29 จากคนไทยไร้พุง สู่....คลินิก DPAC


คลินิก DPAC : Diet Physical Activity Clinic

         ตามที่กรมอนามัย โดยกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และสำนักโภชนาการ  ได้เห็นความสำคัญ  ของการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีกิจกรรมทางกาย และการบริโภคอาหาร ตามแนวทางมาตรฐานที่กำหนดให้ในแต่ละกลุ่มวัย เพื่อสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ      ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดตั้ง  Diet  Physical  Activity  Clinic      ( DPAC ) ขึ้น    เพื่อเน้นการให้บริการเป็นรายบุคคล ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ มากกว่าการจัดให้บริการเป็นกลุ่ม

        โดยเริ่มให้มีการดำเนินการจัดตั้งคลินิก DPAC  ทั้งในส่วนกลางและศูนย์อนามัยทั้ง 12 แห่ง   ตั้งแต่ปี 2549    คาดหวังว่าจะเป็นคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร        ทั้งในกลุ่มเลี่ยงและกลุ่มปกติทั่วไป     ผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าแต่ละศูนย์เขต ได้ดำเนินการแตกต่างกันไปตามบริบท   แต่สิ่งที่เหมือนๆกันคือ การเน้นให้มีกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภค กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ จึงได้นำรูปแบบแต่ละแห่งมาจัดทำรูปแบบบริการมาตรฐานเดียวกัน

 

คลินิก DPAC ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

 

 

 

 

        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่เป็นอีกองค์กรหนึ่ง   ที่ได้นำร่องการเปิดให้บริการคลินิก DPAC     โดยมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

1.  มีการกำหนดนโยบายในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของศูนย์อนามัยที่ 10

2.  มีโครงสร้างและผู้รับผิดชอบชัดเจน

3.  มีการจัดทำแผนในการปฏิบัติงาน

4.   มีรูปแบบกิจกรรมบริการชัดเจนโดยยึดหลัก  5A , 5R เป็นแนวทางวการให้คำปรึกษา แนะนำแก่ผู้รับบริการเป็นรายบุคคล เกี่ยวกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การลดน้ำหนักและรอบเอว     โดยผู้เข้ารับบริการ จะถูกส่งมาจากคลินิกตรวจสุขภาพประจำปี

 

  FLOW บริการ

 

 

        ขั้นตอนการให้บริการ เมื่อมีผู้รับบริการ/ผู้ที่สนใจมาเข้าคลินิก

ขั้นตอนที่ 1    เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะแนะนำเกี่ยวกับ 

            - ความจำเป็นที่ต้องลดน้ำหนัก 

            - ความสำคัญของการออกกำลังกายและ

              การกิน 

            - ปัญหาที่เกิดตามมากับโรคอ้วนและลงพุง

ขั้นตอนที่ 2      ประเมินภาวะสุขภาพ โดยการพูดคุยซักถามโดยใช้แบบประเมินสุขภาพและพฤติกรรมการออกแรง / ออกกำลังกายและพฤติกรรมการกิน รวมถึงดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพเช่น BMI , รอบเอว

 

 

 

ขั้นตอนที่ 3       ประเมินความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 

       3.1  ถ้าไม่พร้อม    ก็ให้ความรู้เรื่องสุขภาพ และให้ติดตามเชิญชวน

      3.2 ถ้าพร้อม   ก็จะทำทะเบียนประวัติ  พูดคุยซักถาม  การตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับ 

  • การที่จะลดน้ำหนัก   โดยในระยะเริ่มแรกควรตั้งเป้าหมายทีละน้อยให้เกิดความเป็นไปได้  จะได้มีกำลังใจในการลด   จนถึงในระยะยาว  ควรลดน้ำหนักลง 5 – 10 %  ของน้ำหนักเริ่มต้น  หรือลดลง ½ - 1 กิโลกรัม / สัปดาห์  เพื่อให้เกิดยั่งยืน

  • ส่วนเป้าหมายในการออกกำลังกาย    ก็เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่  โดยเน้นให้ผู้รับบริการเลือกออกกำลังการอย่างเหมาะสมชอบหรือถนัด  ค่อยๆเพิ่มความหนักจนสุดท้ายสามารถออกกำลังกายได้มากว่า  หรือ เท่ากับ 60 นาที / วัน  ทุกวัน

  • เป้าหมายในการควบคุมการกินอาหาร   เจ้าหน้าที่จะให้ผู้รับบริการทบทวนการกินอาหารในรอบ  24 ชั่วโมงที่ผ่านมา   เพื่อคำนวณปริมาณแคลอลี่และชนิดของอาหารที่กิน   หลังจากนั้นก็จะนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาพร้อมกันระหว่างผู้รับบริการ และ เจ้าหน้าที่   ว่าควรลดอาหารชนิดใด  และควรกินในปริมาณกี่แคลอลี่ / วัน     โดยทั่วไปต้องลดพลังงานโดยรวมลง 500 – 1000 Cal / วัน จึงจะได้ผล

ขั้นตอนที่ 4       การติดตามผล  ก็แล้วแต่บริบทและความสะดวกของผู้รับบริการ  แต่อย่างน้อยต้องเจอกันทุก 1 – 2 เดือน  ในบางรายที่ไม่สะดวกก็ติดตามทางโทรศัพท์  เพื่อประเมินเกี่ยวกับ  ดัชนีมวลกายและ รอบเอว

  

        คลินิก DPAC โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน

 

        หลังจากได้ทดลองดำเนินงานบริการในคลินิก DPAC มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี   ได้สรุปผลการให้บริการเป็นที่พึงพอใจ    จึงนำไปขยายผลลงสู่โรงพยาบาลในเครือข่าย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 

 

          นวัตกรรมที่ได้จากการดำเนินงานคลินิก DPAC  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

ออกแบบเพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแลตัวเองของผู้รับบริการ

 

 

       ในภาพ นายแพทย์ ภิศักดิ์ เลิศเรืองปัญญา  ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่  กำลังนำเสนอรูปแบบบริการให้กับ รพ.ภาคีเครือข่าย

 

 

ในภาพกำลังนำเสนอ นวัตกรรม

 

 

                                                     ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 440450เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ตามมาอ่านก่อนนะครับ อยู่กับแม่หมอนนทลี ที่ลำปาง

วัยทองแล้ว. น้ำหนักเพิ่มขึ้น

สงสัยคงต้องเข้าdpac แล้ว

คุณมนัญญา สบายดีมั้ยครับ

Ico48

เชียงใหม่ ลำปางไม่ไกล

มาแอ่วเชียงใหม่ดีก่อ

Ico48

ลูกค้าคลินิกดดยมากเป็นวัยทอง

ยืนดีให้บริการเจ้า

สวัสดีค่ะพี่

เป็นกำลังใจให้โครงการแนวคิดดีๆนะคะ

 

  • ทำอย่างเป็นระบบ
  • ผู้สนใจเพียบเลย
  • ขอปรบมือให้ค่ะ

มีรูปแบบใบสมัครเข้าโครงการมั๊ยคะ.....ขอดูหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท