บางคนคิดว่าตัวเองมีความสามารถในการบอกให้คนอื่นทำ ในสิ่งที่แม้ตัวเองก็ยังไม่คิดจะทำ ไม่เคยทำ หรือทำไม่เป็น


เป็นประเด็น "สองมาตรฐาน" ในการเรียนรู้ และการศึกษา ที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน

ในระบบการเรียนการสอนของเรา มีสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตมาตั้งแต่เด็ก คือ

การทำงานแบบ "สองมาตรฐาน"

ที่ทำให้เกิดความสับสนกับผู้เรียนเป็นอย่างมาก

ครูสอนศีลธรรมตอนเช้า บอกว่า

"คุณสมบัติเบื้องต้นของชาวพุทธ คือ การมีศีล ๕" 

แต่ตอนเย็นก็เห็นครูไปตั้งวงกินเหล้ากับเพื่อนๆ

อาจารย์สอนการใช้ยาปราบศัตรูพืช ที่ตระหนักในสารพิษ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้สารพิษที่ตัวเองสอนให้คนอื่นใช้

หรือ ที่ชัดๆ

อาจารย์สอนวิชาเกษตรศาสตร์ ไม่เคยปลูกต้นไม้เลย บ้านก็อยู่แบบห้องแถว ไม่มีต้นไม้สักต้น

อาจารย์บางคนพยายามอธิบายการใช้น้ำอย่างประหยัดทำอย่างไร แต่ตัวเองไม่เคยแสดงพฤติกรรมการประหยัดน้ำเลย

บางท่าน กล้าไปประกาศต่อหน้าที่ประชุมชาวบ้านว่า

"ปัญหาดินและปุ๋ยนั้นต้องถามข้าพเจ้า เพราะ ข้าพเจ้าได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑"

ชาวบ้านที่ฟังอยู่เขาไม่อยากหักหน้าศาตราจารย์ท่านนั้น เลยมากระซิบกับผมว่า

"อาจารย์ท่านนี้เคยทำดินให้ดี สมบูรณ์ ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก (อย่างที่ชาวบ้านจบ ป. ๔ ทำสำเร็จแล้วในปัจจุบัน) ให้ดูเป็นตัวอย่างสักตารางเมตรไหม"

ผมก็กระซิบกลับไปว่า

"ท่านก็แค่เคยสอนวิธีการปรับปรุงดิน แต่ท่านทำไม่เป็นหรอก จะทำอะไรที ส่วนใหญ่ให้คนงานหรือไม่ก็ลูกศิษย์ทำ"

ที่เป็นประเด็น "สองมาตรฐาน" ในการเรียนรู้ และการศึกษา ที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน

ที่คนบางคนพยายามบอกให้คนอื่นทำสิ่งที่แม้ตัวเองก็ยังไม่คิดจะทำ

ตัวเองก็ทำไม่เป็น แล้วคนที่ฟัง ก็ท่องได้ ตอบได้ แต่จะทำเป็นไหม

นี่คือสิ่งที่เป็นปัญหาในระบบกาเรียนการสอน ที่ได้แค่ "ท่องได้" แต่ทำไม่เป็น

สักพัก ก็ลืม ลืมไปว่าที่ท่องมาว่าอย่างไร

บางทีก็จำสับประเด็นกัน

การเรียนการสอนของเรา อยู่ประมาณนี้เป็นส่วนใหญ่ ทีทำให้ไม่เกิดระบบ "การศึกษา" คนเรียน อย่างมากก็ได้เป็น "นักเลียน" ยากที่จะพัฒนาตัวเองเป็น "นักเรียน" หรือ "นักศึกษา" หรือ "บัณฑิต" ตามที่เขียนไว้ในคำโฆษณา

แต่พอมาประเมินตาม KPI กลับเขียนบรรยายผลงาน และสรรพคุณเสียเลิศเลอ

แล้วคนที่มาประเมินก็เชื่ออย่างสนิทใจ (แบบไม่มีข้อสงสัย)เสียด้วย ว่า สิ่งที่ปรากฏในกระดาษนั้น เป็นจริง

เหมือนไม่เคยเป็นเด็กที่ผ่านระบบการท่องมาสอน ท่องไปสอบนี้มาก่อน

มันเป็นเช่นนั้นเอง

อนิจจัง อนิจจา

หมายเลขบันทึก: 443937เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2011 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับอาจารย์

ประเด็นนี้ทำให้ผมต้องตระหนัก เเละระมัดระวังมากขึ้นครับ ทั้งการพูด การเสนอเเนะ รวมไปถึงการสอน ...ทั้งหมดนอกจากทฤษฏีที่เรียนมา ศาสตร์ที่เป็นความรู้ภายนอกที่หาอ่านได้ ท่องจำมาถ่ายทอด เเต่หากไม่ผ่านการปฏิบัติด้วยตัวเองก็ล้วนแล้วเเต่เป็นกรณีที่อาจารย์อรรถาธิบายมาโดยทั้งหมดครับ

เป็นเรื่องยากเหมือนกันครับ มีเเต่ ปริยัติ ไม่มีปฏิบัติ ก็ไปไม่ถึงปฏิเวธ หลายคนก็นิพพานจากการอ่าน เเต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง สร้างคำพูดอย่างไรก็ได้ให้น่าเชื่อถือ

ผมเองก็พยายามเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดเวลา...และต้องขอขอบคุณอาจารย์ด้วยครับที่กรุณาชี้เเนะผมอยู่อย่างสม่ำเสมอครับ

ขอคารวะครับ

 

จตุพร

 

ก่อนนอนได้อ่านอะไรดีแบบนี้ หลับสบาย ครับ

สองมาตรฐานเห็นๆ

มีประเด็นที่น่าคิด ไม่รู้ถูกหรือเปล่า ครับ

ปัจจุบัน จบ ป.โท กันเยอะ แต่ฟังไม่เป็น คิดไม่เป็น เขียนไม่เป็น

จบ ป.เอก เต็มบ้านเต็มเมือง เด็กอ่านไม่ออกเต็มบ้านเต็มเมือง เหมือนกัน

ผมว่า จะเรียนให้ลึกซึ้ง ต้องเรียน ผ่านประสาททั้งหมด (learning by senses) ไม่เพียงแค่ อ่านผ่านตา

ระบบการศึกษาปัจจุบัน เน้นการอ่านเขียนท่องจำ เนื้อหาหลักสูตร มากล้น ไม่มีเวลาให้ คิด ค้น ทำ

ไม่มีเวลาให้ เล่น ทดลอง ดัดแปลง

ไม่มีเวลาให้ พูด คุย (ฝึกสมอง)ออกความคิด

ไม่มีเวลาให้ ออกกำลัง(รักษา)กาย

Today, we have so many 'things':

No time to break free from being 'consumers' (modern-day slaves).

No time to think differently and no time to be 'creative' -- makers of things.

[How much we use our car? One or two hours a day? More than 90% of the life of a car is wasting idle.

Why do we need a car? To go places, there are public transport for every day need, hire cars for special needs.

But we 'want to own' a car. A car is a status symbol --a dream token for being successful-- and indulgence.

Why do we own drills, when we need holes? Why do we own 12+ shirts, when we only need 2 or 3?

We are in this (Western) 21st century. We have not learned '21st century skills'.

Most still don't know what are those skills.

We should learn --what we 'need'-- and understand --what we want--.

We are running out of oil, fresh water, forests, safe food, animals, metals and minerals, materials for building, ...

We are facing climate change, polluting industries, poisonous farm practices, ...

(I will say now and reserve the right to change later.)

We need to learn to 'share' resources (not to 'own' many things).

We need to communicate our knowledge and our learning.

We need to need 'fundamental rights' to maintain order and harmony in society

(The 5 siila makes sense as fundamental rights for 'life', 'properties', 'family', knowledge and 'self abuse'.)

We need to learn and understand the consequences of our actions (the Law of Kamma).

;-)

ÄÄÄÄÄÄÄ....ยายธีชอบมากเลย..จุดนี้..ใครจะคิดตามบ้างนะ..(เคยได้มีอาชีพเป็น..ครู..ในต่างประเทศ..วันแรก..ที่ไปยืนแนะนำตัว..ก็วางตัวเป็นครู..อย่างที่เคย..เห็นและร่ำเรียนมาแต่..เด็ก..และวันนั้น "ก็หน้าแตก..และหงายท้องกับบ้านเก่า."เพราะคิดไม่เป็นทำไม่เป็น".อ้ะะๆๆ..มาอ่านบทความนี้..เลยคิดไปถึงเมื่อสามสิบปีที่แล้ว...มาตรงนี้..ในบทความนี้..เป็นธรรมดาในเมืองไทย..ไม่เปลี่ยนแปลง..เดินตามหลังผู้ใหญ่..หมาไม่กัด อ้ะ...).....บางทีมาคิดสงสัยว่า..เรือจ้าง.(ครู).ที่เราอาศัยข้าม..ฝั่ง..มีสอง...เสมอ (ดี และ เลว)...........ใน(โอกาศ)ที่ผู้เรียนยังเป็นเด็ก..อย่างไร..อะไร..ที่จะทำให้เด็ก..คิดเป็น..ทำเป็น...(เป็นคำถาม)..ในเมื่อ..สมัยนี้..นมไม่ได้ออกจากเต้า..(แม่)..หากออกจากกล่องและกระป๋อง..เงินเป็นค่าตอบแทนเกินสิ่งที่ได้รับ..กำไรที่เป็น..ขาดทุน..เสมอต้นเสมอปลาย...เดินตามฝรั่ง หมากัด.เป็นประจำ...อ้ะะะๆๆๆ..แต่ก็ยังเดินตามกันอยู่..อ้ะ....สวัสดีค่ะท่านอาจารย์..ดร. แสวง รวยสูงเนิน..

ชอบแนวคิดของอาจารย์มากค่ะ การเรียนรู้ที่แท้จริง ต้องลงมือปฏิบัติ ด้วยประสาทสัมผัสของตนเอง สัญญาณแห่งการเรียนรู้จะแรง ทำให้สมองสร้างวงจรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท