ไอที กับ ความห่างเหินในองค์กร


       คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องของการสื่อสารกันในยุคโลกาภิวัฒน์ทางไอที  อาทิ  อีเมล  เฟสบุ๊ค  ทวิสเตอร์  เอ็มเอสเอ็น  บล็อก  นั้น  เป็นสิ่งที่รวดเร็วทันใจ  แม้จะอยู่ที่ไหนในโลกก็สื่อสารกันได้  สั่งการกันได้  นี้คือประโยชน์ของไอที

 

        สำหรับองค์กรใหญ่ๆระดับโลก  ที่ผมเคยได้ยินได้ฟัง  ก็ใช้การสื่อสาร  หรือการสั่งการ  ก็ได้ผล  รวดเร็ว  ประหยัด  กับบริบทที่องค์กรใหญ่  โดยเฉพาะทางประเทศตะวันตก  ที่เน้นผลสัมฤทธิ์เป็นใหญ่

 

        ขอย่อเข้ามาองค์กรเล็กลงกว่านั้น  ซีกตะวันออก  โดยเฉพาะองค์กรในประเทศไทย  และโดยเฉพาะในระบบราชการ  ที่แต่ก่อนไอทียังไม่ก้าวหน้ามากนัก  และผู้บริหารไม่รู้ไอทีมากนัก  ก็ใช้ระบบการสื่อสาร  พูดคุย  สั่งการ  หารือ  ผ่านการประชุม  หรือหนังสือราชการ  หรือเรียกมาคุยแบบตัวต่อตัว  แบบมีมนุษยสัมพันธ์กัน  ได้คุย  ได้พูดกัน  ได้ใกล้ชิดกัน  เห็นแววตา  ทราบความรู้สึกกัน  ณ  บัดนั้น  ว่าต้องการอะไร  หรือถ้ายังไม่เข้าใจกัน  ก็อธิบายกัน  ณ  บัดนั้น  ให้เคลียร์กัน  แบบ  f2f  เกิดความผูกพันเป็นองค์กร  แบบพี่แบบน้อง  แบบมนุษย์  ทำงานกับ  มนุษย์  ด้วยกัน  ไม่ใช่หุ่นยนต์  ได้ถามไถ่สาระทุกข์สุขดิบกัน  ... 

 

        พอไอทีเข้ามาแบบก้าวไกลในปัจจุบัน  องค์กรก็ใช้ประโยชน์จากการสื่อสารผ่านทางช่องนี้  เช่น  การสั่งการ  ส่งงาน  เป็นต้น  ทำให้ระบบเก่าๆได้เริ่มเลือนหายไป  ความเป็นคนทำงานกับคนก็หายไปบ้าง  ปฏิสัมพันธ์บุคคลต่อบุคคลที่ทำงานอยู่ในองค์กรด้วยกันลดลง  การพูดคุยแบบf2fน้อยลง 

 

        ต่อไปผมคิดว่าถ้าไอทีก้าวหน้าก้าวไกลกว่า  คนก็ไม่ต้องมาสำนักงานฯ  ไม่ต้องมีสำนักงานฯ  ไม่ต้องคุย  พูดกันแบบตัวต่อตัว  ทำงานอยู่ที่บ้าน  รออีเมลสั่งงาน  และส่งงานทางเมล  ความเป็นkmแบบธรรมชาติก็คงหายไป

 

        ได้งาน  ได้ผลสัมฤทธิ์ตามkpi  และเป้าหมายแบบชั่วครู่ชั่วยาม  แต่ไม่ได้ใจคน....no  sustainable  ไม่มีความยั่งยืนในองค์กร (หลอกกันไปหลอกันมา  ถอดบทเรียน nonaka)

 

        สรุป  ผมว่า  it  กับ  การสื่อสารพูดคุยแบบตัวต่อตัว  น่าจะพบกันครึ่งทาง  ใช้ประโยชน์จากit  ที่เหมาะกับความเป็นองค์กรของใครของเรา  ลอกเลียนแบบกันไม่ได้  แน่นอนว่าองค์กรที่ใหญ่ก็ต้องใช้ประโยชน์จากส่วนนี้ให้มาก  แต่ถ้าองค์กรน้อยๆจะเลียนแบบตามก็คงไม่เหมาะสม  โดยเฉพาะในองค์กรที่คนน้อยที่ยังนั่งทำงานอยู่ในสำนักงานเดียวกัน  แบบเห็นหน้าเห็นตากันอยู่ทั้งวัน  มันก็คงไม่ใช่ครับ

 

 

    

หมายเลขบันทึก: 443357เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านบันทึกนี้แล้วก็เห็นด้วยกับพี่แจ๊คนะคะ

การสื่อสารผ่านพวก social media จะเหมาะกับองค์กรเล็กๆ มากกว่า แต่หากเป็นองค์กรใหญ่ก็อาจจะประยุกต์ใช้คุยกันภายในทีม ซึ่งก็ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ค่ะ

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจ it ก็มีส่วนดีที่ช่วยให้การปฏิสัมพันธ์เป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังเช่นกันค่ะ ^_^

ขอบคุณครับ มะปรางเปรี้ยว

สวัสดีครับอ.กัมปนาท

ผมขอแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้ครับว่า หากมีการปรับเปลี่ยนการสื่อสารโดยใช้ใจเข้าไปจับ ความสัมพันธ์ดังที่ว่า ก็จะไม่หายไปนะครับ ยกตัวอย่างง่ายๆซึ่งผมได้เรียนรู้จาก G2K พบว่า การนำเสนอสารผ่าน"เรื่องเล่า"ให้ผลสะท้อนที่ดีว่าการเสนอผ่าน"รายงานทางวิชาการ" ดังนั้นหากไม่ยึดติดรูปแบบหนังสือราชการมากไปนัก เราอาจส่งข้อความอื่นสั้นๆร่วมด้วย ทั้งนี้อาจใช้เป็นบันทึกแนบแบบ"เรื่องเล่า" ส่งไปพร้อมกัน ...วิธีนี้อาจพอช่วยให้เรารักษาน้ำใจจากเพื่อนร่วมงานได้อยู่นะครับผมว่า

ขอบคุณครับท่าน

Ico48

g2k ก็เป็นเวที  ลปรร  ที่ดีสำหรับคนทำงาน  คนอยู่ละแห่งละหนครับ

thank a lot for your comment

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท