ระดับของการเรียนรู้


บันทึกนี้ขออนุญาตนำระดับการเรียนรู้ของท่านพุทธทาส มาเผยแพร่เพื่อการต่อยอดและเติมเต็มจากบันทึกทั้ง 3 ลักษณะ จากบันทึก ละอองความรู้ 24 :ลักษณะของการเรียนรู้ ครับ

ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า

การเรียนรู้นั้นอาจมองได้เป็น 3 ระดับ คือ (1.) รู้จำ  (2.) รู้จริง และ (3.) รู้แจ้ง 
    
รู้จำ  ได้แก่ การเรียนรู้ตามตัวบท  ตามตัวหนังสือ  หรือตามคำสอน  เป็นการเรียนแบบที่มุ่งเน้นการท่องจำให้พูดได้   เจื่อยแจ้วเป็นนกแก้วนกขุนทอง ครั้นเมื่อถึงเวลาสอบใครที่ตอบได้ใกล้เคียงกับที่อาจารย์สอนมากที่สุดก็จะเป็นผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด  และครอบคลุมกิจกรรมในส่วนของการฝึกฝนอันเป็นผลมาจากการฝึกอบรม (Training) อีกด้วย  เพราะเห็นว่าการฝึกฝนส่วนใหญ่ก็มักจะเน้นการจดจำขั้นตอนต่างๆ ไว้ อย่าหยุดการเรียนรู้อยู่เพียงแค่ระดับนี้ 
รู้จริง  ซึ่งน่าจะเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา  เพราะการเรียนรู้ระดับนี้จะเน้นที่ความเข้าใจเป็นหลัก  เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยข้อมูล อาศัยการวิเคราะห์  เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องเหตุเรื่องผล  เป็นการศึกษาที่อิงการปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดความแจ่มชัดในเรื่องต่างๆ เป็นการเรียนรู้อันเกิดจากการกระทำที่เรียกว่า  Learning by doing  เป็นการเรียนรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์จริง  เป็นการศึกษาที่ได้มาจากการสังเคราะห์สถานการณ์ ทำให้เกิดความเข้าใจในบริบท  จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 

รู้แจ้ง อันหมายถึงการเรียนรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของความจำ แต่เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจผ่านการกระทำ ผ่านความรู้สึก  เป็นเรื่องของสามัญสำนึก  และจิตวิญญาณ  เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการมองโลก สรุปว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจิตใจโดยตรง การเรียนรู้  2 ระดับแรกสอนให้คน คิดเป็น ทำเป็น  ส่วนการเรียนรู้ในระดับที่ 3 จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้คน  คิดถูก ทำถูก

 

 

การศึกษามิได้ช่วยให้เราได้เรียนรู้ เพื่อมุ่งไปสู่ความสุขในชีวิตหรอกหรือ

หมายเลขบันทึก: 44310เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
การรู้จัง รู้แจ้ง รู้จริง ที่ถูกถ่ายทอดผ่่านบันทุก ความรู้คือพลัง เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคำอธิบายทั้งหมดในบันทึกเรื่องนี้ได้ดีทีเดียวนะครับ

4 รู้+

1. รู้จิตใจ

2. รู้จับใจ

3. รู้จดจำ

4. รู้น้อมนำชีวิต

4 แจ้ง +

1. แจ้งความประสงค์

2. แจ้งกระจ่างจิต

3. แจ้งเกิด

4. แจ้งเหตุผลเพื่อวิเคราะห์ปัญหา

หากรู้อย่างนี้แล้วทำไมถึงไม่รู้ซึ่งถึงใจบ้างละครับ
  • ขอบพระคุณมาก ๆ เลยครับนายบอนที่สกัดข้อคิดออกมาได้โดยใจอีกแล้ว
  • แต่ข้อคิดเห็นที่สอง อันนี้ถามผมหรือเปล่าครับ
  • ถ้าถามผมนี่ คงจะต้องขอเวลาไปนอนคิดหลายตลบหน่อยครับ เพราะคำถามเด็ดมาก ๆ ครับ
  • ขอบพระคุณคุณ น.เมืองสรวงเป็นอย่างยิ่งเลยครับ
  • ที่นำสิ่งดี ๆ มาเติมเต็มให้กับบันทึกนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ
  • ถ้าอย่างไรขออนุญาตนำไปคิดและทดลองใช้เดี๋ยวนะครับ
  • ถ้าได้ผลอย่างไรแล้วจะรีบกลับมาแจ้งให้ทราบครับ

สั้น ง่าย ได้ใจความดีค่ะ

เราซาบซึ้งในคำสอนของท่านพุทธทาสเช่นกันนะ

แล้วเรื่องBlog ของพี่ไปถึงไหนแล้วคะ

อีกคำถาม

หากเราจะทำKM ในการทำกิจกรรมในห้องเรียนแบบไม่เป็นทางการ telling Story เป็นคำตอบที่ดีที่สุดหรือปล่าวคะ

 

  • ขออภัยเป็นอย่างยิ่งเลยครับ "พี่เฟิร์น" ที่ตอบช้าไปหน่อยครับ
  • ยังซาบซึ้งในรสพระธรรมไม่เปลี่ยนแปลงนะครับ
  • อุตรดิตถ์ตอนนี้ปลอดภัยจากน้ำท่วมดีแล้วใช่ไหมครับ
  • สำหรับบล็อคของพี่นั้น เนื่องจากอินเทอร์เนทที่นี่ช้าเป็นเต่าเลยครับ จะทำที่ไรปวดหมองทุกทีเลยครับ
  • สำหรับคำถามที่สองนั้น telling story ก็เป็นวิธีที่ดีทางหนึ่งครับ
  • แต่ทางที่ง่ายที่สุดและดีที่สุดนั้น อาจารย์คุณแม่ของพี่เชี่ยวชาญมาก ๆ ครับ
  • ก็คือนำ PAR เข้าใจใช้ทำกิจกรรมห้องครับ
  • เพราะเวที PAR กับเวทีจัดการความรู้ ก็คือเวทีเดียวกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท