การเรียนการสอนแบบ Deliberate practice


โปรดสังเกตนะครับ ว่าการวิจัยนี้เล็กนิดเดียว แต่ลงพิมพ์ในวารสาร Science ได้ เพราะวารสารนี้เขาต้องการส่งเสริมให้ปฏิรูป (ปฏิวัติ) การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เสียที เปลี่ยนจากการสอนแบบ lecture-based มาเป็น PBL / Deliberative / Academic Transformation

         นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค. ๕๔ หน้า ๘๔ ลงเรื่อง Teaching methods. An alternative vote. Applying science to the teaching of science  อ้างถึงผลการวิจัยที่ลงพิมพ์ในวารสาร Science ฉบับวันที่ ๑๓ พ.ค. ๕๔ (vol 332, pp. 862 – 864) คือเรื่อง Improved Learning in a Large-Enrollment Physics Class โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย บริติช โคลัมเบีย

 

          บทความนี้บอกว่าเขาทดลองวิธีเรียนรู้แบบ deliberate practice กับวิธีที่อาจารย์สอนหน้ากระดาน (หน้าชั้น)   ว่าได้ผลต่างกันอย่างไร   ข้อสรุปคือ วิธี deliberate practice ให้ผลดีกว่าอย่างมากมาย  ผมจึงลองค้นว่า deliberate practice หมายความว่าอย่างไร   ได้ข้อความที่น่าสนใจมาก อ่านได้ที่นี่

 

          มันก็คือตระกูลเดียวกันกับ PBL และ Academic Transformation นั่นเอง   แต่ผู้เขียนเรื่อง deliberative practice ระบุขั้นตอน ๘ ขั้นตอน ไว้อย่างดีมาก ผมขอแนะนำอาจารย์และครูเพื่อศิษย์อ่านทำความเข้าใจ ๘ ขั้นตอนของ deliberative practice ที่นี่  แล้วเราจะจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิด 21st Century Skills ได้ดีขึ้น

 

          ที่น่าสนใจคือ บทความในวารสาร Science เป็นการทดลองสอนวิชาฟิสิกส์ ที่เป็น calculus-based course ด้านแม่เหล็กไฟฟ้า  แก่ นศ. ระดับ ป. ตรี วิศวกรรมศาสตร์ ปี ๑ เทอม ๒   โดยที่ นศ. ทั้งหมดมี ๘๕๐ คน  แบ่งการสอนเป็น ๓ กลุ่ม โดยอาจารย์ต่างคนกัน   ที่นำมาทดลองเป็นกลุ่มที่ ๑ จำนวน ๒๖๗ คน   และกลุ่มที่ ๒ จำนวน ๒๗๑ คน   การทดลองทำเพียงสัปดาห์เดียว คือสัปดาห์ที่ ๑๒ ของเทอม  เวลาเรียน ๓ ชั่วโมง เรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า   ทั้ง ๒ กลุ่มนี้ได้รับการทดสอบหลายอย่างว่ามีความสามารถเท่ากัน   และผู้สอนของทั้งสองกลุ่มมีการตกลงกันอย่างชัดเจนว่าเรื่องที่จะสอนและวัดผลในสัปดาห์ที่ ๑๒ คืออะไรบ้าง   และร่วมกันออกข้อสอบสำหรับสัปดาห์ที่ ๑๒

 

          กลุ่มที่ ๑ สอนแบบบรรยายตามปกติ โดยอาจารย์ที่ นศ. ประเมินว่าสอนเก่ง   นักศึกษาได้รับการบ้านประจำสัปดาห์  มีการติว และเข้าห้องปฏิบัติการ   และมีการทดสอบเก็บคะแนน   ซึ่งเป็นการเรียนตามปกติ   กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ (control)  

 

          กลุ่มที่ ๒ สอนแบบ deliberate practice   ผู้สอนเป็นมือใหม่ คือคนหนึ่งเป็น postdoc  อีกคนหนึ่งเป็น นศ. ป. เอก ที่ทำหน้าที่ช่วยสอน   และไม่มีการบรรยายเลย   การเรียนประกอบด้วย (๑) การบ้านให้อ่านมาก่อนเข้าชั้นเรียน ความยาว ๓ – ๔ หน้า  (๒) การ quiz ก่อนเริ่มเรียน  (๓) การตั้งคำถามเพื่อความเข้าใจ ให้ นศ. จับคู่หารือกัน  (๔) การเรียนโดยการแก้ปัญหาหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย  (๕) feedback โดยอาจารย์ในชั้นเรียน
   
          การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยนั้น นศ. ต้องเขียนรายงานของตนเองส่งอาจารย์เพื่อตรวจให้คะแนน  เป็นคะแนนเก็บ

 

          เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง   ผลในด้าน อัตราการเข้าเรียน  อัตราการมีส่วนร่วม (engagement)   และคะแนนสอบ   ของกลุ่มทดลองดีกว่าอย่างชัดเจน   รวมทั้ง นศ. ก็ชอบวิธีเรียนแบบใหม่นี้ด้วย

 

          โปรดสังเกตนะครับ   ว่าการวิจัยนี้เล็กนิดเดียว   แต่ลงพิมพ์ในวารสาร Science ได้   เพราะวารสารนี้เขาต้องการส่งเสริมให้ปฏิรูป (ปฏิวัติ) การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เสียที   เปลี่ยนจากการสอนแบบ lecture-based มาเป็น PBL / Deliberative / Academic Transformation

 

          แม้จะเป็นการวิจัยที่เล็กและสั้นเพียงสัปดาห์เดียว   แต่กระบวนวิธีวิจัยรัดกุมมาก   ผมขอแนะนำให้อาจารย์ที่สนใจสอน อ่านรายละเอียดของรายงานวิจัยชิ้นนี้   อ่านเอกสารอ้างอิง   และการอภิปรายเพิ่มเติมใน Supporting Online Material   ที่เขาให้รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความน่าเชือถือ   รวมทั้งการอภิปรายเรื่อง Hawthorn Effect ด้วย

 

          เป็นตัวอย่างของงานวิจัยด้านการเรียนการสอน ที่มีคุณภาพสูง

 

          อาจารย์ที่สอนวิชาฟิสิกส์ ควรอ่านรายงานผลการวิจัยชิ้นนี้

 

 

วิจารณ์ พานิช
๒๑ พ.ค. ๕๔   

                           
         
          
          
หมายเลขบันทึก: 442081เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2011 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

There is a sketch on 'learning by senses' as a deeper and underlying theory of learning. PBLs and experiential learning would fit into this framework.

Learning by Senses is about honing our senses to receive 'data' (without 'emotional entanglements') the to learn from sense-experiences. The main point is by improving sense-reception, process-computation, and reality-verification, we will improving our senses and our learning ability.

No, it is not my theory. No, it is more than that generic 'experiential learning' (experience gives rise to more persistent knowledge). It is 2554 years old. A form of it is so-called (Buddhist) 'meditation'.

Please see: 6. "A sense to connect, match, think and know" http://www.gotoknow.org/blog/learnersweb/385770

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท