ทำไมต้องเขียน โดย Benjamin Franklin


 

If you would not be forgotten as soon as you are dead and rotten, either write something worth reading or do things worth the writing.


ถ้าคุณไม่อยากถูกลืมเมื่อคุณสิ้นชีวิตและเน่าเปื่อยไปแล้ว คุณควรเขียนสิ่งที่ควรค่าต่อการอ่าน หรือทำในสิ่งที่ควรค่าต่อการเขียนถึง

Benjamin Franklin

ผู้ก่อตั้งห้องสมุดสาธารณะแห่งแรกของอเมริกา

http://www.philadelphia-reflections.com/


หมายเลขบันทึก: 439283เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ...

ขอบคุณเรื่องราวที่นำมาครับ ประทับใจมากครับ

พอดีลูกชายผม ถามผมหลายวันแล้ว ผมขอไปค้นคำตอบก่อน แต่ยังไม่พบเลยครับ ถามอาจารย์ต่อครับ เผื่อรู้ครับ เขาถามว่า

ทำไม ต้องเรียกว่า 'ห้องสมุด' ทั้งที่มันเป็น 'ห้องหนังสือ' ครับ

ขอบคุณครับ

เอ ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ เป็นงง :(

เดี๋ยวจะช่วยหาคำตอบให้หลานค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ลำดวนบอกหลานว่า ถ้าป้าตายให้เอาเรื่องที่ป้าเขียนไว้ในgotoknowรวมเล่มไว้ค่ะ
  • และสิ่งที่เขียนไว้หลายเรื่องได้ทำแล้ว
  • หลายเรื่องสะท้อนมุมมอง
  • และหลายเรื่องเชิดชูคนดี
  • แต่รวมแล้วจะเป็นประวัติจากเราค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องดีๆมาให้สะท้อนคิด

สวัสดีค่ะ อาจารย์จันที่เคารพรัก

ครูนกอ่านแล้วประทับใจมากค่ะ....จะพยายามเขียนในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังค่ะโดยอาศัยพื้นที่ G2K นะค่ะ

วันก่อนได้ฟังธรรมะของหลวงพี่พิทยา ท่านบอกว่า แม้ร่างกายนี้จะสิ้นไป แต่การที่พระได้มาบรรยายธรรมให้สานุศิษย์เพื่อเผยแพร่คำสอนต่อไป ก็เหมือนกับพระยังอยู่กับทุกคน

เอาคำตอบมาฝากคุณทิมดาบ ค่ะ อ.จัน จาก

http://pbmath.exteen.com/20090118/entry-5 เขาบอกไว้ว่า

"แต่โบราณนานมา คนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร ตำรายา กาพย์กลอน ฯลฯ ลงสมุดทั้งสิ้นสมุดที่ว่านี้เรียกว่าสมุดไทย ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ ดังนั้นจึงเรียกห้องที่ใช้เก็บสมุดว่า ห้องสมุด

มาภายหลังเรารับเทคโนโลยีการพิมพ์จากตะวันตก สิ่งที่เก็บอยู่ในห้องสมุดจึงเป็นหนังสือแทบทั้งสิ้น  แต่คำใช้เรียก "ห้องสมุด" หรือ “หอสมุด” ก็มิได้เปลี่ยนตามเป็น "ห้องหนังสือ” หรือ "หอหนังสือ” ซึ่งนับว่าดีแล้ว  ไม่เช่นนั้นเราคงต้องเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ ตามวัสดุที่เก็บ

อนึ่ง คำว่า ห้องสมุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติขึ้นใช้ให้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library

ที่มา หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี"

 

สวัสดีครับ อาจารย์ รอบบ่ายๆ ครับ

ผมตามไปขอบพระคุณอาจารย์โอ๋ -อโณ ครับ

ขอบคุณบันทึกของอาจารย์ด้วยที่มีคำว่า "ห้องสมุด"

ทำให้ผมได้คำตอบไปฝากลูกชายครับ

ขอบคุณสำหรับการรบกวนครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมารับข้อคิดดีๆ จากบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ^^

สวัสดีครับดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

ต้องขอบคุณบันทึกดีๆ ที่ทำให้มีกำลังใจที่อยากจะเขียน

อยากจะฝากข้อคิดมุมมองดีๆ ไว้ที่นี่G2Kอีกนะครับ

"ถ้าคุณไม่อยากถูกลืมเมื่อคุณสิ้นชีวิตและเน่าเปื่อยไปแล้ว คุณควรเขียนสิ่งที่ควรค่าต่อการอ่าน

หรือทำในสิ่งที่ควรค่าต่อการเขียนถึง"

ขอบคุณ "คำคม" ที่คงคมมานานสองร้อยกว่าปีที่ อาจารย์ ดร.จันทวรรณ กรุณายกมา

เมื่อครู่ผมเพิ่งลืมว่าชงกาแฟแล้ววางแก้ว(ซึ่งยังไม่ได้ดื่ม) ไว้ที่ไหน

ขนาดไม่กี่วินาทียังลืม จึงกำกับตนเองให้ต้องรีบเขียน

ก่อนที่คนเขียนจะลีมซะเอง

สวัสดีครับ

ผมแวะมาเก็บคำคมไว้ไปสอนเด็กฝึกเขียนวิเคราะห์น่ะครับ ขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อครับผม

ปล. ผมมานึกๆไป ก็เห็นแย้งกะท่านเบนจามินนะครับ เพราะผมเองขออยู่แบบเงียบๆและหายไปจากโลกนี้แบบเงียบๆดีกว่า การเป็นที่จดจำมันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ ...เท่าที่"เป็น อยู่ คือ" เช่นทุกวันนี้ก็ยากยิ่งกว่ายากแล้วล่ะครับ ขอยกธงขาวไปก่อนละ

สวัสดีค่ะคุณหนานวัฒน์ ดิฉันและสามีเป็นคนรักสงบเช่นกันค่ะและอีกหลายๆ ท่านในที่นี้ค่ะ

บางทีคำพูดของท่านเบนจามินอาจจะแฝงอะไรที่มากกว่านั้นนะค่ะ

ท่านอาจจะไม่อยากให้คนจดจำตัวท่านในชื่อและรูปลักษณ์สังขาร แต่อยากให้จดจำในความรู้ที่ท่านมีมากกว่าค่ะ

 

มีพระท่านหนึ่งค่ะ พูดกับดิฉันไว้ว่า แม้ร่างกายนี้จะสิ้นไป แต่การที่พระได้มาบรรยายธรรมให้สานุศิษย์เพื่อเผยแพร่คำสอนต่อไป ก็เหมือนกับพระยังอยู่กับทุกคน ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท