หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

พลาสติก (๗) : อย่าเผาพลาสติกเลยนะ


รู้จักเงามืดที่ซ่อนอยู่ของพลาสติกให้ลึกขึ้นกันเถิด จะได้ตัดสินใจว่าควรคิดใหม่ ทำใหม่เรื่องอะไรใกล้ตัวแบบว่าลงมือด้วยตัวเองได้เลยไม่ต้องรอให้ใครทำให้อีกแล้ว

เมื่อมีการใช้พลาสติกเป็นจำนวนมากในชีวิตประจำวัน การผลิตพลาสติกก็ยิ่งเพิ่มขึ้นทุกวันๆ  ด้วยความที่สารเคมีตัวอื่นเข้ามาเอี่ยวในกระบวนการผลิตพลาสติกซึ่งใช้ทั้ง ความร้อน ความดัน การทำให้แข็ง คนในโรงงานผลิตพลาสติกจึงมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอยู่มาก

หากระบบผลิตจะด้วยกระบวนการขั้นตอนไหนก็แล้วแต่ไม่ปลอดภัยก็มีโอกาสที่คนในกระบวนการผลิตจะสัมผัสกับสารเคมีและรับเข้าไปในร่างกาย

วิธีเข้าสู่ร่างกายของสารเคมีทั่วๆไปมีอยู่ ๓ ทาง คือ ผิวหนัง ปาก และ จมูก  สารเคมีจากพลาสติกก็มีทางเข้าร่างกายได้ไม่แตกต่างกัน

คุณสมบัติของพลาสติก สามารถใช้เป็นข้อสังเกตหนึ่งระวังตัวและป้องกันไม่ให้สารเคมีจากมันเข้าตัวได้ จึงควรศึกษาประเภทของมันไว้ให้คุ้น

คนทำงานในระหว่างการผลิตพลาสติก พึงระวังไอระเหย ฝุ่นที่เกิดในระหว่างการเติม ผสม จัดเก็บ ทำความสะอาด และการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มากไว้

ระบบการผลิตพลาสติกใช้ระบบปิดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีนี่แหละ

ระดับความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากระบบเปิดเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต มีตั้งแต่ สารเคมีรั่วไหล ระเบิด

อุณหภูมิที่ทำให้พลาสติก ให้ผลร้ายกับคนได้ มีหลายระดับ ตั้งแต่ ๓๐๐-๔๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ ไปจนถึงกว่า ๑,๖๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ โน่นเลย

เวลาที่พลาสติกสูญเสียสภาพที่อุณหภูมิสูงๆ อาจมีสารประกอบชนิดใหม่หลายชนิดที่มีความเป็นพิษที่แตกต่างกัน ปล่อยออกมาในรูปสารประกอบเคมีหรือก๊าซก็ได้ คนที่เป็นอันตรายจากการเผาพลาสติกจึงไม่ได้มีแต่คนในโรงงานผลิตพลาสติก

พึงสังเกตตัวเองว่าอาจจะเกิดอันตรายแล้ว เมื่ออยู่ใกล้สารพลาสติกที่ำกำลังโดนความร้อนสูงๆ โดยดูที่ อาการทางระบบหายใจ ตั้งแต่ ระคายคอ มีน้ำมูก ไอ จามไปจนถึงอาการเหนื่อยง่าย หรือ หอบ  อาการทางผิวหนัง ตั้งแต่ คัน ขึ้นผื่นน้อยๆ ไปจนถึงขึ้นผื่นรุนแรงหลัง การสัมผัสไอหรือกลิ่น

ที่ใช้คำว่า “ไอ” “กลิ่น” ก็เพราะไอของสารเคมีบางตัวไม่มีกลิ่นแต่เป็นพิษสูง  และสารเคมีบางตัวที่มีกลิ่น แต่ระดับที่ส่งกลิ่นได้ก็มิใช่ระดับที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพแต่อย่างใด

เผาพลาสติกแล้วเกิดสารเคมีอะไรได้บ้าง พอตามไปดู โอ๊ะโอ๋ มีตัวร้ายๆหลายตัวเหมือนกัน  มารู้จักอันตรายที่เกิดจากการเผาพลาสติกด้วย กันเหอะ

ระคายผิวหนังและทางเดินหายใจ :

ฟอสยีน(Phosgene ( มาจาก PVC)

ไฮโดรคลอริกแอซิด (Hydrochloric acid) (มาจาก PVC และ PE )

ฟอร์มาลดีไฮด์(Formaldehyde) (มาจาก Phenolic )

ไอโซไซยาเนต(Isocyanates)  (มาจาก โพลียูริเธน)

อัลดีไฮด์ (Aldehydes) , แอมโมเนีย(Ammonia) (มาจาก โพลียูริเธน และ Phenolic)

อันตรายต่อหัวใจและสมอง : ไซยาไนด์(Cyanides) (มาจาก โพลียูริเธน และ Phenolic)

ทำให้ขาดออกซิเจน : คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) (มาจาก PE )

ระคายทางเดินหายใจ :

ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogenoxides) (มาจากโพลียูริเธน และ Phenolic )

คาร์บอนิลฟลูออไรด์ (Carbonyl fluoride) , เปอร์ฟลูออโรไอโซบูธิลีน(Perfluoroisobutylene) , ไฮโดรฟลูออริกแอซิด(Hydrofluoric acid) (มาจากฟลูออโรโพลิเมอร์)

ก่อมะเร็ง : ไดออกซิน (Dioxin) , ฟูแรน (Furans)  (มาจาก PVC)

อันตรายต่อตับ ก่อมะเร็ง : ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride) (มาจาก PVC)

อันตรายต่อตับและระบบประสาท : สไตรีน (Styrene)(มาจาก PS )

ก่อมะเร็ง อันตรายต่อตับและประสาท : เบนซิน(Benzene) (มาจาก PS)

การเป็นพิษจนทำให้เสียชีวิตถ้าสูดหายใจอยู่นาน ๓๐ -๖๐ นาที  ทำให้เจ้า ๔ ตัวนี้สำคัญ และควรรู้ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ ได้แก่

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์   ๑,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ พีพีเอ็ม

ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด็     ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ พีพีเอ็ม

ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์   ๑๐๐-๒๔๐  พีพีเอ็ม

ก๊าซแอมโมเนีย               ๒,๕๐๐ - ๔,๕๐๐ พีพีเอ็ม

เห็นฤทธิ์พลาสติกแล้วใช่ไหมละ อย่าเผามันเลยนะ เพื่อช่วยดูแลคนในสังคมด้วยกัน

หมายเลขบันทึก: 439417เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท