English Research


Research

การวิจัยชั้นเรียน 

กรณีศึกษา : การเขียนประโยคตามหลักภาษาอังกฤษ

 ของนิสิตคณะสังคมศาสตร์  ชั้นปีที่ ๓ มหาวิทยาลัย         มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

ปีการศึกษา  ๒๕๔๗

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพงษ์  คงสัตย์ 

อาจารย์ประจำสาขาวิชา ภาษาต่างประเทศ  คณะมนุษยศาสตร์ 

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา

ภาคเรียนที่  ๒  ปีการศึกษา ๒๕๔๗

----------------------------------------------------------------------------

งานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง ปีการศึกษา ๒๕๔๗

การวิจัยชั้นเรียน

ชื่อกรณีศึกษา    การเขียนประโยคตามหลักภาษาอังกฤษของนิสิต

คณะสังคมศาสตร์  ชั้นปีที่  ๓   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา

ผู้วิจัย               ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพงษ์  คงสัตย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชา ภาษาต่างประเทศ

คณะมนุษยศาสตร์

ปีที่ทำวิจัย       ภาคเรียนที่  ๒  ปีการศึกษา  ๒๕๔๗

 

บทคัดย่อ

การวิจัยชั้นเรียนครั้งนี้   ผู้วิจัยในฐานะเป็นอาจารย์ประจำรายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นรายวิชาที่นิสิตคณะสังคมศาสตร์  ชั้นปีที่ ๓  จะต้องศึกษาในภาคเรียนที่  ๒ ทุกปีการศึกษา    กรณีศึกษาชื่อว่า  การเขียนประโยคตามหลักภาษาอังกฤษของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ ๓  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วิทยาเขตนครราชสีมา  ปีการศึกษา ๒๕๔๗   โดยมีวัตถุประสงค์คือ  เพื่อแก้ไขปัญหาการเขียนประโยคตามหลักภาษาอังกฤษให้ถูกต้องของนิสิต              คณะสังคมศาสตร์    ชั้นปีที่ ๓  และเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

การวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า  หลังจากผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบ  Pre Test  ซึ่งพบว่า  นิสิตมีความสามารถและความเข้าใจหลักการเขียนประโยคภาษาอังกฤษตามหลักภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ต่ำ   ( X = ๓.๙๐ )   เมื่อผู้วิจัยรู้พื้นฐานความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนประโยคภาษาอังกฤษ ของนิสิตแล้ว  จึงกำหนดวิธีการ  คือ  ผู้วิจัยนำหลักการเขียนประโยคภาษาอังกฤษมาอธิบายให้นิสิตเข้าใจในหลักการและทำกิจกรรมการเขียนและแล้วทดสอบอีกครั้งเรียกว่า  Post Test : ๑ และ Post-Test : ๒  โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อความถูกต้องและความแน่ ใจว่า นิสิตมีความเข้าใจและสามารถเขียนประโยคภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง  ผู้วิจัยจึงทดสอบ        Post-Test   ถึง   ๒ ครั้ง 

ดังนั้น  จากผลคะแนนจะพบว่า นิสิตทำคะแนนได้สูงกว่า           Pre-Test   ตามลำดับ     Post-Test : ๑ ( X = ๗.๕๓ )   Post-Test : ๒           ( X = ๙.๘๒ )   นั่นหมายความว่า  นิสิตมีความเข้าใจและสามารถเขียนประโยคภาษาอังกฤษได้ถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษ    และสามารถเขียนประโยคภาษาอังกฤษเองได้ถูกต้อง ผลที่ตามมาจากการวิจัยในครั้งอีกประการหนึ่ง คือ  นิสิตมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ  สามารถนำคำศัพท์พื้นฐานทั่วไปและศัพท์รัฐศาสตร์ใช้ในการสื่อสารมากยิ่งขึ้น

สารบัญเรื่อง

๑. ชื่อกรณีศึกษา                                                                      ๕

๒. หลักการและเหตุผล                                                           ๕

๓. วัตถุประสงค์                                                                      ๙

๔. ขอบเขตการวิจัย                                                                 ๙

๕. กรอบแนวคิด                                                                     ๙

๖. นิยามศัพท์                                                                           ๑๐

๗. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง                                                       ๑๐

๘. วิธีการดำเนินการวิจัย                                                         ๑๓

๙. ผลทดสอบ                                                                          ๑๔

๑๐. สรุปผล  อภิปรายผล  ข้อเสนอแนะ                                  ๒๐

๑๑. บรรณานุกรม                                                                    ๒๒

๑๒. ภาคผนวก                                                                                    ๒๓

๑๒.๑ แบบทดสอบ Pre-Test , Post – Test : ๑            ๒๓

๑๒.๒ แบบทดสอบ Post – Test : ๒                          ๒๕

๑๓. ประวัติย่อผู้วิจัย                                                                ๒๘

 

. ชื่อกรณีศึกษา

            กรณีศึกษา : การเขียนประโยคตามหลักภาษาอังกฤษของนิสิต  คณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ ๓  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา  ปีการศึกษา  ๒๕๔๗

๒. หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา ได้เปิดดำเนินการจัดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐  ในคณะพุทธศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๓     คณะครุศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. ๑๕๓๔และคณะสังคมศาสตร์          เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๗     ( ๑๘ ปี วิทยาเขตนครราชสีมา : ๒๕๔๘ , ๗-๘) ซึ่งแต่ละคณะมีคู่มือหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  พุทธศักราช  ๒๕๓๘  เป็นกรอบในการดำเนินการจัดการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร คือ  เพื่อให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับวิชาการพระพุทธศาสนา  สำหรับประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่าง ๆ  อันจะอำนวยประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม   เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา สำหรับพัฒนาบุคคลให้มีความสมดุลในด้านกายภาพ  สังคม  จิตใจและปัญญา ( ๑๘ ปี วิทยาเขตนครราชสีมา : ๒๕๔๘ , ๒๘ ) อย่างไรก็ตามในปีพุทธศักราช  ๒๕๔๖ – ๒๕๔๗  มหาวิทยาลัยก็ได้มีการประชุมคณาจารย์ทั้งส่วนกลางและวิทยาเขตในการจัดทำรายละเอียดประจำรายวิชาของหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความต้องการของผู้เรียน

ดังนั้น รายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์ แต่เดิมมีเฉพาะสังเขปรายวิชา คือ  “ ศึกษาแนวทางในการอ่าน  วิเคราะห์และตีความงานเขียนรัฐศาสตร์  ฝึกเขียนย่อความ เรียงความ อภิปรายเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ” ( หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  พุทธศักราช  ๒๕๓๘  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์  :  ๒๕๔๐ , ๒๗๒-๒๗๓ )

ปีพุทธศักราช  ๒๕๔๗  คณะกรรมการประจำคณะสังคมศาสตร์ได้ประชุมและปรับรายละเอียดประจำวิชาในรายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์  ดังนี้

 

 

ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

 

 ๑. ชื่อวิชา                             ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

    ชื่อภาษาอังกฤษ                             English  for Political  Science

๒. รหัสวิชา  ๔๐๑-๓๐๗   จำนวนหน่วยกิต  ๓(๓-๐-๖)

      ระดับการศึกษา           ปริญญาตรี

      สาขาวิชา                      รัฐศาสตร์

 ๓. อาจารย์ประจำวิชา        อาจารย์สุรพงษ์  คงสัตย์

๔. แนวสังเขปรายวิชา

ศึกษาแนวทางในการอ่าน  วิเคราะห์และตีความงานเขียนรัฐศาสตร์  ฝึกเขียนย่อความ เรียงความ อภิปรายเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์

๕. จุดประสงค์การเรียน

๕.๑ เพื่อศึกษาให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจข่าวและวิเคราะห์ข่าวทางด้านรัฐศาสตร์ได้ เพื่อให้สามารถอ่านตำราทางวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ ตลอดจนนิตยสารและสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ  ได้ตามสมควร

๕.๒ เพื่อให้ได้มีโอกาสฝึกใช้ถ้อยคำและสำนวนที่นิยมใช้กันมากในวิชารัฐศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทาง ให้นิสิตได้ฝึกพูด อภิปรายกลุ่มย่อยในเรื่องราววิชารัฐศาสตร์

๕.๓ เพื่อให้ได้ฝึกการเขียนสังเขปความ สรุปความ ย่อหน้า และแปลข้อความสั้น ๆ เนื้อหาทางด้านรัฐศาสตร์ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

 รายละเอียดประจำวิชาต่อ

 

๖. จุดประสงค์เชิงคุณธรรม

๖.๑ เพื่อให้ได้เพิ่มพูนประสบการณ์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ในภาคภาษาอังกฤษอันจะนำไปสู่องค์ความรู้เรื่องนี้อย่างกว้างขวาง

๖.๒ เพื่อให้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

๗. รายละเอียดของวิชา

๗.๑  Introduction  to  Political  Science  ( ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ )

๗.๒ Political  Ideas ( แนวความคิดทางการเมือง )

๗.๓ Political  Systems ( ระบบการเมือง )

๗.๔ Political Party , Interest Group , Election  ( พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง )

๗.๕ Thai  Politics ( การเมืองไทย )

๗.๖ World  Politics ( การเมืองระหว่างประเทศ )

๗.๗ Regionalism (กลุ่มภูมิภาค )

๗.๘ Diplomacy ( การทูต )

๗.๙ Disarmament ( การลดอาวุธ )

๗.๑๐ Terrorism ( การก่อการร้าย )

๗.๑๑ Thais  Current  Politics  and  World  Situation ( เหตุการณ์ทางการเมืองไทยและสถานการณ์โลก )

๗.๑๒ Reading  the  News ( การอ่านข่าว )

 

รายละเอียดประจำวิชาต่อ

 

๘. กิจกรรมการเรียนการสอน

๘.๑ ฟังบรรยายในชั้นเรียน สัปดาห์ละ  ๓  คาบ ( ๑๕๐  นาที )

๘.๒ มอบหมายให้นิสิตศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา  หนังสือที่เกี่ยวข้องหรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า  ๖  ชั่วโมง แล้วสรุปเสนอในชั้นเรียนหรือรายงานเป็นเอกสารเพิ่มเติม

๘.๓ จัดให้มีการวัดและประเมินผลตามที่กำหนด

๙. การประเมิน

๙.๑ การฟังบรรยาย และร่วมกิจกรรม                            ๑๐          คะแนน

๙.๒ งานมอบหมายและรายงาน                     ๒๐         คะแนน

๙.๓ การทดสอบระหว่างภาคเรียน                                 ๒๐         คะแนน

๙.๔ สอบปลายภาค                                            ๕๐         คะแนน

๑๐. หนังสืออ่านประกอบ  ( จำนวน ๑๙ เล่ม )

กุสุมาลย์  รชตะนันท์ . ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ๒๕๓๑.

เป็นต้น  ฯลฯ

 

( รายละเอียดประจำวิชา  หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐศาสตร์  ภาควิชารัฐศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช  ๒๕๔๗ : ๒๕๔๗ , ๓๗-๓๙)

 

 

เมื่อวันอังคารที่  ๑๙  ตุลาคม   พ.ศ.  ๒๕๔๗  เป็นวันที่ผู้วิจัยเข้าพบนิสิต       คณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่  ๓   คาบที่  ๑   รูปแบบการสอนในชั่วโมงเป็นการพบแนะนำ (  Introduce ) ทักทาย ( Greeting ) โดยทั่ว ๆ ไปทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทย        แล้วแจ้งสังเขปรายวิชา   วัตถุประสงค์การเรียน  วัตถุประสงค์เชิงคุณธรรม   กิจกรรมการเรียนการสอน    การวัดและประเมินผลการเรียน  และการเข้าห้องเรียนของนิสิตแต่ละคาบเรียนว่าต้องถือปฏิบัติอย่างไร   อย่างไรก็ตาม  รายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์  มี ๓ หน่วยกิต  คาบบรรยาย  ๓       ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งธรรมชาติวิชาแตกต่างวิชาที่ว่าด้วยภาษาไทยที่ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้าและอ่านได้อย่างหลากหลาย  แต่ถ้าเป็นวิชาที่ว่าด้วยภาษาอังกฤษ ผู้เรียนที่ไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่อง ภาษาอังกฤษ        ก็จะไม่อยากเรียนเท่าไร  ถ้าเรียนก็เรียนเพียงผ่าน ๆ  ไม่คิดจะพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเลย   

ดังนั้น การบรรยายในรายวิชานี้ ผู้วิจัยทำหน้าที่มาเป็นเวลา ๓ ปี และแต่ละปีก็พบปัญหาที่แตกต่างกันออกไปซึ่งรูปแบบการบรรยายแต่ละคาบของผู้วิจัยจะประกอบด้วยภาคทฤษฎีและแล้วจบลงด้วยภาคปฏิบัติควบคู่กันไปทุกชั่วโมง นั่นคือ วิธีการสอนที่ผู้วิจัยใช้ดำเนินการเรียนการสอนมาตลอดระยะเวลา  ๓  ปี  และก่อนสอนนั้น ผู้วิจัยจะมีแบบทดสอบก่อนสอนที่เรียกว่า  Pre – Test  เพื่อทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาอังกฤษและเพื่อต้องการรู้เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาษาอังกฤษของนิสิตเป็นอย่างไร ซึ่งในปีนี้ก็เช่นเดียวกัน   

อย่างไรก็ตาม  เนื่องด้วยผู้วิจัยได้สอนนิสิตคณะสังคมศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ มาแล้วในปีการศึกษา ๒๕๔๕ ในรายวิชา ภาษาอังกฤษ ๑ และภาษาอังกฤษ  ๒  ก็มีความรู้สึกลึก ๆ อยู่ว่านิสิตทุกรูปมีความรู้พื้นฐานเรื่องการเขียน ( Writing ) การอ่าน ( Reading ) การพูด ( Speaking ) และการฟัง ( Listening ) ภาษาอังกฤษ  แต่ผู้วิจัยไม่ได้สอนในชั้นปีที่  ๒ ทั้งปีการศึกษา จึงไม่รู้การพัฒนาทักษะในเรื่องภาษาอังกฤษของนิสิต  ดังนั้น  ในการบรรยายรายวิชา  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์  ผู้วิจัยจึงกำหนด Pre – Test ทุกปีการศึกษาก่อนที่จะดำเนินการเรียนการสอนตามรายละเอียดประจำวิชา   

 

. วัตถุประสงค์

๓.๑. เพื่อแก้ไขปัญหาการเขียนประโยคภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษของนิสิตคณะสังคมศาสตร์  ในรายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

๓.๒. เพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

 

. ขอบเขตการวิจัย

๔.๑ ประชากร

- ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  นิสิตคณะสังคมศาสตร์   ชั้นปีที่  ๓  จำนวน  ๕๒  รูป  ปีการศึกษา  ๒๕๔๗

๔.๒ ตัวแปรตาม

- ตัวแปรตาม ได้แก่  การเขียนประโยคภาษาอังกฤษตามหลักภาษาอังกฤษ

 

. นิยามศัพท์

๖.๑  นิสิต  หมายถึง  พระภิกษุสามาเณรที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา

๖.๒ นิสิตคณะสังคมศาสตร์  หมายถึง  พระภิกษุสามเณรที่ศึกษาอยู่ในคณะสังคมศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา

๖.๓  การเขียนประโยค  หมายถึง  การนำคำศัพท์ทางภาษามาเขียนเป็นข้อความและมีความสมบูรณ์ด้านความหมาย  สามารถสื่อเข้าใจกันได้ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร 

 

. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

 

จากการวิจัยชั้นเรียนในกรณีศึกษา  :  การเขียนประโยคตามหลักภาษาอังกฤษของนิสิตคณะสังคมศาสตร์  ชั้นปีที่ ๓  ในรายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา  ปีการศึกษา   ๒๕๔๗  ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย    วิทยาเขตนครราชสีมา  ( ๒๕๔๘ : ๗- ๘  )  กล่าวถึงการจัดการศึกษาของวิทยาเขตนครราชสีมาไว้ว่า  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตนครราชสีมา ได้เปิดดำเนินการจัดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐  ในคณะพุทธศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์    เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๓  คณะครุศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. ๑๕๓๔และคณะสังคมศาสตร์    เมื่อปี    พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแต่ละคณะมีคู่มือหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  พุทธศักราช  ๒๕๓๘  เป็นกรอบในการดำเนินการจัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร คือ  เพื่อให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับวิชาการพระพุทธศาสนา  สำหรับประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่าง ๆ  อันจะอำนวยประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม     เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา สำหรับพัฒนาบุคคลให้มีความสมดุลในด้านกายภาพ  สังคม  จิตใจและปัญญา 

(๒) หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  พุทธศักราช  ๒๕๓๘  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์  ( ๒๕๔๐: ๒๗๒ – ๒๗๓ ) กล่าวถึงแนวสังเขปรายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์  ไว้ว่า  “ ศึกษาแนวทางในการอ่าน  วิเคราะห์และตีความงานเขียนรัฐศาสตร์  ฝึกเขียนย่อความ เรียงความ อภิปรายเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ”

(๓) ภาควิชารัฐศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ( ๒๕๔๗ : ๓๗ – ๓๙ ) กล่าวถึงรายละเอียดประจำวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์ ไว้ว่า

 

ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

 

๑. ชื่อวิชา                              ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

    ชื่อภาษาอังกฤษ                             English  for Political  Science

๒. รหัสวิชา  ๔๐๑-๓๐๗   จำนวนหน่วยกิต  ๓(๓-๐-๖)

      ระดับการศึกษา           ปริญญาตรี

      สาขาวิชา                      รัฐศาสตร์

 ๓. อาจารย์ประจำวิชา        อาจารย์สุรพงษ์  คงสัตย์

๔. แนวสังเขปรายวิชา

ศึกษาแนวทางในการอ่าน  วิเคราะห์และตีความงานเขียนรัฐศาสตร์  ฝึกเขียนย่อความ เรียงความ อภิปรายเป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐศาสตร์

๕. จุดประสงค์การเรียน

๕.๑ เพื่อศึกษาให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจข่าวและวิเคราะห์ข่าวทางด้านรัฐศาสตร์ได้ เพื่อให้สามารถอ่านตำราทางวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ ตลอดจนนิตยสารและสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ได้ตามสมควร

๕.๒ เพื่อให้ได้มีโอกาสฝึกใช้ถ้อยคำและสำนวนที่นิยมใช้กันมากในวิชารัฐศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทาง ให้นิสิตได้ฝึกพูด อภิปรายกลุ่มย่อยในเรื่องราววิชารัฐศาสตร์

๕.๓ เพื่อให้ได้ฝึกการเขียนสังเขปความ สรุปความ ย่อหน้า และแปลข้อความสั้น ๆ เนื้อหาทางด้านรัฐศาสตร์ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

 รายละเอียดประจำวิชาต่อ

 

๖. จุดประสงค์เชิงคุณธรรม

๖.๑ เพื่อให้ได้เพิ่มพูนประสบการณ์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ในภาคภาษาอังกฤษอันจะนำไปสู่องค์ความรู้เรื่องนี้อย่างกว้างขวาง

๖.๒ เพื่อให้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในวงกว้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

๗. รายละเอียดของวิชา

๗.๑  Introduction  to  Political  Science  ( ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ )

๗.๒ Political  Ideas ( แนวความคิดทางการเมือง )

๗.๓ Political  Systems ( ระบบการเมือง )

๗.๔ Political Party , Interest Group , Election  ( พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง )

๗.๕ Thai  Politics ( การเมืองไทย )

๗.๖ World  Politics ( การเมืองระหว่างประเทศ )

๗.๗ Regionalism (กลุ่มภูมิภาค )

๗.๘ Diplomacy ( การทูต )

๗.๙ Disarmament ( การลดอาวุธ )

๗.๑๐ Terrorism ( การก่อการร้าย )

๗.๑๑ Thais  Current  Politics  and  World  Situation ( เหตุการณ์ทางการเมืองไทยและสถานการณ์โลก )

๗.๑๒ Reading  the  News ( การอ่านข่าว )

 รายละเอียดประจำวิชาต่อ

 

๘. กิจกรรมการเรียนการสอน

๘.๑ ฟังบรรยายในชั้นเรียน สัปดาห์ละ  ๓  คาบ ( ๑๕๐  นาที )

๘.๒ มอบหมายให้นิสิตศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา  หนังสือที่เกี่ยวข้องหรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า  ๖  ชั่วโมง แล้วสรุปเสนอในชั้นเรียนหรือรายงานเป็นเอกสารเพิ่มเติม

๘.๓ จัดให้มีการวัดและประเมินผลตามที่กำหนด

๙. การประเมิน

๙.๑ การฟังบรรยาย และร่วมกิจกรรม                            ๑๐                  คะแนน

๙.๒ งานมอบหมายและรายงาน                     ๒๐         คะแนน

๙.๓ การทดสอบระหว่างภาคเรียน                                 ๒๐                  คะแนน

๙.๔ สอบปลายภาค                                            ๕๐         คะแนน

๑๐. หนังสืออ่านประกอบ  ( จำนวน ๑๙ เล่ม )

กุสุมาลย์  รชตะนันท์ . ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ๒๕๓๑.

เป็นต้น  ฯลฯ

 

( รายละเอียดประจำวิชา  หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐศาสตร์  ภาควิชารัฐศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช  ๒๕๔๗ : ๒๕๔๗ , ๓๗-๓๙)

 

 

. วิธีการดำเนินการวิจัย

.๑ ประชากร  

ประชากรได้แก่ นิสิตคณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่  ๓ 

จำนวน  ๕๒  รูป

.๒ เครื่องมือที่ใช้

                        สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  แบบทดสอบ จำนวน  ๒  ชุด  ประกอบไปด้วย

(๑)       แบบทดสอบ  Pre – Test / Post – Test : ๑                 จำนวน  ๓  ตอน   ๑๐  คะแนน

(๒)      แบบทดสอบ  Post – Test : ๒                                    จำนวน  ๒  ตอน   ๑๐  คะแนน

.๓ วิธีการสร้างเครื่องมือ

                        วิธีการสร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างขึ้นเอง  เพื่อใช้ในการวัดความรู้พื้นฐานของนิสิตตามหลักสูตรได้กำหนดไว้

.๔ การวิเคราะห์ข้อมูล

(๑) การหาค่าเฉลี่ย    X   ใช้สูตร

                                    X         =   ผลรวมของคะแนนทั้งหมด 

                                                            จำนวนนิสิตทั้งหมด   

(๒) กำหนดระยะคะแนน

(๒.๑)  คะแนนน้อยกว่า  ๕ หมายถึง  ไม่ผ่าน

(๒.๒) คะแนนอยู่ระหว่าง  ๕-๖ หมายถึง  

พอใช้

(๒.๓) คะแนนอยู่ระหว่าง  ๗-๘                                  หมายถึง   ดี

(๒.๔) คะแนนอยู่ระหว่าง ๙-๑๐  

หมายถึง   ดีมาก

 

. ผลทดสอบ

.๑ ผลคะแนนแบบทดสอบ

Pre-Test / Post Test : ๑ / Post Test : ๒

 

รูปที่

 

รหัสประจำตัวนิสิต

ผลคะแนน

Pre-Test 

( ๑๐ คะแนน )

ผลคะแนน

Post -Test :

( ๑๐ คะแนน )

ผลคะแนน

Post-Test :

( ๑๐ คะแนน )

๔๕๐๖๔๑๐๐๒๕

๑๐

๔๕๐๖๔๑๐๐๓๓

๑๐

๔๕๐๖๔๑๐๐๔๑

๔๕๐๖๔๑๐๐๖๘

๔๕๐๖๔๑๐๐๗๖

๑๐

๔๕๐๖๔๑๐๐๙๒

๑๐

๑๐

๔๕๐๖๔๑๐๑๐๖

๑๐

๔๕๐๖๔๑๐๑๒๒

๑๐

๔๕๐๖๔๑๐๑๓๑

๑๐

๑๐

๔๕๐๖๔๑๐๑๔๙

๑๐

 

รูปที่

 

รหัสประจำตัวนิสิต

ผลคะแนน

Pre-Test 

( ๑๐ คะแนน )

ผลคะแนน

Post -Test :

( ๑๐ คะแนน )

ผลคะแนน

Post-Test :

( ๑๐ คะแนน )

๑๑

๔๕๐๖๔๑๐๑๗๓

๑๐

๑๒

๔๕๐๖๔๑๐๒๐๓

๑๐

๑๓

๔๕๐๖๔๑๐๒๑๑

๑๐

๑๔

๔๕๐๖๔๑๐๒๒๐

๑๕

๔๕๐๖๔๑๐๒๓๘

๑๖

๔๕๐๖๔๑๐๒๔๖

๑๐

๑๗

๔๕๐๖๔๑๐๒๕๔

๑๐

๑๘

๔๕๐๖๔๑๐๒๖๒

๑๐

๑๙

๔๕๐๖๔๑๐๓๒๕

๑๐

๒๐

๔๕๐๖๔๑๐๓๓๕

๑๐

๒๑

๔๕๐๖๔๑๐๓๖๐

๑๐

๒๒

๔๕๐๖๔๑๐๓๘๖

๑๐

๒๓

๔๕๐๖๔๑๐๔๐๘

๑๐

๒๔

๔๕๐๖๔๑๐๔๑๖

๑๐

๒๕

๔๕๐๖๔๑๐๔๓๒

๑๐

๒๖

๔๕๐๖๔๑๐๔๔๑

๑๐

๒๗

๔๕๐๖๔๑๐๔๕๙

หมายเลขบันทึก: 437514เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2011 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเป็นกำลังใจแก่กันและกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท