การพัฒนาที่ยั่งยืน


ใคร ๆ ก็ทำได้

                                         การพัฒนาที่ยั่งยืน

นวัตกรรม (Innovation) เราต้องยอมรับว่าเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ครู และนักเรียน เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอน พัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะการปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาขีดความสามารถในการคิดค้น สร้างหรือประดิษฐ์ สิ่งใหม่ๆ ส่งผลไปถึงการพัฒนาและการแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนอย่างแท้จริง

          การทำความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้นเป็นพื้นฐานในการสร้างซึ่งมีลักษณะเด่นเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน มีการศึกษาทดลองอาศัยหลักการทฤษฎีมาใช้อย่างเป็นระบบ มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัยแต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน เพราะ”สิ่งใหม่” ต้องได้รับการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วหลังจากกลายเป็น “เทคโนโลยี” มากกว่ารวมทั้งการให้ความสำคัญของนัวตกรรมเพราะการศึกษาในโลกยุคโลกาภิวัตน์  มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศและโทรคมนาคม มีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมทางด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การประชุมทางไกล(Teleconference)อี-เลินนิ่ง (E-learning) ซึ่งได้แบ่ง นวัตกรรมออกเป็น

5 ประเภทคือ

1.นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร          >>>    หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรกิจกรรม หลักสูตรท้องถิ่น

2.นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน  >>>    การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบมีส่วนร่วม

3.นวัตกรรมทางด้านสื่อการสอน        >>>    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประชุมทางไกล  (Teleconference)ชุดการสอน (Instruction Module)

4.นวัตกรรมด้านการประเมินผล        >>>    การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

5.นวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการ  >>>    การใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษาฐานข้อมูลนักเรียน ครู และบุคลากร

                เราต้องยอมรับนวัตกรรมในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้นมีความแตกต่างทั้งประสบการณ์จากผู้ใช้เอง ผู้รับที่ไม่มีความพร้อมที่จะยอมรับและปฏิบัตินวัตกรรมนั้นก็ไร้ความหมายรวมทั้งระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะทางสังคม แม้กระทั้งแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ช่องทางในการเผยแพร่  สรุปได้ว่า การที่เราจะใช้นวัตกรรมมาพัฒนาด้านการเรียนการสอนให้มีคุณภาพนั้นต้องเริ่มที่ครูผู้สอนในการคิดค้น ประดิษฐ์ สิ่งใหม่ ส่งผลไปสู่นักเรียนและโรงเรียนเป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในโรงเรียน ฉะนั้น ครูผู้สอนจะต้องเริ่มต้นสร้าง สื่อ/นวัตกรรม ที่เป็นความคิดของตนเอง จงมีความเชื่อมั่นในตนเองว่า “เราทำได้”

 

ที่มา : หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน

อาจารย์รัตนาภรณ์   ปานแก้ว   หัวหน้าฝ่ายวิชาการ

หมายเลขบันทึก: 437391เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2011 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท