การแปลข่าวและสารคดี


การแปลมีเนื้อหาสาระสำคัญ ขบวนการในการแปล วัตถุประสงค์ของผู้แปล แง่มุมต่างๆของการแปล ลักษณะงานแปลที่ดี และลักษณะการแปลที่ควรหลีกเลี่ยง

ขบวนการแปล

      สำหรับในขบวนการแปลนั้น  ผู้แปลเป็นเสมือนตัวกลาง  หรือสื่อระหว่างสองภาษา คือ ภาษาต้นฉบับและฉบับแปล  ทันทีที่เห็นบทต้นฉบับไม่ใช่ว่าผู้แปลจะลงมือแปลได้ทันที  จะต้องมีเวลาที่หยุดคิดคำนวณว่า จะตีความหมายของฉบับต้นภาษาอย่างไร   ควรใช้คำและความหมายใดจึงจะเหมาะสม  รัดกุม  และครบถ้วน  เมื่อคิดได้แล้วว่าทำอย่างไรจึงจะได้ใจความที่ถอดแล้ว ได้ครบถ้วนและถูกต้อง  จึงลงมือแปล นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลายองค์ประกอบมาช่วยในการตัดสินใจว่าควรแปลอย่างไร   คือเรื่องของภาษา  ไวยกรณ์  สำนวน  วัฒนธรรมที่ไม่มีในภาษาที่แปล  บางกรณีต้องมีการเพิ่มคำอธิบายใน  Footnote  หรือบางกรณีต้องแต่งขึ้นใหม่ให้เข้ากับวัฒนธรรมฉบับแปล   เพราะฉะนั้นในขบวนการแปล  มีอยู่  3 อย่างที่สำคัญคือ

      1.   งานต้นฉบับ

      2.   ผู้แปลซึ่งเป็น  ตัวกลางหรือสื่อ 

      3.  ผู้อ่านฉบับแปล

 

   ที่มา    การแปลข่าวและสารคดี     คณะมนุษย์ศาสตร์    มหาวิทยาลัยรามคำแหง   

               รองศาสตราจารย์   วัลลภา         เออร์วายน์

 

วัตถุประสงค์ของผู้แปล

แน่นอนที่สุดนักแปลทุกคนย่อมต้องการให้งานแปลของเขามีคุณภาพ  และเป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน  ผู้แปลควรตั้งเป้าหมายว่าวัตถุประสงค์ในงานแปลของตนเองคืออะไร  และวัตถุประสงค์โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น   3  อย่างด้วยกัน

1.การแปลให้ตรงกับต้นฉบับอย่างถูกต้อง

ผู้แปลต้องทำความเข้าใจกับงานต้นฉบับก่อนว่า   ผู้ประพันธ์มีวัตถุประสงค์อย่างไรในการผลิตงานชิ้นนั้นออกมา    เช่นเขียนเพื่อความบันเทิง  หรือให้ข้อมูล หรือว่ากระตุ้นให้กิดอารมณ์ทางหนึ่งทางใด  ถ้าผู้แปลเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์ได้อย่างถ่องแท้  ผลงานแปลย่อมไม่คลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับ

 2.การแปลให้เป็นธรรมชาติ

ผู้แปลต้องคำนึงอยู่เสมอว่า งานแปลที่แปลแล้วต้องไม่มีโครงสร้างทางไวยากรณ์ ของภาษาต้นฉบับ

แปลเหลืออยู่   อย่าลืมว่าผู้อ่านไม่ได้ใช้ภาษาเดียวกับภาษาต้นฉบับแปล  จึงต้องแปลออกมาแล้ว

ราบเรียบ ไม่มึนงง  ต้องแปลในสมองอย่างที่เรียกว่าแปลไทยเป็นไทย  อ่านฉบับแปลแล้วรู้สึก

เหมือนอ่านต้นฉบับเองเลย  จึงจะเรียกได้ว่าแปลแล้วได้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ

3.การแปลให้เป็นที่ยอมรับก่อนที่จะลงมือแปลควรปรึกษาสำนักพิมพ์เสียก่อนว่า  หนังสือหรือเอกสารจะเป็นที่สนใจของมวลชนหรือไม่   ผู้แปลควรคำนึงถึงตลาดผู้อ่านว่าใครเป็นผู้อ่าน   และระดับความรู้ของผู้อ่านอยู่ในระดับใด  งานนั้นต้องจำเป็นใช้คำเฉพาะมากไหม

 

         ที่มา การแปลข่าวและสารคดี   คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

           รองศาสตราจารย์   วัลลภา   เออร์วายน์

 

แง่มุมต่างๆของการแปล

1. การแปลเป็นศาสตร์  เป็นความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการแปล  รอบรู้ถึงภาคปฏิบัติ และภาคทฤษฎีที่เหมาะสม   ความรู้นี้เป็นสิ่งที่นักแปลเรียนรู้ได้  อันจะช่วยหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการแปล   สามารถแก้ปัญหาในการแปลได้อย่างรวดเร็ว  และทำให้งานแปลมีคุณภาพ

2. งานแปลเป็นทักษะ  ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างมาก  ประสบการณ์ในการแปล  จะช่วยให้แปลได้

อย่างรวดเร็ว   คล่องแคล่ว ถูกต้อง  และมั่นใจ

3.  งานแปลเป็นศิลปะ   สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้แปลจะต้องมี  ศิลปะในการใช้ภาษา  มีความ

คิดสร้างสรรค์ในงานแปล    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ในการแปลที่มีวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียม   สำนวนต่างๆ   ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากภาษาที่แปล   จำเป็นต้องคิดคำที่สร้างสรรค์ในภาษาที่แปลให้เป็นธรรมชาติที่สุด   และนักแปลเองต้องมีศิลปะในการเป็นนักอ่านที่ดีด้วย

  ที่มา   การแปลข่าวและสารคดี  คณะมนุษยศาสตร์   มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  รองศาสตราจารย์   วัลลภา    เออร์วายน์

 

ลักษณะงานแปลที่ดีควรมี

1.ภาษาที่ชัดเจน  กระชับ

2.รูปประโยคสั้นๆ  เข้าใจง่าย อ่านแล้วไม่กำกวม

3.คงรูปแบบการเขียนของต้นฉบับไว้ได้

4.ปรับปรุงแต่งถ้อยคำและสำนวนให้เข้ากับธรรมเนียมและสังคมของผู้อ่านได้  ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้

อย่าง่าย

5.ถ้ามีคำพังเพย ( saying) ในต้นฉบับ  พยายาม หาคำพังเพย   คำสุภาษิตในภาษาที่แปลแล้วให้สอด

คล้องกันเช่น

 To catch somebody  red-handed.

 จับได้คาหนังคาเขา

  Still water runs deep.

  น้ำนิ่งไหลลึก

ลักษณะการแปลที่ควรหลีกเลี่ยง

1.การใช้ภาษาหรูหรา วกวน  อ้อมค้อม

2.การใช้ประโยคซับซ้อน

3.ควรหลีกเลี่ยงการแปลตามตัวอักษรทั้งในประโยคธรรมดาและบทสำนวน   สุภาษิต  คำพังเพยต่างๆ  ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจได้

          


ที่มา : วัลลภา เออร์วายน์. (ม.ป.ป.). การแปลข่าวและสารคดี.  

                  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

          

หมายเลขบันทึก: 443215เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2011 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท