Boston Model


คุยโวเรื่อง Boston Model

โดย ครูธานินทร  บุญยะกาพิมพ์

ครูชำนาญการพิเศษ

วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

จากข่าวที่แสดงถึงคำกล่าวของท่านเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประเด็นการใช้ Boston Model เพื่อช่วยผู้บริหารในการจัดทำแผนรับนักเรียนอย่างเป็นระบบ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2554 หลายท่านจึงเกิดความสงสัย และให้ความสนใจกับ Boston Model ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ผมจึงขอนำสาระเด่นๆ ของ Boston Model มาฝากกันดังนี้ครับ........

คนทั่วไปจะรู้จัก และคุ้นเคยกับ Boston Model ในชื่อ The Boston Consulting Group หรือ “BCG” ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการชั้นนำของโลกเลยทีเดียว “BCG” มีสำนักงานใน 41 ประเทศ   ทั่วโลก ที่น่าสนใจมากก็คือ “BCG” เป็นหนึ่งในสุดยอดบริษัทที่ติดอันดับ"Best Firms to Work For" list ของนิตยสารชั้นนำทางธุรกิจของโลกอย่าง Consulting Magazine's มาเป็นประจำทุก ๆ ปี

เมื่อกล่าวถึง “BCG” ทุกคนจะต้องมองเห็นแนวคิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.  "Growth-share matrix" เป็นแนวคิดในการจัดองค์กรออกเป็น 4 กลุ่มตามความสามารถในการดำเนินการ ได้แก่ "Stars" กลุ่มนี้เนื้อหอมครับ กำลังไปได้สวยเลย, "Cash Cows" กลุ่มนี้กินพอสมควรแต่โตช้า, "Question Marks"กลุ่มนี้ กินเก่ง โตไว แต่หาเงินไม่เก่งเลย, and "Dogs" (เดิมเรียกว่า "Pets") กลุ่มนี้ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต โดยที่ทั้ง 4 กลุ่ม จะต้องมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน(allocate) ผมขออนุญาตยกข้อความที่คิดว่าเมื่อทุกท่านอ่านแล้วจะต้องอุทานออกมาว่า “อ๋อ...มันเป็นอย่างนี้นี่เอง” เพราะข้อความที่ผมยกมานี้ จะช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนเป็นอย่างดี “to assist large corporations in deciding how to allocate cash among their business units”

2.  "Experience curve" เป็นแนวคิดที่เน้นการนำเอาประสบการณ์ ความรู้ และสิ่งต่างๆที่ได้จากการทำงานมาใช้ในการพินิจพิเคราะห์เพื่อสร้างประสิทธิภาพขององค์กร หากท่านพิจารณาข้อความนี้ให้ดี ๆ ท่านก็จะเข้าใจได้ดีขึ้นครับ “increased activity leads to increased learning” “increased learning  leads to lower costs” “low costs can lead to lower prices” “lower prices can lead to increased market share” “ increased market share can lead to increased profitability and market dominance”

สรุปว่าทุกคนต้องทำงาน(task) ให้หนักมากขึ้น อย่าขี้เกียจ ก็จะทำให้องค์กรประสบความก้าวหน้า และเป็นความก้าวหน้าชนิดยั่งยืนนะครับ

3.  “Advantage matrix” แนวคิดนี้เป็นการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ในส่วนแบ่งการตลาด(market share) กับ การเติบโตของตลาด (market growth) โดยเขาชี้ให้เห็นว่า “if you enjoy a high market share you will be making money.” สิ่งหนึ่งที่เขานำเสนอในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ การใช้ประโยชน์จาก“business port folio” เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร โดยผ่านการกระบวนการวิเคราะห์ business port folio และพัฒนายุทธศาสตร์ในการสร้างความเติบโตขององค์กร

จากข้อมูลที่ผมนำเสนอมาทั้งหมดคงทำให้มองเห็นภาพการบริหารงานอย่างทันสมัยของท่านเลขาธิการฯ ศศิธารา  พิชัยชาญณรงค์ ได้เป็นอย่างดี และก็คงเป็นเครื่องย้ำเตือนให้ชาวอาชีวศึกษาได้ตระหนักว่า “ความเจริญขององค์กรขึ้นอยู่ที่พวกเราทุกคนต้องทำงานอย่างหนัก(task) และมีประสิทธิภาพ(effectiveness)” ภายใต้บทบาทและหน้าที่ ที่ท่านผู้นำอย่าง “น.ส. ศศิธารา” ได้แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างในขณะนี้นะครับ

 

แหล่งข้อมูล:

1. http://en.wikipedia.org/wiki/Boston_Consulting_Group's_Advantage_Matrix

2. http://en.wikipedia.org/wiki/Experience_curve_effects

3. http://en.wikipedia.org/wiki/Growth-share_matrix

4. http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=23892&Key=hotnews

คำสำคัญ (Tags): #Boston Model
หมายเลขบันทึก: 444016เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2011 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท