"หมอครับ ผมอยากตายอย่างสงบครับ"


"หมอครับ ผมอยากตายอย่างสงบครับ"

เมื่อวานนี้ (26 พ.ค.) ผมกับพี่เต็มศักดิ์ ช่วยกันจัด workshop ให้แก่บุคลากรในการเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่ พรบ.สุขภาพมาตรา 12 ว่าด้วยสิทธิในการปฏิเสธการรักษา (ราชบัณฑิตให้เรียก "สัญเจตนาไม่ยื้อชีวิต") รอบนี้เป็นรอบที่สอง มีคนมาร่วม 28 คน (ตอนเช้า และเหลือ 22 คนตอนบ่าย หลังบางท่านต้องไปขึ้นเวร)

งานนี้เรามีกลุ่มผู้เข้าร่วมที่เป็นทั้งพยาบาล (รุ่นพี่ รุ่นน้อง หัวหน้าหน่วย และแกนนำ) และฝ่ายสิทธิประโยชน์ ฝ่ายจัดการความเสี่ยง ซึ่งเป็น non-M.D. พยาบาลมาจาก ward สูติและกุมารเป็นส่วนใหญ่ มีแพทย์เพียงท่านเดียวคืออาจารย์ประสินจากภาควิชากุมาร

ทางวิทยากร/กระบวนกรก็มีอาจารย์เต็มศักดิ์และผมที่เป็นแพทย์ มีน้องหนุ่ม พิธีกรประจำของคณะแพทย์ฯแต่คราวนี้มาเนื่องจากเธอจบนิติมา มีความรู้เรื่องกฏหมาย ซึ่งพอดีเป็นองค์สำคัญสำหรับงาน workshop คราวนี้โดยเฉพาะ

พวกเราเปิดเผย agenda ในการจัดครั้งนี้ชัดเจน ก็คือเป็นการ "ฉวยโอกาส" ตีเหล็กกำลังร้อน เพราะ พรบ.ฉบับนี้ ประกาศใช้ และกฏกระทรวงออกลงในพระราชกิจจานุเบกษาเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ครบ 210 วันที่กฏกระทรวงเริ่มมีผลทางปฏิบัติไปเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมปีนี้เอง แต่ที่เรานำมาทำ workshop เราไม่ได้เน้นเฉพาะ "สัญเจตนาไม่ยื้อชีวิต" หรือ Advance Directive เท่านั้น แต่เรา focus และเน้นเรื่อง Advance Care Plan เป็นสำคัญที่สุด

ก่อนที่จะมีใครเริ่มปวดศีรษะ ไม่ต้องตกใจกับ terms เหล่านี้ หรือภาษาไทยอันต้องแปลเป็นไทยอีกรอบ ตัวเนื้อหานั้นเข้าใจไม่ยากครับ

Advance Care Plan ที่พี่เต็มศักดิ์ ผม และอีกมากมายหลายท่านที่ทำงาน palliative care เป็น "บทสนทนาและข้อตกลง" ที่เกี่ยวกับการดูแลคนป่วย ระหว่างทีมรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยและญาติ สิ่งที่ได้จากการสนทนานี้ก็คือ "ความชัดเจน" ในหลายๆเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปราถนาสุดท้าย อาทิ การตายอย่างมีศักดิ์ศรีและสง่างามสำคัญแต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร ควร (หรืออยาก) เกิดขึ้นที่ไหน มีใครอยู่บ้าง มีเครื่องมือเครื่องไม้สักกี่ร้อยชิ้นที่จะหลงเหลือล่ามติดตัวผู้ป่วยจนถึงวินาทีสุดท้าย ฯลฯ สุดท้าย advance directive หรือ ตัวสัญเจตนาไม่ยื้อชีวิตก็อาจจะเป็นกระบวนการขั้นตอนสุดท้าย เหมือน icing แต่งหน้าเค้กให้สวยงามที่สุดนั่นเอง

ขั้นตอนของ workshop เราเน้นที่ "เจตนา ความต้องการ และการมีส่วนร่วม" เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ก่อนที่เราจะพูดถึงแบบฟอร์มอะไรต่างๆ และรายละเอียดทางตัวบทกฏหมาย ขั้นตอนนี้ประสบการณ์ตรงจากผู้อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานมีประโยชน์มาก แต่ละท่านมีเรื่องเล่า มีปัญหา และมีวิธีที่สำเร็จเฉพาะรายต่างๆมาแลกเปลี่ยนกัน ทักษะในการสื่อสารอย่างละเอียดอ่อน เพราะเรื่องนี้ไม่ควรทำอย่าง academic เกินไป หรือออกไปทางกฏหมายเกินไป แต่เป็นเรื่องชีวิตของคนๆหนึ่งจริงๆที่กำลังมีความปราถนาสดท้าย ที่เผอิญเราและทีมจะต้องมีส่วนในการดูแล the last wish ตรงนี้

เราเน้นเรื่องของ "การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการเกิดความไว้วางใจ" ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด

เรื่องตายอย่างไร จะพูดแบบง่ายๆขอไปที พูดแบบยากๆ เศร้าๆ หรืออะไรได้หลายแบบ แต่ "นัยยะสำคัญ" ของเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้าของชีวิตจริงๆ และคนที่ใกล้ชิด ไม่เคยมีความสำคัญน้อย มีแต่มากจนถึงมากที่สุด การดูแลเรื่องอารมณ์ความรู้สึก (ทั้งของตนเอง และของคนไข้และครอบครัว) เป็นทักษะที่สำคัญและอาจจะยากสำหรับใครก็ตามที่ไม่คุ้นชินกับเรื่องความตาย ดังนั้นเราจะ approach เรื่องนี้แบบนักปรัชญา เล่น verbal swordplay ไปให้สวยงามขนาดไหน มันก็ไม่สำคัญและผิดประเด็น แต่เราจะต้องทำเรื่องนี้เพราะความเข้าใจมนุษย์ เคารพมนุษย์ เคารพชีวิต และศักดิ์ศรีของชีวิตทุกชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน

ไม่งั้นแล้วถ้าเราเล่นบทเพียงคนถือแบบฟอร์ม เข้ามาติ๊กๆๆ เช็กๆๆ แล้วจบ นั่นออกจะเป็นความเข้าใจผิดแล้ว ยังทำให้ความคิดและความพยายามทั้งหมดในเรื่องนี้ล้มเหลวลงมาอย่างสิ้นเชิงก็ยังได้

บทบาทจำลอง เพื่อทดสอบตนเองก่อนลงสนามจริง

ทั้งวจน- และอวจนภาษา ใช้หมดทุกอย่าง

แสดงโดยดารารับเชิญระดับตุ๊กตาทอง

การมีนิติกรอย่างน้องหนุ่มที่ไม่ได้เป็นนักกฏหมายแบ่งแข็งๆ ช่วยมาก เพราะไม่เพียงแต่ไขข้อสงสัยมากมาย (ที่หมอจะตอบไม่ได้ ไปไม่เป็น) แต่ยังทำหน้าที่เป็นประชาชนเต็มขั้นสะท้อนให้เราได้มากมาย เนื่องเพราะคำหลายคำที่เราใช้ๆกันระหว่างหมอพยาบาลจนคุ้นชินนั้น บางทีเราก็ลืมไปว่าชาวบ้านทั่วๆไปอาจจะไม่เข้าใจ

ที่จริงผมเชื่อโดยส่วนตัวว่าการใช้ advance care planning นั้น นอกเหนือจากเป็นส่วนสำคัญก่อนทำสัญเจตนาไม่ยื้อชีวิตนี้แล้ว เรายังควรนำเอาหลักการนี้มาใช้กับคนไข้ทุกคนที่มาโรงพยาบาล ไม่มีใครที่มาหาเราแล้วไม่อยากจะรู้ ไม่อยากจะเห็นว่าเขาเป็นอะไร อย่างไร จะทำยังไงต่อ มีทางช่วยอะไรบ้าง ความไม่รู้นำไปสู่ความหงุดหงิด โกรธ และลดความไว้วางใจ จนถึงระดับทะเลาะกัน มีเรื่องกัน และฟ้องร้องกันในที่สุด

เป็นคำถามที่น่าสนใจว่าในระบบสุขภาพตอนนี้ ถ้าถามว่ามีการทำ advance care planning กันสักกี่มากน้อย ที่คนไข้และญาติ มี active role ตั้งแต่การตัดสินใจ (decision making) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และที่สำคัญที่สุดคือ "คนไข้และญาตินั้น ถูกรับฟังมากน้อยแค่ไหน"

หมายเลขบันทึก: 441064เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

พูดถึงเรื่องความตายแล้วเศร้านะคะ ทั้งที่งานที่ทำอยู่ก็เจอแต่เด็กที่เสียชีวิต

ล่าสุดก็เป็นมะเร็งเม็ดเลือขาว...อายุแค่ สี่ปี ป่วยยังไม่ถึงปีเลย...

เคยผ่านการเข้า cause...ให้สมมุติว่า...ถ้าพรุ่งนี้คุณจะไม่ได้ไปส่งลูกไปโรงเรียนแล้ว...จะทำอย่างไร...

มีการซ้อมการเขียนพินัยกรรม...

ผู้ป่วยเด็กยังเล็กนักไม่มีโอกาสเลือกว่าจะตายอย่างสงบ...มีพ่อ แม่หลายคน เมื่อลูกหมดหวัง...หมอได้คุย...แต่ก็ยังเลือกที่จะใส่Tube...CPR...

ผลสุดท้าย...รู้สึกผิดที่เห็นลูกรักจากไปอย่างทรมาน...มันเป็นภาพติดตา...เด็กบางคนจากไปโดยการร้องขอกินน้ำ...แต่ก็ไม่ได้กิน...เพราะ...obserb...อาการ...

ถ้าเรามีความเศร้า แสดงว่าเราให้ความสำคัญเรื่องความสัมพันธ์ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

บางทีการเลือกทางเดินสุดท้ายให้กับชีวิตก็ลำบากนะคะ...ส่วนมากญาติจะเป็นคนตัดสินใจเสียเพราะพอถึงระยะนั้นจริงๆ ผู้ป่วยเองมักไม่ค่อยจะมีสติพอที่จะตัดสินใจได้ ยกเว้นว่าเค้าจะเคยได้คุยกันเอาไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งญาติเองนั้นต่างก็ตัดสินใจลำบาก หลายครั้งหลายคราวที่ในหมู่ญาติเองยังมีความเห็นไม่ตรงกัน เรื่อง decision making บางทีต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะได้บทสรุป

เรื่องความสัมพันธ์และการตัดสินใจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีรายละเอียดมากมาย ขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย ความเชื่อ และอีกหลายๆ อย่างนะคะ...มีผู้ป่วยรายหนึ่งเป็น gram negative septicemia + DKA ญาติและผู้ป่วยมา รพ. หลังรักษาได้เพียงวันเดียว เค้าขอกลับไปรักษาโดยการใช้ยาสมุนไพรตามความเชื่อ เราที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์เอง ทำได้เพียงให้คำแนะนำ ส่วนการตัดสินใจแล้ว สุดท้าย ก็เป็นเรื่องสิทธิของผู้ป่วย...

ขอบพระคุณเรื่องราวดีๆ ที่แบ่งปันนะคะ

หนูมีพี่ที่รักมากคนหนึ่งกำลังอยู่ในระยะสุดท้าย...หมอบอกคงอีกไม่นาน

พี่แกเป็นคนเข้มแข็งและแกบอกว่าไม่ว่าจะเกิดอะไร..จะสู้ถึงที่สุดและทำทุกอย่างที่หมอให้ทำ

หนูไปหาแกที่ร.พ ครั้งสุดท้าย..แกยังยิ้มทั้งที่มีสายระโยงระยาง........

หนูนับถือใจแกจริงๆตอนที่กอดกัน..แกบอกพี่รักหนูนะแล้วพี่ก็ร้องไห้ใหญ่.........

ญาติเลยเงียบกันหมด....กลายเป็นหนูทำให้เขาร้องไห้.....หนูกลับมาจิตตกมาก

แต่ก็ปลอบใจตัวเองว่าพี่เขาคงอยากระบายออกมาบ้างเพราะแม้ว่าเราเป็นพยาบาล

แต่เราก็คงไม่ต้องเข้มแข็งตลอดเวลาก้ได้..บางครั้งเราก็อยากร้องไห้ไม่ต้องมีเหตุผล

ตอนเดินกลับบ้านหนูเลยเดินร้องไห้ซะงั้น..ใครจะเห็นก็ช่าง..กทม.ไม่มีใครรู้จักเราหรอก..

หนูอยากขอเปิดเพลงที่เตรียมไปให้เขาฟังแต่ไม่กล้า...พอกลับมาก็ไม่สบายใจที่ไม่ทำ...

วันนี้เลยลองโทรไปบอกลูกสาวแกว่าแม่เคยบอกน้าว่าอยากฟังเพลงสุนทราภรณ์..

แกเคยให้หนูหาไปให้ฟังตอนที่ยังป่วยไม่หนัก...แต่ที่หนูหาไปให้แกบอกมันเก่าเกิน

หนูเลยบอกไม่เป็นไรจะลองหาให้ใหม่นะ..พอดีแกทรุดหนักลงเลยยังไม่ได้หาให้...

.....หนูเลยไม่รู้ว่ามันเป็นความปราถนาของใคร....

  • มา ฉวยโอกาส เกาะกระแส โยงไปถึง บันทึก ฉวยโอกาส ชุดนี้ของผมด้วย ๕๕๕

ตายจริงลืมลิ้งไป web พี่เต็ม แต่เจ้าตัวมาช่วยเติมแล้ว ที่จริงตั้งใจจะ link แต่เขียนๆไปลืมเฉยเลย ฮ่า ฮ่า ขอบคุณครับ

@ คุณ blue star
เห็นด้วยครับ เรื่องนี้มาถามกันตอนฉุกละหุกเนี่ย มัน frustrated กันทั่วกัน อย่าว่าแต่ตัวคนไข้ที่เรากำลังพูดถึง "ความตายของเขาเอง" เลย ลองโยนคำถามนี้ให้คนธรรมดาๆที่ไม่ทันตั้งตัว บางคนก็รับไม่ได้เลยก็ยังมี หลายๆคนก็ค่อนข้าง uncomfortable นี่ยิ่งเป็นการเน้นความสำคัญของการทำ advance care planning เตรียมกันแต่เนิ่นๆ คุยกันตอนที่เรามีเวลา มีสติสมบูรณ์ ใคร่ครวญให้รอบด้าน ถ่องแท้ ไม่งั้นมันจะเป็นแค่การแก้ปัญหาให้ผ่านตอนวินาทีนั้นไปแกนๆเท่านั้นเอง

@ Oraphan
บางทีในชีวิตเรามีสัญญานมากมายผ่านมา แต่เราต้องถอดรหัสก่อน แล้วเราถึงจะได้ทำอะไรบางอย่างที่มีผลต่อชีวิตที่เหลือต่อไปอย่างมีนัยยะสำคัญ เราไม่เคยทราบว่าโอกาสเช่นว่านี้ผ่านเลยไปกี่สิบ ร้อย พันครั้ง จนกระทั่งเราเริ่ม "ทำ" ไปเลย

ถ้ามีเวลาเหลือสำหรับ....คราวหน้า....หนูจะกลับไปทำตามความตั้งใจค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์หมอสกล พาดพิงอาจารย์ไว้ในบันทึกล่าสุด กับ วาทะกรรม"จงดูแลคนไกล้ชิดอย่างอาคันตุกะ"

ล่าสุดสุดในเวทีถอดบทเรียน ฟาที่บ้านอาจารย์ หมอเต็ม เรื่อง สามีเคี้ยวอาหารเสียง ภรรยาเพียรพยามทุกข์มาค่อนชีวิตที่จะเปลี่ยนสามีในเรื่องเคี้ยวอาหาร ...สุดมาแก้ปัยได้นึกออกที่ตัวเอง จึงพ้นทุกข์

ขอบคุณ การจุดประกายให้ได้คิด อาหารสมอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท