มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
Mrs. Maleephan มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช Pooma

งานวิชาการ


นักเรียนดี นักเรียนเด่น เน้นวิชาการ

        การจัดการศึกษาให้ทุกภาค ส่วนของสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ปรัชญาการศึกษามีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะมีการศึกษาที่ใดย่อมมีการนำปรัชญาการศึกษาไปใช้ที่นั่น เช่นเดียวกัน ที่ใดมีปรัชญาการศึกษาที่นั่นย่อมมีการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นแนวทาง เป็นหลักการและเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างปรัชญาการศึกษากับพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2542  ซึ่งสรุปเนื้อหาความสำคัญ และความสอดคล้องของปรัชญา กับจุดมุ่งหมายในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2542  ดังกำหนดมาตรา ต่อไปนี้

มาตรา 6  มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านต่างๆ ของการศึกษา คือ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มุ่งให้คนไทยมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ     ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจ  ในความเป็นไทย รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้ตกพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมายในมาตรา 7 เป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับคนไทย โดยคำนึงถึง ปรัชญาทางการเมือง และวัฒนธรรมไทย หรือความปรารถนาของสังคมไทยโดยแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่าง

มาตรา การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
 ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักการสำคัญทั้งสามข้ออาจอธิบายได้ดังนี้
(1)   เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ในหลักการข้อนี้หมายถึง รับจะต้องจัดและส่งเสริมให้เอกชนและทุก ๆ ส่วนของสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต
(2)   ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การกำหนดหลักการในข้อนี้ได้นำเอา มาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณา แล้วกำหนดสิทธิของประชาชนในการจัดการศึกษาและให้องค์กรต่าง ๆ ในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มากขึ้น
(3)   การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักการนี้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา โดยให้บุคคลได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 15  การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน  การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม  การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ  สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน

มาตรา  17  ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(1)  ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(2)  ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3)  ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4)  ความรู้และทักษะคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5)  ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ในมาตรา 23 นี้ กล่าวถึงเนื้อหาสาระหรือทิศทางของหลักสูตรโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรตามระดับ ประเภท ของการศึกษา และความถนัดของบุคคล

หมายเลขบันทึก: 438590เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2011 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท