ได้ใช้ประโยชน์จากตารางบันทึกและตรวจสอบการกินยาของพ่อ


เมื่อถึงเวลาที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ การสังเกตอาการและการจดบันทึกรายละเอียดเรื่องยาจึงเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ

เมื่อถึงเวลาที่มีเหตุสุตวิสัย เช่น อาการท้องเสีย เป็นต้น เจ้าเครื่องมือจดบันทึก ซึ่งเป็นกระดาษแผ่น A4 มันมีความหมายเหลือเกิน (เขียนเล่าไว้ในบันทึกลองทำตารางบันทึกและตรวจสอบการกินยาของพ่อ)

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พ่อมีอาการถ่ายเหลว จึงไม่รอช้าที่ต้องพาไปพบคุณหมออย่างรวดเร็วค่ะ

คุณหมอถามอาการของพ่อเกี่ยวกับเรื่องขับถ่าย เพื่อความมั่นใจก็เปิดกระดาษที่ทำตารางบันทึกเอาไว้ เพราะนอกเหนือจากข้อมูลการกินยาแล้ว ยังมีข้อมูลเรื่องการขับถ่ายและอาการอื่นๆ ที่บันทึกไว้อยู่ด้วย

เมื่อคุณหมอถาม เราจึงสามารถอ่านรายละเอียดและดูภาพรวม แล้วก็เปิดตารางบันทึกให้คุณหมอดู อย่างน้อยข้อมูลที่มีอยู่ในมือจากกระดาษเล็กๆ นี้ ก็ช่วยให้สมองเราไม่ต้องจดจำอะไรมาก ที่สำคัญมันเป็นสิ่งที่แม่นยำ เพราะเวลาจะจดอะไรลงไป ต้องตั้งสติและจดจ่อกับมัน เพราะข้อมูลที่ลงไปจะได้ใช้ประโยชน์แน่นอนค่ะ

ด้วยการทดลองใช้งาน กับเหตุการสุตวิสัย 2-3 ครั้ง ก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ได้ผลดีในการตรวจสอบเรื่องการจัดยาให้พ่อและยังเป็นข้อมูลที่เราสามารถใช้ในการพูดคุยและบอกอาการของคนไข้ให้คุณหมอได้ดีขึ้น เพราะมีการลงวันที่ที่ชัดเจน จึงทำให้ข้อมูลไม่คลาดเคลื่อนนัก

หากผู้อ่านท่านใด ต้องดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อยากจะให้ลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่ามีวิธีการอย่างไรกันบ้าง มีวิธีการจัดยาและจดบันทึกยังไงบ้าง มาแลกเปลี่ยนกันนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 441244เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2011 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2014 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชื่นชอบแนวคิดริเริ่มสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง....

แม่พี่อายุ 84 ปี ชอบลืมกินยาเป็นประจำ หาวิธีการจัดยา  ทั้งคนจัดก็จะได้ทำทีเดียวต่อวัน

หาตลับ..ที่มีช่อง 5 ช่อง พิมพ์ติดบนตลับด้วยนะคะ....

ยาตามเวลา

  • ก่อนอาหารเช้า
  • หลังอาหารเช้า
  • ก่อนอาหารกลางวัน
  • หลังอาหารเย็น
  • ก่อนนอน

แม่เรากินยาครบไหม ก็ตรวจสอบได้จากตลับยาที่จัดไว้ค่ะ

อาจารย์ใช้อย่างที่พี่แก้วบอกเช่นกันค่ะ จัดไว้ให้พ่อให้เสร็จสรรพในแต่ละมื้อ ถ้าใส่ตลับแล้วดูยาก ก็ใส่ถุงซิบเล็กๆ เขียนตัวโตๆ ไว้หน้าซองว่ามื้อไหนมื้อไหน แล้วจัดเผื่อไปเลยเป็นอาทิตย์

Yes, history of medication is very useful.

In facts doctors do like to have history of 'everything': family health, previous illnesses, previous admissions (into hospitals or major treatments: operations, therapies, ...), and so on. These days, history of where and how we live (chemicals, environments, financial stresses and so on), what we have been eating, playing, wearing, ... may reveal useful information on possible causes of our 'medical conditions'.

The problem is of course the vast amount of information on each and every patient will overwhelm even fast-reader doctors. Doctors do not really have that much time to do 'homework' before seeing (5 minutes) and prescribing medical treatments (2-3 minutes) to each patient (10 minutes including 'hello' and 'see you later').

IT systems can help here in collecting, storing, searching and reporting patients' information. Accurate data collection is a problem. Graphic data is another major headache.

Medical reports as they are today are full of 'jargon' that only a few doctors can understand --> patients have no part in looking after or becoming participants in their own health --> medical treatments are mystery black-boxes. Plain and Simple reports (with colour coded information and or graphics) that patients can also understand (eg. too much Potassium printed in red and linked to course of actions to reduce Potassium [e.g. bananas, ...] ).

Plain and Simple medical reporting lets patients take parts in look after themselves; reduces time hence costs; allows information sharing (social networking) among patients and medical providers to converge to 'best practice' (treatment for patients and doctors); ...

I am sure we can sit down and list a few more good things. But let us focus on the key ingredient 'Plain and Simple' information that patients -- ordinary people can understand. In the longer term, people will be able to do more in looking after themselves -- by themselves.

;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท