การเตรียมการศึกษาเพื่อรองรับการปรับตัวเข้าสู๋การเป็นประชาคมอาเซียน: การสร้างสันติภาพ ความเข้าใจ และคุณภาพชีวิตให้กับคนอาเซียน


ผมอยากเห็นมหาวิทยาลัยของไทยมีการจจัดการเรียนการสอนที่เน้นเรื่องการยอมรับความแตกต่างของ "คน" และการประสานความแตกต่างเป็นหนึ่งเดียว

เสียงและควันจากปากกระบอก ปืนของกัมพูชาและไทยยังไม่ทันสิ้น งานหลักผมยังไม่เสร็จ กำลังเร่้ง แต่สิ่งหนึ่งที่แทรกเข้ามาและอยากบันทึกไว้ในความทรงจำ คือ ในสายตาของผมภารกิจแรกของสถาบันการศึกษาทั้งในไทยและกัมพูชา คือการสร้างสร้างสันติภาพ ความเข้าใจ และคุณภาพชีวิตให้กับคนอาเซียน

 

สันติภาพ คำสั้นๆที่เราอยากให้เกิดใจจะขาดและมาถกเถียงกันในสังคมไทย จะทำให้เกิดได้อย่างไร ใช้แนวทางไหน เหลืองหรือแดง นักวิชาการต้องไม่ถูกปิดปาก  ฯลฯ จนเราเองลืมมองในใจเราเอง ในใจเรามีสันติภาพไหม ถ้าใจเรายังไม่มีสันติภาพเราจะส่งต่อหรือมอบสิ่งนั้นให้คนอื่นได้อย่างไร ผมมองอย่างเป็นกลาง (หรือเปล่า, ใครจะตั้งคำถามกับผมก็ตั้งไปเถอะ เรื่องส่วนตัว) เพราะผมมีเพื่อนเป็นคนกัมพูชาหลายคน แต่ก็ไม่กล้าบอกว่าเข้าใจคนกัมพูชาทั้งหมด  ยืนยันได้ว่า ไม่มีใครอยากตาย ไม่มีใครไม่รักชาติ และเราทุกคนต่างเป็นคน ที่ต้องเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน ทั้งหมดเหมือนกันไม่ว่าคนไทยหรือกัมพูชา  ผมในฐานะคนในสถาบันการศึกษา ผมอยากให้เราเร่งสร้างสันติภาพบนความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมของคนทั้งสอง ฝ่าย เพื่อไม่ให้กลุ่มการเมืองใดๆ ก็ตามที่อ้างว่ารักชาติ ช่วงชิงการนำและเลือกใช้วิธ๊การแก้ปัญหาโดยอาศัยการทำสงครามเพียงอย่างเดียว แน่นอน ผมไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาด้วยกำลังอาวุธ แต่ก็ไม่ได้ต่อต้านการใช้กำลัง แต่ผมเห็นว่าควรใช้กำลังเป็นวิถีทางสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ และอยู๋ภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้ใช้กำลังได้เท่าที่เป็นการ ป้องกันตนเองและรายงานต่อสหประชาชาติทุกครั้ง  และเราต้องจุดประกายให้คนทั้งสองฝ่ายเห็นว่าสันติภาพจะนำไปสู่ความเจริญรุ่ง เริืองได้อย่างไร เราต้องก้าวผ่านกระแสคลั่งชาติ ไปสู่การเป็นคนที่รักชาติ และรักมนุษยชาติ ภารกิจนี้เราต้องสร้างโดยสถาบันการศึกษาทั้งสองฝ่าย เราต้องสร้างคนในชาติทั้งไทยและกัมพูชาให้เป็นคนที่มีความรู้ รักสันติภาพ และมีวิจารณญาณ เราต้องสร้างให้คนของเราเลิกยึดถืออัตตา ว่าเราเคยเป็นเจ้าของกัมพูชามาก่อน เพราะในแบบเรียนกัมพูชาก็สอนเหมือนกันว่า ประเทศไทยเคยเป็นของกัมพุชามาก่อนเหมือนกันเราต้องสอนให้คนของเรามุ่งเน้น ที่คุณภาพชีวิตของคนในสังคม การกระจายรายได้ ที่เท่าเทียม สวัสดิการ มากกว่ามุ่งเน้นที่การแข่งขันกันเป็นเสือทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยคนในประเทศไม่ได้อะไรเลยเพราะผลประโยชน์กระจุกอยู่ในมือของคนบางกลุ่ม เท่านั้น

 

มหาวิทยาลัยจะคิดเพียงการสร้างบัณฑิตไทยเท่านั้นไม่ เพียงพอแล้ว เราต้องสร้างบัณฑิตให้กับประชาคมอาเซียนด้วย ถึงแม้ว่าประชาคมอาเซียนจะยังไม่เกิดเร็วๆ นี้ก็ตาม

 ผมอยากเห็นมหาวิทยาลัยของไทยมีการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นในเรื่องการยอมรับความแตกต่างของคน การประสานความแตกต่างเป็นหนึ่งเดียว การเปิดโอกาสให้มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพื่อ นำแนวความคิดเรื่องการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างไปเผยแพร่ในบ้านเมืองของเค้า ต่อไป

 

(หมายเหตุ ตามแผนประชาคมอาเซียนจะถูกตั้งขึ้นในปี 2015 หรือ 2558 แต่ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าหากสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศระหว่างไทยและ กัมพูชายังเป็นเช่นนี้ เรายังต้องรอต่อไป และประชาคมอาเซียนจะยังไม่มีวันเกิด )

หมายเลขบันทึก: 437548เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2011 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท