lotus
พระใบฏีกาสุพจน์ เกษนคร

แบบทดสอบเกี่ยวกับการศึกษา


แบบทดสอบเกี่ยวกับการศึกษา

แบบทดสอบวัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษา

--------------------------------------------------------------

๑.  “การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนในฐานะที่เป็นนิติบุคคลด้วย     หลักความคุ้มค่า  หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุณธรรม     หลักความรับผิดชอบ  หลักความโปร่งใส

และหลักนิตธรรม” จากคำกล่าวข้างต้นเป็นการบริหารจัดการศึกษาโดยยึดหลักคุณธรรมตามข้อใด

                                ก. หลักสัปปุริสธรรม         ข. หลักธรรมอิทธิบาท

                                ค. หลักธรรมาภิบาล           ง. หลักทศพิธราชธรรม

๒. ข้อกำหนดเรื่อง “กริยาที่ควรประพฤติ ให้ถือปฏิบัติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรี  และส่งเสริมชื่อเสียงเกียรติคุณ     เกียรติฐานะ อันจะเป็นผลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ”      

คำกล่าวนี้ เป็นความหมายของข้อใด

                                ก. ค่านิยมพื้นฐาน                                                            ข. จรรยาบรรณครู

                                ค. แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ                                            ง. ลักษณะของอาชีพครู

๓. “การประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม หรือคุณความดี(ศีลธรรม) ที่นำไปประพฤติปฏิบัติ ก่อให้เกิดความสุขในชีวิตและสังคม แสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ความมีระเบียบวินัย การมีสัมมาคารวะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาไพเราะ สุภาพเรียบร้อย ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน” จากคำกล่าวนี้ เป็นลักษณะอันพึงประสงค์ในเรื่องใด

                                                ก. ศีลธรรม                           ข. คุณธรรม

                                                ค. จรรยาบรรณ                    ง. จริยธรรม

๔. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

                ก. การครองตน คือ การมีคุณธรรมและจริยธรรมต่อตนเอง

                ข. การครองคน คือ การมีคุณธรรมและจริยธรรม     ต่อผู้อื่นและสังคม

                ค. การครองงาน คือ การมีคุณธรรมและจริยธรรม      ต่อหน้าที่การงาน

                ง. ทำใจให้บริสุทธิ์ ให้มีความรู้ ความคิดทั้งทางวิชาการ     และทางธรรม คือหลักการครองตน โดยใช้ศีลธรรมเป็นตัวกำกับการกระทำ

๕. “ธรรมประจำใจอันประเสริฐ ที่จะต้องมีไว้กำกับความประพฤติ จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินชีวิตอย่างหมดจด และประพฤติต่อเพื่อนร่วมงานโดยชอบ ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ข้าราชการครูท่านใดประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ ท่านยึดหลักปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใด

                                ก. พรหมวิหาร ๔                                ข. อิทธิบาท ๔

                                ค. สังคหวัตถุ ๔                                   ง. ฆราวาสธรรม ๔

๖. ทำไมต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พ.ศ. ๒๕๔๔

                ก. ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆ            ข. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

                ค. คุณภาพการศึกษาต่ำ                                                      ง. เพื่อการแบ่งปันในเวทีโลก

 

๗. จุดมุ่งหมายสูงสุดของการจัดการศึกษา คือข้อใด

                ก. มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ มีความสามารถ

                ข. มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความคิดเป็น เน้นคุณธรรม

                ค. มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ มีความคิด มีความสามารถ  และมีคุณธรรม

                ง. มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ

๘. ข้อใดมิใช่หลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                ก. เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

                ข. เป็นหลักสูตรกับโครงสร้าง สาระ เวลาที่แน่นอน

                ค. เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน

                ง. เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ

๙. สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนในแนวลึกและเข้มข้น เพื่อเป็นพื้นฐานทางวิชาการ  คือข้อใด

                ก. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

                ข. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา

                ค. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสุขศึกษา

                ง. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และสังคมศึกษา

๑๐. ข้อใดเป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐานการเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิด

     และการทำงานอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม

                ก. ภาษาไทย การงานอาชีพ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                ข. ประวัติศาสตร์ ศาสนา และสุขศึกษา

                ค. วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และศิลปะ

                ง. การงานอาชีพ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ

๑๑. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเวลาเรียน

                ก. ช่วงชั้นที่ ๑ และ ๒ วันละประมาณ ๕ ชั่วโมง  โดยจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ชั่วโมงสุดท้ายของวัน

                ข. ช่วงชั้นที่ ๒ และ ๓ วันละประมาณ ๕ ชั่วโมง โดยจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ชั่วโมงสุดท้ายของวัน

                ค. ช่วงชั้นที่ ๓ และ ๔วันละประมาณ ๖ ชั่วโมง  โดยจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ชั่วโมงสุดท้ายของวัน

                ง. ข้อ ก และข้อ ค กล่าวได้ถูกต้อง

๑๒. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ ข้อใด

                ก. กิจกรรมแนะแนว และลูกเสือเนตรนารี

                ข. กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์

                ค. กิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมนักเรียน

                ง. กิจกรรมลูกเสือ  เนตรนารียุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์

 

๑๓. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการจัดหลักสูตร

                ก. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาในระบบสำหรับ  นักเรียน ตั้งแต่ ป. ๑ - ม. ๖

                ข. การจัดการศึกษาปฐมวัย สามารถปรับใช้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการสร้างเสริม

                  พัฒนาการและเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเข้าเรียน ป.๑

                ค. สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นหน่วยการเรียนรู้ในวิชาใหม่ๆ และรายวิชามี

                  ความเข้มขึ้นอย่างหลากหลายทุกช่วงชั้น

                ง. สถานศึกษาต้องจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง ๘ กลุ่มสาระในทุกชั้น      ให้เหมาะสมกับธรรมชาติการ

                  เรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียน

๑๔. ช่วงชั้นที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตนเอง เป็นการจัดการศึกษา

        ช่วงชั้นใด

                                                ก. ช่วงชั้นที่ ๑                                     ข. ช่วงชั้นที่ ๒

                                                ค. ช่วงชั้นที่ ๓                                     ง. ช่วงชั้นที่ ๔

๑๕. ข้อใดคือความหมายของคำว่า “การศึกษาภาคบังคับ” ตาม พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕

                ก. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                ข. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่สิบสองของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษา

                  ขั้นพื้นฐาน

                ค. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

                ง. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่สิบสองของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

๑๖. “การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม  จะช่วยให้ครูมีข้อมูลที่สำคัญในการออกแบบการจัดการเรียนรู้         ที่เหมาะสม สนองตอบความต้องการ ความถนัด  ความสนใจ และวิธีการหรือลีลา การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน” คำกล่าวข้างต้นเป็นเทคนิควิธีการตามข้อใด

                                ก. การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน                    ข. การวิเคราะห์ผู้เรียน

                                ค. การเขียนหลักการในการพัฒนาผู้เรียน      ง. การศึกษาพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา

 

๑๗. ข้อใดมิใช่จุดหมายของค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง

                ก. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และเกิดความรู้สึกชื่นชมศรัทธาในพระอัจฉริยภาพ

                  ของในหลวงน้อมนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

                ข. เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการหา และการใช้

                  ความรู้ในการทำงาน

                ค. เพื่อให้นักเรียนได้แนวคิด และแนวทางในการนำความรู้   ความเข้าใจประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเอง

                ง. เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ และเพิ่มพูนความรู้ตามความถนัดของตนเองและหมู่คณะ

 

๑๘. ข้อใดมิใช่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้  ในการออกแบบการเรียนรู้

                ก. เป็นโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยให้ครูจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ข. การวิเคราะห์จุดประสงค์เพื่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน

                ค. การกำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญจากหน่วยการเรียนรู้

                ง. ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเลือกใช้กระบวนการกลุ่ม

 

๑๙. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานใดที่ถูกยุบเลิกไปแล้วตามกฎกระทรวง

                                ก. กลุ่มอำนวยการ

                                ข. กลุ่มนโยบายและแผน

                                ค. กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา

                                ง. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

 

๒๐. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา  ศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมการเขตพื้นที่

     การศึกษา มีกี่คน

                                                ก. ๕ คน

                                                ข. ๖ คน

                                                ค. ๗ คน

                                                ง. ๘ คน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลย

๑.  ง

๒.  ข

๓.  ง

๔.  ง

๕.  ก

๖.   ก

๗.  ง

๘.  ข

๙.   ก

๑๐. ข

๑๑. ข

๑๒. ค

๑๓. ง

๑๔. ค

๑๕. ค

๑๖. ข

๑๗. ง

๑๘. ก

๑๙. ค

๒๐. ข

 

หมายเลขบันทึก: 439632เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท