวง่ายๆ ว่า "ให้บริการได้เน้นถึงบุคคลทั่วๆไปเป็นศูนย์กลางทั้งผู้รับบริการ ผู้บำบัด และบุคคลรอบข้าง ได้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขนั่นเอง

เพิ่มความรู้จาก ดร.ป๊อป: Performance ที่สำคัญทั้งผู้ให้และผู้รับบริการคือ คลังปัญญาที่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต กลายเป็นแหล่งความรู้ที่จับต้องได้ โดยเฉพาะความรู้ในการพัฒนาตนเองและผู้อื่นให้มีความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนจากโลกในชาตินี้ไป    

 

หมายเลขบันทึก: 444022เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2011 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นศ.กบ.พัชรี รุ่งฉัตร

เราใช้ PEOP ในการวางแผนดูแลผู้ป่วย โดยการดูแลทั้งหมดนั้นเราจะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก เป็นศูนย์กลางในการรักษา (Person-Centered Intervention) โดยผ่านการประเมิณแบบต่างๆ ตามกระบวนการของกิจกรรมบำบัด ผ่านการดูความสามารถ ความบกพร่องของผู้ป่วย ตามด้วยการตั้งเป้าหมายในการรักษาที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยเพื่อให้ได้ผลสูงสุดและวางแนวทางในการรักษาต่อไป

ในที่นี้เราจะมองลงไปที่ตัว evidence คือหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ได้รับการการพิสูจน์ เป็นรูปแบบความคิด ปฏิบัติได้ มีทฤษฎีรองรับ evidence นี้ประกอบด้วยปัจจัยทั้งสี่คือ

1.P=Person intrinsic factor : การมองจากปัจจัยภายในตัวบุคคล ตัวอย่างเช่น ด้านสรีระวิทยา ระบบต่างๆของร่างกาย,จิตวิญาณ(ความคิด อารมณ์ ร่างกาย),ด้านจิตวิทยา,การมองพฤติกรรมของบุคคล เป็นต้น

2.E=Environment extrinsic factor : การมองจากปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว ประกอบด้วย การช่วยเหลือจากคนในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมีน้ำใจต่อกัน,ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม,วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี,สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและธรรมชาติสร้าง

3.O=Occupation : กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เราสนใจ สามารถจัดการได้ มีความหมาย มีคุณค่า ทำแล้วมีความสุข มีเป้าหมาย( well being +quality of life) เป็นกิจกรรมที่ผ่านการประเมิณแล้ว โดยกิจกรรมการดำเนินชีวิตเหล่านั้นจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญคือ

จะต้องมีคุณค่าต่อผู้ป่วย มีบทบาทในการทำกิจกรรมที่ชัดเจน โดยบทบาทนั้นจะต้องเด่นและมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมากที่สุด มีการแบ่งขั้นตอนการทำกิจกรรมที่ชัดเจน มีลำดับขั้นความยาก-ง่าย ก่อน-หลัง ดูความเหมาะสม ผ่านการประเมิณจนกลายเป็นกิจกรรมที่พร้อมจะนำไปบำบัดผู้ป่วย

4.P=Performance : (source of knowledge) ความสามารถในตัวบุคคล ในที่นี้คือข้อมูลความรู้ ความรอบรู้ โดยรู้นี้คือจะต้องรู้ทั้งผู้ป่วยและตัวเราเอง กล่าวคือเราจะต้องมีความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วย สามารถประเมิณ บำบัด และรู้ว่ากิจกรรมใดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ส่วนในผู้ป่วยเองก็จะต้องมีความสามารถในการดำเนินชีวิตทำกิจกรรมต่างๆได้ตามความสามารถ รู้จักที่จะดูแลตนเอง ทั้งการพักผ่อน การออกกำลังกายการดูแลตนเองปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมถึงการทำกิจกรรมในยามว่างด้วย

โดยทั้ง 4 ตัวนี้จะรวมตัวกันเป็น "P E O P" model ที่สำคัญยิ่งสำหรับกิจกรรมบำบัด

ขอบคุณมากครับ...ดีใจที่น้องพัชรีสรุปกรอบอ้างอิงได้ยอดเยี่ยมเป็นที่หนึ่งของรุ่น

ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ ความรู้ที่ได้อ่านทำให้รู้ความหมาย (PEOP) Model ที่ชัดเจนมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท