ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 4.5 ทำท่อวัดระดับน้ำ Magic Tube ในเเปลงนา


ทำได้ง่ายๆ ช่วยประหยัด น้ำ ต้นข้าวเเข็งแรง ระบบรากดี ลองศึกษาทำความเข้าใจดูนะครับ

ผ่านไปหลายบันทึกแล้วสำหรับชาวนาวันหยุด

ตอนนี้มาถึงขั้นตอน การทำ ท่อวัดระดับน้ำในเเปลงนา

วัตถุประสงค์

-เพื่อวัดระดับน้ำในเเปลงนา ว่าระดับน้ำใต้ผิวดิน เเห้งลงไปเท่าไร

(อุปกรณ์สนับสนุน ระบบเเปลงนา "เปียก สลับ เเห้ง แกล้งข้าว")

-เพื่อล่อรากข้าว ให้มีการยืดตัวออกหาอาหารมากขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง แมลงไม่กวน


-ป้องกันปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (AWD ทำให้ C:N ratio สูง)


-เพื่อประหยัด "น้ำ" ในการทำนา หรือ "ใช้เท่าที่ข้าว จำเป็นต้องใช้"


- ป้องกันปัญหานาหล่ม(มีเปียก สลับเเห้งให้ดินได้ set ตัว) ต้นข้าวก็ไม่ล้มเวลาเก็บเกี่ยว (เพราะมีระบบรากที่ดี) ผลผลิตก็ไม่ร่วงหล่น แล้วก็บ่นๆ กันไป (50-80กก./ไร่)


-เป็นการปฏิบัติต่อยอดจากการได้เรียนรู้ ผ่าน อาจารย์ "ยู้"(Youtube) และ อาจารย์ "กู้"(Google) ครับ


ย้อนกลับไปศึกษาเรื่องนี้ได้จาก สารบัญ นะครับ

       ว่าแล้ว อย่ารอช้า ครับ ไปร้านขายวัสดุก่อสร้าง กับ "พี่หริด ผู้ชำนาญการงานช่างฝีมือ"  ไปซื้อท่อ PVC หน้า 4 นิ้วมา

ความยาว 4 เมตร แบ่งความยาวท่อนละ 25cm. ได้ทั้งหมด 16 ท่อน นำไปเจาะรู จำนวน 40 รู  ต้นทุน ต่อท่อน ก็ เท่ากับ 310/16= 19.37 บาท (ยังไม่รวมค่าแรงเจาะ)


สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ ได้หลายรอบ จนกว่าท่อ จะกรอบ และแตก ครับ ถึงช่วง หน้าเกี่ยวข้าว ก็เก็บขึ้นมา ลงนารอบต่อไป ก็นำกลับไปใช้ใหม่ ... ประหยัด???


ตามไปชมรูปกันครับ งานนี้ ยกให้กับพี่หริด 

 











        


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 อยากจะรู้ว่า "ประหยัด น้ำ "และต้นข้าวแข็งแรง  หรือไม่ ต้องลองทำดู ถึงจะรู้นะครับ  

หมายเลขบันทึก: 443249เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

*มาอ่านต่อด้วยความสนใจค่ะ..ครบวงจรจริงๆ..

*เก็บภาพเมฆรูปกระต่ายจากหน้าบ้าน ที่กำลังจะกลายเป็นฝนมาฝากค่ะ..

Ico48 ขอบคุณภาพสวยๆจากพี่ใหญ่ครับ 

ลองมาเป็นชาวนาวันหยุด กันมั๊ยครับ ... 

ตามอ่านมานานแล้ว วันนี้ขอฝากร่องรอยไว้สักหน่อย
ที่นำเสนอส่วนมากเป็นนาปรัง ไม่ทราบเข้าใจถูกไหม

ถ้านาปีสมัยนี้ จะเหมาะกับวิธีที่คุณต้นกล้านำมาใช้มากน้อยเพียงใด

 กราบนมัสการ พระคุณเจ้า Ico48ครับ

รอบการผลิต ที่นำเสนอในบันทึกนี้เป็นนาปรังครับ  สำหรับ รูปแบบ "การแกล้งข้าว" นี้ สามารถทำได้ทั้งนาปี และนาปรังครับ จะต่างก็ตรงที่ นาปี น้ำท่าจะมีมาก อาจจะไม่สามารถคุมน้ำเปียก -แห้ง อย่างที่ต้องการ ครับ

แต่จะไม่เหมาะกับพื้นที่ดินเค็มครับ ข้าวอาจจะตายได้ ...

    ขั้นตอนนี้ต้องเป็นหน้าที่ของพ่อใหญ่สอ "ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้" ค่ะ แกถนัดงานช่าง เพราะมีตาเป็นช่าง ตัวเองก็เป็นอาจารย์ที่สอนและให้การอบรมครูในการผลิตสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้ทักษะเชิงช่างทุกแขนง ที่ผ่านมาแกก็ทำระบบน้ำหยดให้มะนาวที่ปลูกในท่อด้วยตนเอง ไปตระเวณหาตัวอย่างดูแถวอำเภอใกล้เคียงก็ไม่มีที่ไหนให้ดู ก็เลยสืบค้นทางเน็ทให้แกศึกษา

Ico48 เรียนอาจาย์วิไล

พอลงมาทำนาวันหยุดแล้วรู้เลยครับว่า ต้องเรียนรู้ + ปฏิบัติ แบบสหวิทยาการ และมีหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ มาช่วยกันทำ ...พี่หริดแกเป็นช่างฝีมือ เคยทำงานก่อสร้าง ปัจจุบันก็ยังทำอยู่ รับงานของเพื่อนบ้าน เวลาส่วนใหญ่ก็ดูแลเเปลงนา 

ผมก็ได้พี่หริด เป็นอาจารย์ผมอีกคนหนึ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท